PEAK Payroll สามารถ export ได้ทั้งเงินเดือน ประกันสังคมและภาษี ผ่าน ธนาคาร และ RD-Prep

ตัวช่วยผู้ประกอบการ โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ ทำเงินเดือนพนักงานเป็นระบบ รองรับทุกการเติบโต

โปรแกรมคำนวณเงินเดือนออนไลน์ PEAK Payroll เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการงานบริหารบุคคลในส่วนของเงินเดือนและค่าจ้างหรือผลตอบแทนของ พนักงาน ตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้าข้อมูล การกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลสำหรับ ผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งาน การคำนวณเงินเดือนและภาษีไปจนถึงขั้นตอนการจ่าย เงินเดือนและออกรายงานหรือสลิปเงินเดือนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

24,000 บริษัท
วางใจใช้งาน PEAK

30,000

บริษัท

วางใจใช้งาน PEAK

1,400 พันธมิตรสำนักงานบัญชี

1,400

พันธมิตร

PEAK Family Partner

4  ล้านธุรกรรมต่อเดือน บน PEAK

4

ล้านธุรกรรม/เดือน

ธุรกรรมบน PEAK ต่อเดือน

40,000 ล้าน บาท/เดือน

40,000

ล้าน บาท/เดือน

มูลค่ารายการค้าต่อเดือน

จุดเด่นและฟังก์ชันของ PEAK Payroll โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ที่ใช้งานง่ายที่สุด

สลิปเงินเดือน

สลิปเงินเดือน

สร้างง่ายเพียง 3 ขั้นตอน

ส่งให้พนักงานอัตโนมัติและขอสลิปเงินเดือนเมื่อไหร่ก็ได้

ยื่นประกันสังคมออนไลน์

ยื่นประกันสังคมออนไลน์

สร้างไฟล์พร้อมยื่นประกันสังคม

สามารถนำไปยื่นในระบบ SSO e-service

จ่ายเงินเดือน

จ่ายเงินเดือน

ลดของผิดพลาดในการจ่ายเงินเดือนด้วยไฟล์

ประหยัดเวลาในการจ่ายเงินเดือน

บันทึกบัญชีอัตโนมัติ

บันทึกบัญชีอัตโนมัติ

ลงบัญชีให้อัตโนมัติทุกขั้นตอนในการทำเงินเดือน

ลดเวลาการงานเงินเดือน

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คำนวณและสร้างภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้

สามารถนำข้อมูลไปสร้าง ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก

สร้างรายการหักเงินหรือเงินได้อย่างอิสระ

สร้างรายการเงินหักหรือเงินได้อย่างอิสระ

สร้างเงินได้พิเศษเพื่อให้ครอบคลุมสวัสดิการ

สร้างเงินหักเพื่อรองรับนโยบาย

PEAK Payroll เหมาะกับใคร?
โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจมากที่สุด

ผู้ประกอบการใช้ PEAK Payroll จัดการเงินเดือนในธุรกิจ SME

เครื่องมือช่วยบริหารต้นทุนเงินเดือนสำหรับผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ SME

เห็นภาพรวมเงินเดือนทั้งหมดของบริษัท ทำให้สามารถวางแผนเงินเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฝ่ายบุคคลและนักบัญชีใช้ PEAK Payroll บริหารเงินเดือนและข้อมูลพนักงาน

ตัวช่วยจัดการเงินเดือน
สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลและนักบัญชี

โปรแกรมเงินเดือน ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ประหยัดเวลา สามารถทำเงินเดือนได้ถูกต้องและรวดเร็ว

จ่ายเงินเดือนผ่านโปรแกรมเงินเดือน PEAK Payroll เชื่อมต่อโปรแกรมบัญชีอัตโนมัติ

จ่ายเงินเดือนผ่านโปรแกรมเงินเดือน PEAK Payroll เชื่อมต่อโปรแกรมบัญชีอัตโนมัติ

ลดขั้นตอนในการทำงาน ลดข้อผิดพลาด ข้อมูลถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ครบทุกเรื่องบัญชี ภาษี และประกันสังคม จบในที่เดียว

