จัดการสินทรัพย์ แยกประเภท เป็นเครื่องมือที่ช่วยใน การบริหารจัดการสินทรัพย์ภาย

จัดการสินทรัพย์ออนไลน์ สะดวกช่วยผู้บริหารทำงานง่ายขึ้น

โปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์ PEAK Asset เป็นเครื่องมือที่ช่วยใน การบริหารจัดการสินทรัพย์ภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสามารถเก็บข้อมูลของสินทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลชื่อ รูปภาพ หมวดหมู่ อายุการใช้งาน ช่วยให้สามารถติดตาม ตรวจเช็ค ตรวจสอบสินทรัพย์ได้และระบบยังสามารถคำนวณค่าเสื่อมราคาพร้อมกับลงบัญชีให้อัตโนมัติ ช่วยลดระยะเวลาการทำงานบัญชีของพนักงานบัญชีลงเป็นอย่างมาก

24,000 บริษัท
วางใจใช้งาน PEAK

30,000

บริษัท

วางใจใช้งาน PEAK

1,400 พันธมิตรสำนักงานบัญชี

1,400

พันธมิตร

PEAK Family Partner

4  ล้านธุรกรรมต่อเดือน บน PEAK

4

ล้านธุรกรรม/เดือน

ธุรกรรมบน PEAK ต่อเดือน

40,000 ล้าน บาท/เดือน

40,000

ล้าน บาท/เดือน

มูลค่ารายการค้าต่อเดือน

จุดเด่นและฟังก์ชันของ PEAK Asset
โปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์ออนไลน์ที่ใช้งานง่ายที่สุด

คำนวณค่าเสื่อมราคา

คำนวณค่าเสื่อมราคา

คำนวณค่าเสื่อมราคาให้อัตโนมัติ

คำนวณกำไรขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ให้อัตโนมัติ

การบริหารจัดการสินทรัพย์

การบริหารจัดการสินทรัพย์

มีการจัดหมวดหมู่ให้สินทรัพย์

สามารถอัปโหลดรูปภาพทำให้ติดตามได้ง่าย

รายงานข้อมูลตามความต้องการ

รายงานข้อมูลตามความต้องการ

มีรายงานมากกว่า 4 รูปแบบ สามารถเลือกได้ตามการใช้งาน

ระบุช่วงเวลาของรายงานได้ละเอียดที่สุดได้เป็นรายวัน

บันทึกบัญชีอัตโนมัติ

บันทึกบัญชีอัตโนมัติ

ลงบัญชีให้อัตโนมัติทุกขั้นตอนในการซื้อขายและใช้งานสินทรัพย์

ลดเวลาในการทำงาน การจัดการบัญชี และป้องกันข้อมูลตกหล่น

PEAK Asset เหมาะกับใคร?
ระบบบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจมากที่สุด

PEAK Asset สำหรับการบริหารจัดการสินทรัพย์ในธุรกิจ SME

ผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการเครื่องมือด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์

แยกหมวดหมู่และติดตามสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้การบริหารสินทรัพย์เป็นเรื่องง่าย

PEAK Asset สำหรับการบริหารจัดการสินทรัพย์ในฝ่ายบุคคลและบัญชี

ตัวช่วยในการจัดการสินทรัพย์สำหรับผู้ดูแลสินทรัพย์และนักบัญชี

ระบบนั้นทำการคำนวณค่าเสื่อมราคา คำนวณกำไร – ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ พร้อมทั้งยังลงบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์อัตโนมัติทุกรายการ

peakasset-peakaccount

บริหารจัดการสินทรัพย์ได้ดีกว่าเดิมเมื่อเชื่อมต่อระบบ PEAK Asset เข้ากับ PEAK Account

บันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ทุกอย่างโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินทรัพย์ การขายสินทรัพย์การคำนวณค่าเสื่อมราคา รวมไปถึงสามารถคำนวณกำไรขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ได้อีกด้วย

ราคาเริ่มต้น 1,200 บาท/เดือน โปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์ PEAK Asset

บริหารธุรกิจ บัญชี การเงิน
และจัดการเงินเดือนได้ครบวงจร

เริ่มต้นเพียง 1,200 บาท/เดือน

รู้จัก PEAK Asset โปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์ ใน 3 นาที

จัดการสินทรัพย์ได้ง่ายๆ ด้วย โปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์ - PEAK Asset

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์ PEAK Asset

โปรแกรมบริการจัดการสินทรัพย์ สามารถบันทึกขายสินทรัพย์ออกจากกิจการได้ ซึ่งสามารถเลือกสร้างเอกสารขายสินทรัพย์ได้ตามคู่มือนี้ได้เลย 

การพิมพ์รายงานสินทรัพย์ในโปรแกรมบริการจัดการสินทรัพย์ (PEAK Asset)  สามารถพิมพ์ได้ทั้ง 2 รูปแบบ

  1. แบบสินทรัพย์แบบกลุ่มเพื่อดูภาพรวมของสินทรัพย์ทั้งหมดในกิจการ วิธีการพิมพ์รายงานคลิกอ่านที่นี่ 

2. รายงานสินทรัพย์รายตัวเพื่อดูความเคลื่อนไหวรายการซื้อ ขาย ยกมาของสินทรัพย์แบบลงรายละเอียด วิธีการพิมพ์รายงานคลิกอ่านที่นี่

โปรแกรมบริการจัดการสินทรัพย์ (PEAK Asset) คำนวณค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีเส้นตรง  โดยจะคำนวณเมื่อบันทึกซื้อสินทรัพย์ หรือบันทึกสินทรัพย์ยกมา ซึ่งในกรณีที่บันทึกสินทรัพย์ยกมาจะสามารถกำหนดวันที่เริ่มให้ PEAK คิดค่าเสื่อมราคาได้

สูตรการคิดค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง

ค่าเสื่อมราคาต่อปี= (ราคาทุน-ราคาซาก)/ อายุการใช้งาน(จำนวนวัน)

ค่าเสื่อมราคาคืออะไร สำคัญกับกิจการอย่างไรคลิกอ่านเพิ่มที่นี่

วิธีการดูตารางการคำนวณค่าเสื่อมของสินทรัพย์รายตัว

โปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์ (PEAK Asset) จะคำนวณค่าเสื่อมรายเดือนให้อัตโนมัติ และจะมีการสร้างสมุดบัญชีสำหรับการบันทึกค่าเสื่อมราคาให้ หากท่านมีการสร้างกลุ่มสินทรัพย์และเลือกให้ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา การคำนวณค่าเสื่อมราคาในโปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์ (PEAK Asset)  จะแบ่งเป็น 2 ประเภท

  1. เมื่อมีการบันทึกซื้อสินทรัพย์เข้ามาระบบจะเริ่มคิดค่าเสื่อมให้ตั้งแต่วันที่ซื้อสินทรัพย์เข้ามา วิธีการบันทึกซื้อสินทรัพย์คลิกอ่านที่นี่
  2. เมื่อมีการบันทึกสินทรัพย์ยกมา ซึ่งเป็นการนำข้อมูลจากโปรแกรมบัญชีเดิมก่อนจะย้ายมาใช้ PEAK  ระบบจะสามารถให้เลือกได้ว่าจะให้โปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์ (PEAK Asset) เริ่มคิดค่าเสื่อมเมื่อวันที่เท่าไหร่ วิธีการบันทึกสินทรัพย์ยกมาคลิกอ่านที่นี่

ซึ่งฟังก์ชันนี้เพื่อช่วยลดขั้นตอนในการทำงานของกิจการ

ผลิตภัณฑ์ของ PEAK

PEAK Account
โปรแกรมบัญชีออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Payroll
โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Board
โปรแกรมวิเคราะห์ธุรกิจ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Asset
โปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Tax
โปรแกรมการจัดการภาษีออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Line @PEAKConnect
ใช้งานโปรแกรมผ่านไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