ราคาเริ่มต้น 1,200 บาท/เดือน โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ PEAK Payroll

บริหารธุรกิจ บัญชี การเงิน
และจัดการเงินเดือนได้ครบวงจร

เริ่มต้นเพียง 1,200 บาท/เดือน

รู้จัก PEAK Payroll โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ ใน 3 นาที

จัดการเงินเดือนได้ง่ายๆ ด้วย โปรแกรมเงินเดือน - PEAK Payroll

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ PEAK Payroll

สามารถทำได้ โดยจะออกสลิปเงินเดือนและสามารถกดส่งสลิปเงินเดือนทาง Email ให้กับพนักงานในบริษัทได้เมื่อมีการบันทึกจ่ายเงินเดือน บนโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll)

อ่าน คู่มือการออกสลิปเงินเดือน เพิ่มเติมนี่ที่
อ่าน คู่มือการส่งสลิปเงินเดือนทาง Email เพิ่มเติมที่นี่

สามารถทำได้ซึ่งบนโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) สามารถสร้างได้ทั้งแบบภาษีรายเดือนและรายปี

โดยแยกเป็น 2 ประเภทดังนี้

  1. ภ.ง.ด 1 เมื่อมีการบันทึกจ่ายเงินเดือน PAY โปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) จะสร้างไฟล์ให้อัตโนมัติสำหรับการใช้โอนย้ายบน RD Prep และนำส่งข้อมูลให้กับทางกรมสรรพากรได้
  2. ภ.ง.ด 1ก เมื่อมีการสร้างสรุปจ่ายเงินเดือนประจำปีใน ระบบโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) จึงดึงข้อมูลจากการจ่ายเงินเดือนในแต่ละเดือนของปีนั้นๆมารวมคำนวณเงินได้ และคิดภาษีรวมทั้งปีให้ ซึ่งง่ายต่อการนำการนำข้อมูลไปยื่นภาษีต่อ

เมื่อใช้โปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) เพื่อสร้างข้อมูลเงินเดือน และการชำระเงินเดือน คุณไม่จำเป็นต้องทำการบันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกครั้ง เนื่องจากระบบจะทำการบันทึกบัญชีให้โดยอัตโนมัติในรูปแบบของเอกสารบันทึกรายจ่าย EXP ซึ่งโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) จะช่วยประหยัดเวลาและลดความผิดพลาดในกระบวนการบัญชีของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการคำนวณยอดการจ่ายประกันสังคม โปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) สามารถตั้งค่าคำนวณได้แบบทั้งกิจการและลงลึกได้ทั้งแบบรายพนักงานในบริษัท

ซึ่งการตั้งค่าประกันสังคมสามารถตั้งค่าได้ทั้งฝั่งอัตราเงินสมทบส่วนของนายจ้าง และ อัตราเงินสมทบส่วนของลูกจ้างเพื่อให้การจ่ายประกันสังคมในแต่ละเดือนเป็นเรื่องง่ายและสะดวกต่อการทำงาน

และที่เป็นจุดเด่นโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) สามารถสร้างไฟล์ประกันสังคมเพื่อนำไปอัปโหลดบนเว็บไซต์ประกันสังคม เพื่อทำจ่ายประกันสังคมได้ด้วย

อ่าน สำหรับวิธีการใช้งานฟังก์ชันเกี่ยวกับประกันสังคม เพิ่มเติมที่นี่
อ่าน วิธีการสร้างไฟล์ประกันสังคมเพื่อนำไปจ่ายบนเว็บไซต์ประกันสังคม เพิ่มเติมที่นี่