บทความน่ารู้

ใบสั่งซื้อ PO เอกสารการสั่งซื้อสินค้าของผู้ประกอบการธุรกิจ

PEAK Account

13

min

ใบสั่งซื้อ Purchase Order (PO) คืออะไร พร้อมตัวอย่าง

ใบสั่งซื้อ PO (Purchase Order): หัวใจสำคัญของการควบคุมต้นทุนและสร้างระบบให้ธุรกิจคุณ ในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ที่การแข่งขันสูง การบริหารจัดการต้นทุนและการควบคุมการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีระบบเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเอกสารสำคัญอย่าง ใบสั่งซื้อ (Purchase Order หรือ PO) ที่เป็นมากกว่าแค่กระดาษ แต่คือกลไกสำคัญในการบริหารจัดการการเงินและสร้างความโปร่งใสให้ธุรกิจของคุณ มาดูกันว่าทำไมใบ PO ถึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทุกกิจการไม่ควรมองข้าม ใบสั่งซื้อ PO สำคัญอย่างไรกับธุรกิจของคุณ? การใช้ใบสั่งซื้อ PO อย่างถูกวิธี ไม่เพียงช่วยให้คุณจัดการเรื่องการจัดซื้อได้ง่ายขึ้น แต่ยังเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานโดยรวม ใบสั่งซื้อ PO คืออะไร แตกต่างจากใบขอซื้อ PR อย่างไร? ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง มีเอกสารสำคัญสองประเภทที่มักสร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการ นั่นคือ ใบสั่งซื้อ (PO) และ ใบขอซื้อ (PR) แม้จะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่มีวัตถุประสงค์และการใช้งานที่แตกต่างกัน มาทำความเข้าใจความต่างนี้กัน ใบสั่งซื้อ (Purchase Order – PO) คือ ใบสั่งซื้อ (PO) เป็นเอกสารทางธุรกิจที่ออกโดย ฝ่ายจัดซื้อขององค์กร (ผู้ซื้อ) เพื่อ สั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขาย (Supplier) อย่างเป็นทางการ เปรียบเสมือนสัญญาซื้อขายที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเมื่อผู้ขายตอบรับ ใบสั่งซื้อ PO จะถูกจัดทำขึ้น หลังจากที่ใบขอซื้อ (PR) ได้รับการอนุมัติแล้ว โดยจะมีรายละเอียดครบถ้วน เช่น: ใบขอซื้อ (Purchase Requisition – PR) คือ ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสาร ภายในองค์กร ที่แผนกต่าง ๆ (เช่น แผนกผลิต, แผนกการตลาด) ใช้แจ้งความต้องการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการไปยัง ฝ่ายจัดซื้อ โดยระบุรายละเอียดสินค้าที่ต้องการ เหตุผลที่ต้องใช้ และงบประมาณที่เกี่ยวข้อง เอกสาร PR ต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจากหัวหน้าแผนกหรือผู้มีอำนาจก่อนที่จะส่งต่อไปยังฝ่ายจัดซื้อ เพื่อยืนยันความจำเป็นและความเหมาะสมของการจัดซื้อ ระบบ PR ช่วยควบคุมการใช้จ่าย ป้องกันการสั่งซื้อที่ไม่จำเป็น รวมถึงป้องกันการทุจริตของพนักงานและผู้ขาย สรุปความแตกต่างง่ายๆ: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีใน ใบสั่งซื้อ PO ใบสั่งซื้อ PO ที่สมบูรณ์และถูกต้อง ควรประกอบด้วยข้อมูลสำคัญเหล่านี้ เพื่อลดข้อผิดพลาดและข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีในใบขอซื้อ PR ใบขอซื้อ (PR) แม้จะเป็นเอกสารภายใน แต่ก็มีความสำคัญไม่แพ้ใบสั่งซื้อ โดยข้อมูลที่ครบถ้วนในใบ PR จะช่วยให้ฝ่ายจัดซื้อดำเนินการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว: ตัวอย่างใบสั่งซื้อ PO และ ใบขอซื้อ PR เพื่อให้เข้าใจรูปแบบและองค์ประกอบของเอกสารทั้งสองประเภทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองจินตนาการถึงโครงสร้างพื้นฐานดังนี้: ตัวอย่างโครงสร้างใบขอซื้อ PR ตัวอย่างใบขอซื้อ PO สรุปท้ายบทความ การมีระบบเอกสารการสั่งซื้อที่แข็งแกร่ง ไม่เพียงช่วยควบคุมค่าใช้จ่าย ป้องกันการทุจริต และสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อขององค์กรได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการบริหารจัดการธุรกิจในภาพรวม เจ้าของธุรกิจจึงควรเข้าใจและใช้ประโยชน์จากใบสั่งซื้อ PO อย่างเต็มที่ สำหรับธุรกิจยุคใหม่ การพึ่งพาระบบมือหรือเอกสารกระดาษอาจไม่เพียงพออีกต่อไป PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยฟังก์ชันที่รองรับการสร้างใบสั่งซื้อ (PO) ได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถจัดการคำสั่งซื้อจากผู้จัดจำหน่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ PEAK ช่วยให้คุณบันทึกและติดตามข้อมูลการสั่งซื้อ สินค้า บันทึกซื้อสินค้า และเงื่อนไขการชำระเงินได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งสามารถ เชื่อมโยงข้อมูลกับใบส่งสินค้าและใบแจ้งหนี้ได้ทันที ทำให้การจัดการบัญชีตั้งแต่การสั่งซื้อ การรับสินค้า ไปจนถึงการชำระเงินเป็นไปอย่างราบรื่น มีระบบ และแม่นยำมากยิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาด ประหยัดเวลา และช่วยให้คุณมีข้อมูลเชิงลึกสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจที่ดีขึ้นเสมอ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม คลิก

ความรู้ธุรกิจความรู้บัญชี

ทำความรู้จัก ภาษี 3 ตัว จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท ภาษีมูลค่าเพิ่ม