ผลิตภัณฑ์ของ PEAK

PEAK Account
โปรแกรมบัญชีออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Payroll
โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Board
โปรแกรมวิเคราะห์ธุรกิจ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Asset
โปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Tax
โปรแกรมการจัดการภาษีออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Line @PEAKConnect
ใช้งานโปรแกรมผ่านไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

บทความน่ารู้

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้! ค่าธรรมเนียม Shopee

PEAK Account

16

min

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้! วิธีคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ครบทุกประเภท ฉบับเข้าใจง่าย ใช้งานได้จริง

ร้านค้าส่วนใหญ่ในปัจจุบันนอกจากมีหน้าร้านจริงแล้ว การมีหน้าร้านในแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Shopee ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้ แต่หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการขายสินค้าบนแพลตฟอร์มมีการเก็บค่าธรรมเนียมด้วย! ซึ่ง ค่าธรรมเนียม Shopee จะมีอะไรบ้าง และมีวิธีการคำนวณอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ ค่าธรรมเนียม Shopee คืออะไร? ค่าธรรมเนียมการขาย Shopee คือค่าใช้จ่ายที่แพลตฟอร์ม Shopee เรียกเก็บจากเจ้าของธุรกิจที่ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มเมื่อขายสินค้าชิ้นดังกล่าวได้แล้ว โดยค่าธรรมเนียมของ Shopee มี 3 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีเงื่อนไขในการเก็บที่แตกต่างกันมีการคิดคำนวณค่าธรรมเนียมแบบแยกกัน  ในส่วนถัดไปของบทความเราจะลงรายละเอียดความแตกต่างของค่าธรรมเนียมแต่ละประเภทกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลย 1. ค่าธรรมเนียมการขาย เป็นค่าธรรมเนียมแรกที่ทุกร้านค้าต้องเสียเมื่อขายสินค้าได้แล้ว โดยค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะทำการคำนวณจากราคาของสินค้าที่ขายได้ ซึ่งอัตราที่ใช้คำนวณนั้นจะแตกต่างกันออกไปแต่ละประเภทสินค้า นอกจากนี้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย จะต้องคำนวณจากยอดที่หักส่วนลด หรือโปรโมชัน ที่เราจัดขึ้น เช่น โค้ดส่วนลดต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงนำตัวเลขที่ได้มาคำนวณค่าธรรมเนียมต่อไป ตารางค่าธรรมเนียมการขาย Shopee แยกตามประเภทสินค้า วิธีการคำนวณธรรมเนียมการขายของ Shopee โดยวิธีการคำนวณนั้นทำได้ไม่ยาก เพียงนำตัวเลขในตารางข้างต้น มาคำนวณกับราคาสินค้าที่หักส่วนลดจากร้านค้าแล้ว ตัวอย่างเช่น ขายสินค้าเสื้อผ้าผู้ชาย 1 ตัวราคาเต็มที่ขายคือ 500 บาท โดยลูกค้าใช้โค้ดส่วนลด 50 บาทในการซื้อสินค้า สูตรการคำนวณเราจึงต้องนำราคาเต็มมาหักลบกับส่วนลดก่อนดังนี้ ราคาเต็มที่ตั้งขาย – ส่วนลดจากร้านค้า (โค้ดส่วนลด) = ยอดที่ใช้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย แทนสูตรการคำนวณได้ดังนี้ 500 – 50 = 450 บาท เมื่อได้ตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็สามารถนำตัวเลขนี้ไปคิดกับอัตราค่าธรรมตามในตารางได้เลย โดยสูตรการคำนวณคือ ยอดรวมหลักหักส่วนลด X อัตราค่าธรรมเนียม ในกรณีของสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายที่เราใช้เป็นตัวอย่างอยู่ในหมวดหมู่ของสินค้าแฟชั่นซึ่งมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 9.63% (อัปเดตวันที่ 26 เมษายน 2568)  450 X 9.63% = 43.335 บาท หมายความว่าในการขายเสื้อผ้าผู้ชายราคา 500 บาท โค้ดส่วนลด 50 บาท ผู้ขายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการขาย 43.335 บาทนั่นเอง หากรวมสูตรการคำนวณง่าย ๆ จะออกมาในรูปแบบดังนี้ [ ราคาเต็มสินค้า – โปรโมชั่นจากผู้ขาย เช่น โค้ดส่วนลด] x อัตราค่าธรรมเนียมการขายตามประเภท = ค่าธรรมเนียมการขาย นอกจากนี้ค่าธรรมเนียมการขายของร้านค้าที่เป็น Non Mall Shop กับ Mall Shop ยังมีอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน สามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้ได้เลย สามารถศึกษาตารางอัตราค่าธรรมการสินค้าแต่ละประเภท ของร้านค้าประเภท Mall Shop อย่างละเอียดได้ที่เว็บไซต์ Shopee  ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ประเภทค่าธรรมเนียมการขาย ข้อสำคัญที่เจ้าของร้านห้ามลืมในการคำนวณคือ อย่าลืมนำราคาเต็มไปหักลบกับส่วนลด หรือโปรโมชั่นที่เราเป็นคนออก เช่น โค้ดส่วนลด ก่อนนำไปคำนวณกับอัตราค่าธรรมเนียมไม่เช่นนั้นอาจจะได้ตัวเลขค่าธรรมเนียมที่ไม่ตรง ส่งผลต่อการตั้งราคาและอาจทำให้ได้กำไรไม่ถึงกับที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ 2. ค่าธรรมเนียมธุรกรรม อีกหนึ่งค่าธรรมเนียม Shopee ที่เจ้าของร้านค้าต้องเสียหลังจากขายสินค้าได้คือค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ซึ่งคือค่าธรรมเนียมที่ร้านค้าต้องเสียให้แก่ผู้ให้บริการช่องทางชำระค่าใช้จ่ายสินค้าบนแพลตฟอร์ม Shopee โดยอัตราค่าธรรมเนียมธุรกรรมจะเท่ากันทุกประเภทสินค้า และทุกประเภทของร้านค้า โดยจะมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 3% ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%  โดยการคำนวณส่วนนี้จะคำนวณสรุปยอดรวมของคำสั่งซื้อที่ผู้ซื้อชำระให้กับร้านค้า โดยจะรวมทั้งค่าสินค้าและค่าจัดส่งสินค้า ส่วนในกรณีของส่วนลดต้องนำส่วนลดของ Shopee หรือ Shopee Coin มาหักลบก่อนคำนวณด้วย วิธีการคำนวณธรรมเนียมธุรกรรมของ Shopee ตัวอย่างสูตรการคำนวณแบบแยกการคำนวณ ค่าธรรมเนียมธุรกรรม และ VAT แยกกัน ยอดรวมคำสั่งซื้อ X 3% = ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ต้องเสีย (ก่อนคำนวณ VAT) ยกตัวอย่างจากสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายในราคารวมส่วนลดแล้วอยู่ที่ 450 บาท และมีค่าส่ง 100 บาท  550 X 3% = 16.5 บาท (ก่อนคำนวณ VAT) หากคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จะมีสูตรการสูตรคำนวณดังนี้ ค่าธรรมเนียมธุรกรรม x 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ค่าธรรมเนียมธุรกรรม + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ค่าธรรมเนียมธุรกรรม แทนสูตรการคำนวณได้ดังนี้ 16.5 x 7% = 1.155 บาท 16.5 + 1.155 = 17.655 บาท จากสูตรการคำนวณทั้งหมดหมายความว่ายอดคำสั่งซื้อของเสื้อผ้าผู้ชายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมธุรกรรม 17.655 บาทนั่นเอง  หากต้องการคำนวณให้ง่ายมากยิ่งขึ้นให้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มในการคำนวณขั้นตอนแรกได้เลย โดยให้คิดอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มเป็น 3.21% ต่อยอดรวมคำสั่งซื้อ  ยอดรวมคำสั่งซื้อ X 3.21% = ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ต้องเสีย (รวม VAT) แทนสูตรได้ดังนี้ 550 x 3.21% = 17.655 บาท ตัวเลขที่ได้เท่ากับการคำนวณ VAT แยกแต่รูปแบบนี้จะรวบขั้นตอนเป็นการคำนวณครั้งเดียวเพื่อความสะดวกและรวดเร็วนั่นเอง ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียมธุรกรรมของ Shopee ความต่างในการคำนวณนอกจากอัตราที่เท่ากันทั้งหมดแล้ว ค่าธรรมเนียมธุรกรรม ไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT 7% เข้าไปด้วย ซึ่งตรงกันข้ามกับค่าธรรมเนียมการขายที่มีการรวมเข้าไปด้วยแล้ว ด้วยเหตุนี้ห้ามลืมคำนวณ VAT ในค่าธรรมเนียมธุรกรรม เพื่อการคำนวณต้นทุนการขายได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น 3. ค่าธรรมเนียมบริการ สำหรับค่าธรรมเนียม Shopee ส่วนสุดท้ายจะเป็นค่าธรรมเนียมบริการ ซึ่งการบริการในที่นี้คือ โปรแกรมส่งฟรีส่งฟรี Xtra หรือโปรแกรมส่วนลด Xtra ของ Shopee นั่นเอง ซึ่งโปรแกรม Xtra นี้เจ้าของร้านสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมโปรแกรมหรือไม่ก็ได้ โดยผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมนอกเหนือจากการขายและธุรกรรม ในส่วนของค่าธรรมเนียมบริการจะมีอัตราค่าธรรมเนียมแบ่งตามประเภทของสินค้าเช่นเดียวกับค่าธรรมเนียมการขาย ซึ่งคำนวณเป็นสินค้าต่อชิ้น และจะหักค่าธรรมเนียมจากจำนวนยอดเงินรวมที่ต้องได้รับ และค่าธรรมเนียมบริการจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว ตารางค่าธรรมเนียมแบ่งแยกตามหมวดหมู่สินค้า และประเภทโปรแกรม วิธีการคำนวณธรรมเนียมบริการของ Shopee โดยการคำนวณจะคิดจากราคาสินค้าที่ชำระ ยกตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าผู้ชาย 500 บาท โค้ดส่วนลด 50 บาท และเข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรี Xtra ราคาสินค้า x อัตราค่าธรรมเนียมโปรแกรมส่งฟรี Xtra (5.35%) = ค่าธรรมเนียมบริการ แทนสูตรการคำนวณดังนี้ 450 x 5.35% = 24.075 บาท หมายความว่าเจ้าของร้านที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรี Xtra เมื่อขายสินค้ายอดรวม 450 บาทได้จะเสียค่าธรรมเนียมบริการ 24 บาทนั่นเอง ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียมบริการของ Shopee ข้อสำคัญที่ห้ามลืมคือจำนวนยอดรวมที่ใช้คำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ที่บางท่านอาจลืมไปว่าต้องนำส่วนลดต่าง ๆ มาคำนวณเพิ่มเติมด้วย รวมไปถึงการคำนวณค่าธรรมเนียมบริการ คำนวณแยกรายการ เช่น ถ้าในคำสั่งซื้อมีเสื้อผ้าผู้ชาย 1 ตัว กางเกง 1 ตัว ต้องคิดค่าธรรมเนียมบริการแยกกันตามราคาของสินค้าแต่ละชิ้นนั่นเอง สรุปตัวอย่างการคำนวณ ค่าธรรมเนียม Shopee ทั้ง 3 ประเภท ส่วนถัดมา เราขอยกตัวอย่างการคำนวณในกรณีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมครบทั้ง 3 ประเภท ซึ่งผู้ที่จะเสียค่าธรรมเนียมครบ คือร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรม Xtra ของ Shopee  โดยตัวอย่างเราขอใช้เป็นสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายตัวเดิม โดยร้านค้าเป็น Non Mall Shop ให้ใช้ตารางค่าธรรมเนียมของ Non Mall Shop ในการคำนวณอัตราค่าธรรมเนียม ตัวอย่างรายละเอียดคำสั่งซื้อสินค้า: เสื้อผ้าผู้ชาย ตัวอย่างสูตรการคำนวณค่าธรรมเนียมทั้ง 3 ประเภท อันดับแรกให้คำนวณราคาสินค้าที่หักโค้ดส่วนลดของร้านค้าก่อน ราคาสินค้าเต็ม 500 บาท – ส่วนลดร้านค้า 50 บาท = 450 บาท  หลังจากนั้นนำมาคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย 450 x 9.63% = 43.33 บาท คำนวณค่าธรรมเนียมบริการ 450 x 5.35% = 24.07 บาท คำนวณค่าธรรมเนียมธุรกรรม โดยคิดจากยอดเต็มที่ลูกค้าต้องจ่าย จึงต้องนำส่วนต่างค่าจัดส่งที่ผู้ซื้อชำระมารวมกับราคาสินค้า [450 + 62] x 3.12% = 15.97 บาท หลังจากนั้นนำค่าธรรมเนียมทั้งหมดรวมกัน แล้วลบราคาสินค้าเต็ม ก็จะได้ จำนวนเงินที่เจ้าของร้านจะได้รับจากการขายเสื้อผ้าผู้ชายตัวละ 500 บาทบนแพลตฟอร์ม Shopee 500 – [43.33+24.07+15.97] = 416.63 บาท เท่ากับว่าเจ้าของร้านจะได้รับเงินจริง ๆ 416.63 บาท หรือเสียค่าธรรมเนียมรวมทั้ง 3 ประเภทประมาณ 83.37 บาท นั่นเอง แชร์สูตรคำนวณครบ 3 ค่าธรรมเนียม Shopee ในภาพเดียว! คำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ให้ถูกต้อง ช่วยให้การตั้งราคาง่ายยิ่งขึ้น ความสำคัญของการคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ช่วยให้ธุรกิจที่มีร้านค้าบน Shopee สามารถตั้งราคาสินค้าได้ถูกต้อง และง่ายมากยิ่งขึ้น เพราะค่าธรรมเนียมเหล่านี้ล้วนนับเป็นต้นทุนได้ทั้งสิ้น หากไม่มีการคำนวณล่วงหน้า อาจทำให้เสียค่าธรรมเนียมจนกำไรหายไปได้ แต่นอกจากค่าธรรมเนียมหลักทั้ง 3 ประเภทยังมีค่าธรรมเนียมอื่น เช่น Airplay, บัตรเครดิต เดบิต และ SPaylater อีกด้วย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการชำระเงินของลูกค้า ซึ่งค่าธรรมเนียม Shopee ก็นับเป็นค่าใช้จ่ายยิบย่อยพอสมควร หากมีจำนวนการทำธุรกรรมเยอะอาจทำให้การทำบัญชียุ่งยากหรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้การมีโปรแกรมบัญชีครบวงจรอย่าง PEAK ก็ช่วยให้ผู้ประกอบการบันทึกบัญชีได้ง่ายยิ่งขึ้น มาพร้อมคู่มือการใช้งานที่เข้าใจง่าย และนอกจากนี้ PEAK ยังสามารถเชื่อมต่อกับ Shopee ได้โดยตรงอีกด้วย เพราะฉะนั้นรู้วิธีคำนวณอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องมีโปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้เรื่องการทำบัญชีง่ายยิ่งขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