PEAK Account

24

min

เริ่มธุรกิจให้ถูกต้อง! จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การเริ่มต้นธุรกิจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและท้าทาบ แต่หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่หลายคนอาจมองข้าม คือ การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ จดทะเบียนการค้า ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียว หรือกำลังจะจัดตั้งนิติบุคคล การทำความเข้าใจขั้นตอนและประเภทของการจดทะเบียนจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย บทความนี้จะพาคุณรู้จักการจดทะเบียนแต่ละประเภทมากขึ้น  จดทะเบียนพาณิชย์ คืออะไร ทำไมต้องจด? การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การแจ้งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบว่าคุณกำลังดำเนินกิจการค้า ซึ่งมีประโยชน์ต่อธุรกิจในหลายประการ เช่น: ประเภทการ จดทะเบียนพาณิชย์: บุคคลธรรมดา vs. นิติบุคคล ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จดทะเบียนพาณิชย์ หรีอ จดทะเบียนการค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะของกิจการ ดังนี้ 1. จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินธุรกิจในนามส่วนตัว (กิจการเจ้าของคนเดียว) ไม่ได้มีการแยกนิติบุคคลออกจากเจ้าของกิจการ การจดทะเบียนประเภทนี้จะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ข้อดีคือขั้นตอนไม่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายน้อย ความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจะครอบคลุมไปถึงทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าของด้วย สรุปง่ายๆ: หากคุณเป็นบุคคลธรรมดาที่เปิดร้าน มีหน้าร้าน มีการซื้อมาขายไป หรือให้บริการที่มีลักษณะเป็นการค้าอย่างสม่ำเสมอ และมีรายได้ในระดับหนึ่ง คุณมีหน้าที่ต้อง จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา  ใครบ้างที่ “ได้รับการยกเว้น” ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์? 2. จดทะเบียนนิติบุคคล การเลือกรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีผลต่อทั้งความรับผิดชอบทางกฎหมาย ภาระภาษี และความน่าเชื่อถือในสายตาคู่ค้าและลูกค้า โดยหลักๆ แล้ว รูปแบบนิติบุคคลที่นิยมจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจในประเทศไทยมี 3 รูปแบบดังนี้ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) เป็นสัญญาที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อประกอบกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันกำไร สถานะทางกฎหมาย: ห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล หรือ ไม่จดทะเบียน ก็ได้ ความรับผิดชอบ: หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวน หมายความว่า หากห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินของกิจการ หุ้นส่วนแต่ละคนจะต้องนำทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ชำระหนี้ด้วย ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นได้ การบริหารจัดการ: หุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการได้ เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น ข้อดี: จัดตั้งง่าย มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีหุ้นส่วนไว้วางใจซึ่งกันและกันสูง ข้อเสีย: ความรับผิดชอบไม่จำกัด ทำให้ทรัพย์สินส่วนตัวมีความเสี่ยง 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) นิยาม: เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภทขึ้นไป สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคล แยกจากตัวบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วน ความรับผิดชอบ: มีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน หรือทรัพย์สินมาลงหุ้นได้ (ห้ามนำแรงงานมาลงหุ้นในส่วนของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด) การบริหารจัดการ: ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ข้อดี: หุ้นส่วนบางคนสามารถจำกัดความรับผิดชอบได้ ทำให้ดึงดูดผู้ร่วมลงทุนได้ง่ายขึ้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน ข้อเสีย: การบริหารจัดการถูกจำกัดโดยหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น 3. บริษัทจำกัด (Limited Company) นิยาม: องค์การธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นอย่างสิ้นเชิง ความรับผิดชอบ: ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังชำระไม่ครบ (หากชำระเต็มจำนวนแล้ว ก็ไม่มีความรับผิดเพิ่มเติม) ทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจะไม่ถูกนำมาใช้ชำระหนี้ของบริษัท ทุนจดทะเบียน: ปัจจุบันกฎหมายกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำเพียง 10 บาท โดยหุ้นสามัญต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท และต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (ข้อมูลอัปเดต ณ ปัจจุบัน) แม้ไม่มีขั้นต่ำสูง แต่โดยทั่วไปนิยมจดทะเบียนทุนสูงขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือ การบริหารจัดการ: ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น มีการประชุมผู้ถือหุ้นและปฏิบัติตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด การระดมทุน: สามารถระดมทุนได้ง่ายกว่าผ่านการออกหุ้นเพิ่ม ข้อดี: ความรับผิดชอบจำกัด ทำให้ความเสี่ยงส่วนตัวของผู้ลงทุนต่ำ มีความน่าเชื่อถือสูง เหมาะสำหรับการขยายธุรกิจและระดมทุน มีโครงสร้างที่เป็นระบบ ข้อเสีย: มีขั้นตอนการจัดตั้งและบริหารจัดการที่ซับซ้อนกว่า มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดกว่า จดทะเบียนบริษัท ต่างจากแบบอื่นอย่างไร? การจดทะเบียนบริษัทแตกต่างจากการประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนตรงที่ บริษัทจำกัดมี สถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้น โดยสิ้นเชิง นี่คือหัวใจสำคัญที่ทำให้การจดทะเบียนบริษัทเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ จดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ที่ไหน? หลังจากที่ทำตามขั้นตอนการขอจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการได้ที่: หลัง “จดทะเบียนบริษัท” ต้องทำอะไรต่อ? เมื่อบริษัทของคุณได้รับการจดทะเบียนอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังมีขั้นตอนสำคัญอื่นๆ ที่ต้องดำเนินการต่อเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย: การจดทะเบียนบริษัทเป็นก้าวแรกที่สำคัญสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน การศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จในระยะยาว ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) เมื่อธุรกิจของคุณเติบโตและถึงจุดที่ต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax – VAT) การทำความเข้าใจเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ VAT ไม่ใช่แค่หน้าที่ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการการเงินที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาขายสินค้าหรือบริการของคุณโดยตรง การทำความเข้าใจ VAT อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และใช้ประโยชน์จากระบบภาษีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร? ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT คือภาษีทางอ้อมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ โดยเก็บจากมูลค่าส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตและจำหน่าย ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยปัจจุบันอยู่ที่ 7% สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ VAT ไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการโดยตรง แต่เป็นภาระของผู้บริโภคคนสุดท้าย ผู้ประกอบการมีหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเรียกเก็บ VAT จากลูกค้า แล้วนำส่งให้กรมสรรพากร ใครมีหน้าที่ “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่: ข้อยกเว้น: กิจการบางประเภทได้รับการยกเว้น VAT เช่น กิจการขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร การให้บริการทางการแพทย์ การประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การจัดส่งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน รวมถึงกิจการขนาดเล็กที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (และไม่ได้เลือกจดทะเบียนโดยความสมัครใจ) ทำไมต้อง “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? นอกเหนือจากเป็นข้อบังคับตามกฎหมายเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การจดทะเบียน VAT ยังมีประโยชน์ในบางแง่มุม: สรุปท้ายบทความ การเริ่มต้นธุรกิจต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ตั้งแต่ การจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา ที่ง่ายและเหมาะกับคนเดียว ไปจนถึง ห้างหุ้นส่วน ที่มีหุ้นส่วนหลายคนแต่ความรับผิดชอบต่างกัน และ บริษัทจำกัด ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น การเลือกรูปแบบที่ใช่ตั้งแต่แรกจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างมั่นคง และอย่าลืมว่าเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำตามกฎหมาย เพื่อความสะดวกและแม่นยำในการจัดการบัญชี ภาษี และเตรียมพร้อมสำหรับ VAT โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จะเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่ทำให้การทำบัญชีเป็นเรื่องง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะเลือกรูปแบบธุรกิจใด PEAK ก็พร้อมสนับสนุนให้การเงินของคุณเป็นระบบ ตรวจสอบได้ ด้วยฟีเจอร์ที่ครบครัน เช่น การออกใบกำกับภาษี, และ การสร้างแบบยื่น ภ.พ.30 เพื่อให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นในยุคดิจิทัล  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

ความรู้ธุรกิจ

ทุนจดทะเบียน กระแสเงินสด ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด

PEAK Account

15

min

ทำความรู้จัก! 3 คำศัพท์บัญชี จากซีรีส์สงครามส่งด่วน

ซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ไม่เพียงแต่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจด้วยการแข่งขันในวงการขนส่ง แต่ตัวละครอย่าง “สันติ” ยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนจำนวนปลุกไฟในการเริ่มต้นทำธุรกิจ ในวงการบัญชีการเงินตัวละครที่สำคัญไม่แพ้กันอย่าง “เสี่ยวหยู” CFO สาวสวยสุดเก่งก็ให้มุมมองทางการเงินที่จำเป็นว่าการทำธุรกิจสมัยใหม่ต้องเข้าใจตัวเลขให้ลึกซึ้ง สำหรับผู้ที่อยากเข้าใจเบื้องหลังการบริหารธุรกิจในซีรีส์นี้ เรามาทำความรู้จักกับ 3 คำศัพท์ทางบัญชี ที่สำคัญ ได้แก่ ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) กระแสเงินสด (Cash Flow) และระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ผ่านบริบทที่เกิดขึ้นในซีรีส์เรื่องนี้ ศัพท์บัญชี ตัวแรก : ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) ทุนจดทะเบียน คือ จำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นจะต้องนำมาลงทุนในบริษัท โดยทั่วไปจะนิยมทุนจดทะเบียนที่ 1 ล้าน – 5 ล้านบาท โดยกฎหมายไม่ได้จำกัดเพดานสูงสุด จำนวนเงินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ต้องใช้หมุนเวียนในบริษัทของเรา   ข้อสังเกต: ทุนจดทะเบียน ≠ ทุนที่ชำระแล้ว เนื่องจากผู้ถือหุ้นสามารถชำระเงินทุนขั้นต่ำที่ 25% ได้ เช่น ทุนจดทะเบียน 100 ล้าน ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะมีเงินที่ 100 ล้าน เพราะถ้าผู้ถือหุ้นชำระเงินขั้นต่ำ 25% บริษัทจะมีเงินใช้ได้เพียง 25 ล้านบาทเท่านั้น เพื่อให้เห็นความสำคัญของการถือหุ้น จากซีรีส์เราจะเห็นว่า Easy Express มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านและมีโครงสร้างการถือหุ้น ดังนี้ แต่พอบริษัท Easy Express เพิ่มทุนจาก 100 ล้านเป็น 1,000 ล้านบาท และสันติไม่มีเงินมาลงเพิ่มทำให้สันติเสียสัดส่วนหุ้น(Dilution) จากที่ถือ 19% เหลือเพียง 1.9% ซึ่งทำให้อำนาจในการออกเสียงลดลงเสมือนไม่มีตัวตนในบริษัทแล้ว ที่เหตุการณ์เป็นแบบนี้ เพราะการเพิ่มทุนต้องขอมติจากผู้ถือหุ้น 3 ใน 4 (75%) พูดง่ายๆ คือ ถ้ามีกลุ่มผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นตั้งแต่ 75% เห็นด้วยกับมติก็สามารถเพิ่มทุนได้ทันที ซึ่งในเคสนี้หุ้นของ Easy China และคณิน กรุ๊ป รวมกันก็ 81% แล้ว ทำให้สันติที่หุ้นเพียง 19% ไม่เสียงเพียงพอที่จะคัดค้าน จึงต้องยอมรับชะตากรรมนั้นไป วิธีที่ใช้ป้องกันปัญหานี้ได้ เช่น สันติต้องถือหุ้นมากกว่า 25% หรือทำสัญญาผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) และระบุข้อกำหนดเพิ่มเติม อาทิ การเพิ่มทุนต้องให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อก่อน หรือการเพิ่มทุนต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นรายย่อยด้วย ศัพท์บัญชี ตัวที่สอง : กระแสเงินสด (Cash Flow) กระแสเงินสด คือ การเคลื่อนไหวของเงินสดเข้า – ออกกิจการ โดยธุรกิจมีความคาดหวังที่อยากทำให้เงินสดรับมีมากกว่าเงินสดที่จ่ายออกไป (รับ > จ่าย) โดยเฉพาะในบริบทของซีรีส์ ธุรกิจขนส่งด่วนต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงและต้องบริหารจัดการต้นทุนและรายได้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโต มีตัวอย่างของการบริหารกระแสเงินสดเพื่อให้เงินสดจ่ายออกเท่าที่จำเป็นให้เราได้เห็นกัน เช่น เพื่อทำความเข้าใจการเข้า – ออกเงินของธุรกิจของตัวเอง เราสามารถอ่านงบกระแสเงินสด(Cash flow statement) ซึ่งจะแบ่งการเคลื่อนไหวของเงินเป็น 3 กิจกรรม ให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเงินเราที่จ่ายออกไปอยู่ที่กิจกรรมไหนมากที่สุด ดังนี้ 1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Cash Flow) เงินสดที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจหลัก เช่น รับเงิน: รับเงินจากการขาย, รับชำระหนี้จากลูกค้า จ่ายเงิน: จ่ายค่าสินค้า, จ่ายเงินเดือน, จ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ 2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Investing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในธุรกิจ เช่น  รับเงิน: รับเงินปันผล, รับเงินจากการขายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ จ่ายเงิน: ซื้อเงินลงทุน, ซื้อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ 3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน (Financing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจ เช่น รับเงิน: รับเงินจากการกู้ยืม, รับเงินจากการเพิ่มทุน จ่ายเงิน: ชำระคืนเงินกู้, จ่ายเงินปันผล โดยกิจกรรมที่สำคัญมากๆ ที่ธุรกิจควรมีกระแสเงินสดรับมากกว่าจ่าย คือ กิจกรรมดำเนินงาน(Operating Cash Flow) เพราะเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ การขายหรือให้บริการต้องได้รับเงินมากว่าต้นทุนที่จ่ายออกไปนั่นเอง ในซีรีส์มีตอนที่เสี่ยวหยูพูดกับสันติว่า “80% ของบริษัทเจ๊งเพราะบริหารกระแสเงินสดไม่เป็น” ซึ่งสอดคล้องกับการอยู่รอดของธุรกิจที่ “กระแสเงินสด” โครตสำคัญกว่า “กำไร” ทำไม “กระแสเงินสด” สำคัญกว่า “กำไร” ในตลาดไทย เราเห็นกันมาหลายเคสที่บริษัทสร้างยอดขายและกำไรได้หลักร้อยล้านหรือพันล้านแต่ก็มีปัญหาในธุรกิจ เช่น ไม่มีเงินคืนเงินกู้ยืมตามกำหนดเวลา ซึ่งฟังดูก็คงแปลก ยอดขายสูงปรี๊ด กำไรมหาศาล แต่ดันไม่มีเงินคืนเจ้าหนี้ นั่นก็เพราะว่า กำไร ไม่ได้สะท้อนการมีเงินสด เช่น ดังนั้นการมี “กำไร” ที่สูง ไม่ได้บ่งบอกว่าจะมี “เงิน” ที่สูงตาม แม้ธุรกิจของเราจะยังขาดทุน แต่ถ้ายังมีกระแสเงินสดที่เพียงพอในการหมุนเวียนก็ทำให้เราขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปเพื่อให้กลับมาสร้างกำไรในอนาคตได้  คำถามสำคัญถัดไป คือ แล้วธุรกิจต้องมีเงินมากแค่ไหน เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด?? ศัพท์บัญชี ตัวที่สาม : ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Runway คือ เงินที่มีจะพอใช้ได้อีกกี่เดือน ในวันที่ธุรกิจมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หรือไม่มีรายรับเข้ามาเลย ธุรกิจต้องรู้ให้ได้ว่าเงินที่มีตอนนี้จะใช้จ่ายเงินเดือนพนักงาน ไปซื้อสินค้าได้อีกกี่เดือน ถ้าในระหว่างนี้เราไม่สามารถหาเงินเข้ามาในบริษัทได้ เตรียมเจ๊งทันที! ตัวอย่างจากซีรีส์ ในช่วงที่ Easy Express ให้บริการขั้นส่งที่ 25 บาท/ชิ้น จะมีเงินเหลือเพียงพอจ่ายค่าใช้จ่าย 12 เดือน แต่เมื่อมีการปรับกลยุทธ์เพื่อตัดราคาคู่แข่งโดยลดค่าบริการที่ 19 บาท/ชิ้น ทำให้กระแสเงินสดที่จะเข้ามาในบริษัทลดลง ส่งผลมีเงินจ่ายค่าใช้จ่ายจาก 12 เดือน ลดลงเหลือเพียง 4 เดือน  สิ่งที่สันติต้องภาวนาให้เกิดขึ้นหลังจากนี้ คือ การลดราคาจะทำให้จำนวนมากลูกค้าหันมาใช้บริการของ Easy Express ส่งผลให้กระแสเงินสดรับพุ่งเข้ามาอย่างมหาศาลและทำให้มีเงินเพียงทำธุรกิจได้อีกหลายปี แต่ถ้าการลดราคาไม่ได้ส่งผลให้คนมาใช้บริการมากพอ สันติต้องออกไปหาเงินทุนหรือเงินกู้มาให้ได้เท่านั้น วิธีการคำนวณ Cash Runway Cash Runway = เงินที่มีอยู่ / ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ตัวอย่างเช่น กิจการมีเงินคงเหลืออยู่ 10 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท แสดงว่าจะมีเงินใช้เพียงพออีก 10 เดือน(10ล้าน/1ล้าน)  แต่ความในเป็นจริงธุรกิจอาจมีรายได้เข้ามาบ้าง เพื่อให้การคำนวณแม่นยำมากขึ้นเราอาจใช้ “เงินสดจ่ายสุทธิ” มาเป็นตัวหารแทน โดยนำยอดรายจ่ายหักรายรับ เช่น รายจ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท มีรายรับต่อเดือน 5 แสนบาท จะมีเงินสดจ่ายสุทธิที่ 5 แสน ถ้าคำนวณ Cash runway ใหม่จะมีเงินเพียงพออีก 20 เดือน ดังนั้นการติดตาม Cash runway อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ธุรกิจได้ทราบสถานการณ์ล่วงหน้าว่าจะหาทางรับมือกับเงินสดที่จะหมดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าได้อย่างไรบ้าง จากซีรีส์จะเห็นว่าผู้บริหารไม่รับเงินเดือน ลดเงินเดือนพนักงาน สวัสดิการและโอทีต่างๆ เพื่อยืด runway ให้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อทำทุกอย่างแล้วเงินยังไม่พอ ต้องรีบหาคนที่จะให้เรากู้ยืมเงินหรือมาลงทุนกับเราเพิ่ม จะเห็นได้จากการที่เสี่ยวหยูต้องสละขายหุ้นของตัวเองและนำมาให้บริษัทกู้เพื่อหยุงธุรกิจให้ไปต่อได้ สรุปท้ายบทความ 3 คำศัพท์นี้ไม่เพียงแต่เป็นพื้นฐานทางบัญชีและการเงินที่สำคัญ แต่ยังสะท้อนความท้าทายและกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจจริงๆ ที่ปรากฏในซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของการจัดการธุรกิจได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น หวังว่าบทความนี้จะช่วยคุณเข้าใจศัพท์เหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤต และทั้งหมดนี้คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตในตลาดที่มีการแข่งขันสูง เหมือนกับ “สงคราม ส่งด่วน” ที่เราได้ชมกัน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