วิธีคัดงบการเงิน คลังความรู้ PEAK

PEAK Account

9

min

วิธีดูงบการเงินออนไลน์ และ การคัดงบการเงิน

รู้ไหมว่า…งบการเงินของธุรกิจเราไม่ใช่ความลับ ?งบการเงิน คือ รายงานที่สรุปรายได้ ค่าใช้จ่าย กำไร ขาดทุน และทรัพย์สินของธุรกิจ ช่วยให้เจ้าของกิจการรู้สถานะทางการเงินของตัวเอง และใช้วางแผนหรือเปรียบเทียบกับคู่แข่งได้ ถ้าผู้ประกอบการเข้าใจและอ่านงบการเงินเป็นก็สามารถวางกลยุทธ์ของธุรกิจคุณได้แล้วครับ ไม่ว่าเราจะเปิดบริษัทเอง หรือกำลังจับตาคู่แข่งอยู่ ข้อมูลสำคัญอย่าง “ งบการเงิน ” นั้นถูกจัดเก็บแบบสาธารณะที่สามารถเข้าไปดูได้ เพียงแค่รู้ช่องทางและรู้วิธี เช่นเดียวกับบริษัทมหาชนที่งบการเงินเปิดเผยอยู่บนเว็บไซต์ให้โหลดได้ฟรี การค้นหางบของคู่แข่งหรือพาร์ตเนอร์ธุรกิจก็เป็นไปได้เช่นกัน แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายเท่ากันทุกกรณี แต่ถ้าเรารู้ว่าจะดูจากที่ไหนและดูอะไรบ้าง ก็ช่วยให้ตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้นอย่างมาก วิธี ดูงบการเงิน แบบออนไลน์ การ “ดูงบการเงินออนไลน์” คือการเข้าถึงข้อมูลงบการเงินของธุรกิจต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องไปขอเอกสารฉบับจริงให้ยุ่งยาก ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ได้จัดทำระบบที่ชื่อว่า DBD DataWarehouse+ ให้ประชาชนทั่วไปสามารถค้นหาข้อมูลงบการเงินของนิติบุคคลในประเทศไทยได้ง่ายๆ เพียงแค่มี เลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งเราสามารถใช้ระบบนี้เพื่อดูภาพรวมของธุรกิจ เช่น รายได้ กำไร หนี้สิน หรือสถานะทางการเงินของคู่แข่ง พาร์ตเนอร์ หรือแม้แต่ของตัวเราเอง โดยเฉพาะในกรณีที่เราจะวิเคราะห์คู่แข่ง ขอสินเชื่อ หรือจะรับลูกค้าใหม่เข้าระบบ ก็สามารถใช้ข้อมูลจากงบการเงินออนไลน์ประกอบการตัดสินใจได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ซึ่งสามารถทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. เข้าเว็บไซต์ และกรอกเลขนิติบุคคล 13 หลัก 2. ระบบจะแสดงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น ชื่อ ทุนจดทะเบียน วันก่อตั้ง ที่อยู่ รายชื่อกรรมการ และประเภทธุรกิจ 3. เลือกแท็บ ‘ข้อมูลทางการเงิน’ และเลือกหัวข้อย่อย ‘ งบการเงิน ’ 4. ระบบจะเข้าสู่หน้างบฐานะการเงิน ซึ่งสามารถเลือกดูงบกำไรขาดทุนหรืออัตราส่วนการเงินที่ตัวเลือกด้านขวาของหน้าจอได้ จากรูปภาพจะเห็นว่าข้อมูลจะเป็นงบการเงินแบบย่อที่แสดงข้อมูลโดยสรุปจากงบการเงินฉบับเต็ม ซึ่งก็มีข้อมูลสำคัญที่เราสามารถนำไปวิเคราะห์ต่อได้  วิธี คัดงบการเงิน ฉบับเต็ม ถ้าดู งบการเงิน ออนไลน์แล้วรู้สึกว่ายังไม่ละเอียดพอ โดยเราอยากเห็นข้อมูลเชิงลึกบางอย่าง