ทำความรู้จัก ภาษี 3 ตัว จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท ภาษีมูลค่าเพิ่ม

PEAK Account

24

min

เริ่มธุรกิจให้ถูกต้อง! จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การเริ่มต้นธุรกิจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและท้าทาบ แต่หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่หลายคนอาจมองข้าม คือ การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ จดทะเบียนการค้า ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียว หรือกำลังจะจัดตั้งนิติบุคคล การทำความเข้าใจขั้นตอนและประเภทของการจดทะเบียนจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย บทความนี้จะพาคุณรู้จักการจดทะเบียนแต่ละประเภทมากขึ้น  จดทะเบียนพาณิชย์ คืออะไร ทำไมต้องจด? การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การแจ้งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบว่าคุณกำลังดำเนินกิจการค้า ซึ่งมีประโยชน์ต่อธุรกิจในหลายประการ เช่น: ประเภทการ จดทะเบียนพาณิชย์: บุคคลธรรมดา vs. นิติบุคคล ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จดทะเบียนพาณิชย์ หรีอ จดทะเบียนการค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะของกิจการ ดังนี้ 1. จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินธุรกิจในนามส่วนตัว (กิจการเจ้าของคนเดียว) ไม่ได้มีการแยกนิติบุคคลออกจากเจ้าของกิจการ การจดทะเบียนประเภทนี้จะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ข้อดีคือขั้นตอนไม่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายน้อย ความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจะครอบคลุมไปถึงทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าของด้วย สรุปง่ายๆ: หากคุณเป็นบุคคลธรรมดาที่เปิดร้าน มีหน้าร้าน มีการซื้อมาขายไป หรือให้บริการที่มีลักษณะเป็นการค้าอย่างสม่ำเสมอ และมีรายได้ในระดับหนึ่ง คุณมีหน้าที่ต้อง จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา  ใครบ้างที่ “ได้รับการยกเว้น” ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์? 2. จดทะเบียนนิติบุคคล การเลือกรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีผลต่อทั้งความรับผิดชอบทางกฎหมาย ภาระภาษี และความน่าเชื่อถือในสายตาคู่ค้าและลูกค้า โดยหลักๆ แล้ว รูปแบบนิติบุคคลที่นิยมจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจในประเทศไทยมี 3 รูปแบบดังนี้ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) เป็นสัญญาที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อประกอบกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันกำไร สถานะทางกฎหมาย: ห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล หรือ ไม่จดทะเบียน ก็ได้ ความรับผิดชอบ: หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวน หมายความว่า หากห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินของกิจการ หุ้นส่วนแต่ละคนจะต้องนำทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ชำระหนี้ด้วย ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นได้ การบริหารจัดการ: หุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการได้ เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น ข้อดี: จัดตั้งง่าย มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีหุ้นส่วนไว้วางใจซึ่งกันและกันสูง ข้อเสีย: ความรับผิดชอบไม่จำกัด ทำให้ทรัพย์สินส่วนตัวมีความเสี่ยง 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) นิยาม: เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภทขึ้นไป สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคล แยกจากตัวบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วน ความรับผิดชอบ: มีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน หรือทรัพย์สินมาลงหุ้นได้ (ห้ามนำแรงงานมาลงหุ้นในส่วนของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด) การบริหารจัดการ: ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ข้อดี: หุ้นส่วนบางคนสามารถจำกัดความรับผิดชอบได้ ทำให้ดึงดูดผู้ร่วมลงทุนได้ง่ายขึ้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน ข้อเสีย: การบริหารจัดการถูกจำกัดโดยหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น 3. บริษัทจำกัด (Limited Company) นิยาม: องค์การธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นอย่างสิ้นเชิง ความรับผิดชอบ: ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังชำระไม่ครบ (หากชำระเต็มจำนวนแล้ว ก็ไม่มีความรับผิดเพิ่มเติม) ทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจะไม่ถูกนำมาใช้ชำระหนี้ของบริษัท ทุนจดทะเบียน: ปัจจุบันกฎหมายกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำเพียง 10 บาท โดยหุ้นสามัญต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท และต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (ข้อมูลอัปเดต ณ ปัจจุบัน) แม้ไม่มีขั้นต่ำสูง แต่โดยทั่วไปนิยมจดทะเบียนทุนสูงขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือ การบริหารจัดการ: ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น มีการประชุมผู้ถือหุ้นและปฏิบัติตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด การระดมทุน: สามารถระดมทุนได้ง่ายกว่าผ่านการออกหุ้นเพิ่ม ข้อดี: ความรับผิดชอบจำกัด ทำให้ความเสี่ยงส่วนตัวของผู้ลงทุนต่ำ มีความน่าเชื่อถือสูง เหมาะสำหรับการขยายธุรกิจและระดมทุน มีโครงสร้างที่เป็นระบบ ข้อเสีย: มีขั้นตอนการจัดตั้งและบริหารจัดการที่ซับซ้อนกว่า มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดกว่า จดทะเบียนบริษัท ต่างจากแบบอื่นอย่างไร? การจดทะเบียนบริษัทแตกต่างจากการประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนตรงที่ บริษัทจำกัดมี สถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้น โดยสิ้นเชิง นี่คือหัวใจสำคัญที่ทำให้การจดทะเบียนบริษัทเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ จดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ที่ไหน? หลังจากที่ทำตามขั้นตอนการขอจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการได้ที่: หลัง “จดทะเบียนบริษัท” ต้องทำอะไรต่อ? เมื่อบริษัทของคุณได้รับการจดทะเบียนอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังมีขั้นตอนสำคัญอื่นๆ ที่ต้องดำเนินการต่อเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย: การจดทะเบียนบริษัทเป็นก้าวแรกที่สำคัญสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน การศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จในระยะยาว ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) เมื่อธุรกิจของคุณเติบโตและถึงจุดที่ต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax – VAT) การทำความเข้าใจเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ VAT ไม่ใช่แค่หน้าที่ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการการเงินที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาขายสินค้าหรือบริการของคุณโดยตรง การทำความเข้าใจ VAT อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และใช้ประโยชน์จากระบบภาษีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร? ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT คือภาษีทางอ้อมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ โดยเก็บจากมูลค่าส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตและจำหน่าย ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยปัจจุบันอยู่ที่ 7% สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ VAT ไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการโดยตรง แต่เป็นภาระของผู้บริโภคคนสุดท้าย ผู้ประกอบการมีหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเรียกเก็บ VAT จากลูกค้า แล้วนำส่งให้กรมสรรพากร ใครมีหน้าที่ “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่: ข้อยกเว้น: กิจการบางประเภทได้รับการยกเว้น VAT เช่น กิจการขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร การให้บริการทางการแพทย์ การประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การจัดส่งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน รวมถึงกิจการขนาดเล็กที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (และไม่ได้เลือกจดทะเบียนโดยความสมัครใจ) ทำไมต้อง “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? นอกเหนือจากเป็นข้อบังคับตามกฎหมายเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การจดทะเบียน VAT ยังมีประโยชน์ในบางแง่มุม: สรุปท้ายบทความ การเริ่มต้นธุรกิจต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ตั้งแต่ การจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา ที่ง่ายและเหมาะกับคนเดียว ไปจนถึง ห้างหุ้นส่วน ที่มีหุ้นส่วนหลายคนแต่ความรับผิดชอบต่างกัน และ บริษัทจำกัด ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น การเลือกรูปแบบที่ใช่ตั้งแต่แรกจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างมั่นคง และอย่าลืมว่าเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำตามกฎหมาย เพื่อความสะดวกและแม่นยำในการจัดการบัญชี ภาษี และเตรียมพร้อมสำหรับ VAT โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จะเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่ทำให้การทำบัญชีเป็นเรื่องง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะเลือกรูปแบบธุรกิจใด PEAK ก็พร้อมสนับสนุนให้การเงินของคุณเป็นระบบ ตรวจสอบได้ ด้วยฟีเจอร์ที่ครบครัน เช่น การออกใบกำกับภาษี, และ การสร้างแบบยื่น ภ.พ.30 เพื่อให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นในยุคดิจิทัล  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

ความรู้ธุรกิจ