เช่น หมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือรายละเอียดสินทรัพย์ หนี้สินแบบแยกรายการ ดังนั้นการ “คัดงบ” หมายถึง การยื่นคำขอรับสำเนาเอกสารงบการเงินอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะได้เอกสารที่เหมือนกับงบที่บริษัทส่งตรวจสอบจริง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับจำนวนหน้า เราสามารถ “ คัดงบการเงินฉบับเต็ม ” ผ่านระบบออนไลน์ของ DBD ที่สามารถชำระเงินและดาวน์โหลดไฟล์ได้ทันที ดังนี้ 1. เข้าเว็บไซต์ และกดปุ่มเลือกเอกสารด้วยตนเอง 2. ค้นหานิติบุคคลที่สนใจด้วยเลขนิติบุคคล 13 หลัก และสามารถเลือกได้มากกว่า 1 นิติบุคคล จากนั้นกดปุ่ม ‘ถัดไป’ 3. จากนั้นกดปุ่ม ‘เลือกเอกสาร’ 4. ในหน้านี้ให้เลือกหัวข้อ ‘ถ่ายเอกสาร (ไม่รับรอง)’ และเลือกประเภทเอกสาร ‘งบการเงิน/บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น’ และให้เลือกติ๊กเอกสารที่ต้องการคัดลอก เช่น แบบนำส่งงบการเงิน รายงานผู้สอบฯ และงบการเงิน จากนั้นให้กดปุ่ม ‘เพิ่มไปยังตระกร้า’ จะได้ผลลัพธ์ตามรูปภาพ และกด ‘ยืนยันการเลือกเอกสาร’ 5. ตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง โดยค่าใช้จ่ายมี 2 รายการ ได้แก่ จากนั้นกด ‘ยืนยันรายการ’ และกด ‘ถัดไป’ 6. เลือกวิธีการระบุชื่อผู้รับเงินบนใบเสร็จรับเงินตามต้องการ 7. สำหรับข้อมูลผู้ทำขอ สามารถเลือกกรอกโดยการเข้าสู่ระบบDBD (ระบบจะขึ้นข้อมูลส่วนตัวให้อัตโนมัติ) หรือเลือกแบบไม่มีบัญชี (ต้องกรอกข้อมูลเอง) ก็ได้ เมื่อกรอกแล้วให้กด ‘ถัดไป’ 8. เลือกช่องทางการจัดส่งเอกสารจะเลือกผ่านวิธีการจัดส่ง (มีค่าใช้จ่าย) หรือไปรับเองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) ก็ได้ กรณีเลือกการจัดส่งต้องกรอกที่อยู่เพื่อการจัดส่งเพิ่มเติม 9. กดยอมรับเงื่อนไขการชำระเงิน และกดปุ่ม ‘ยืนยัน’ 10. จากนั้นให้พิมพ์ใบนำชำระเงิน เพื่อไปชำระตาม 4 ธนาคารที่กำหนด หรือชำระผ่าน QR Code ในเอกสารดังกล่าวได้ หลังจากนั้นถือว่าขั้นตอนคัดลอกเสร็จสิ้นและรอรับเอกสาร โดยทั่วไปจะได้รับเอกสารภายใน 1 อาทิตย์ แต่เร็วที่สุดที่เคยได้รับคือภายในวันถัดไป หลังจากที่ได้รับงบการเงินแล้ว สามารถจะนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อได้ทันที เพราะงบการเงินจะเป็นแบบเต็มรูปแบบ ไม่ใช่แบบย่อเหมือนใน DBD Warehouse+ สรุปท้ายบทความ อยากรู้สถานะการเงินของธุรกิจ ไม่ยากเลย! แค่ใช้ระบบ DBD DataWarehouse+ ก็สามารถดูงบการเงินเบื้องต้นได้ฟรี เช่น รายได้ กำไร หนี้สิน ฯลฯ แต่ถ้าอยากเจาะลึกมากขึ้น ก็สามารถคัดงบฉบับเต็มโดยมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยหากคุณมีงบอยู่ในมือแล้วแต่ยังไม่แน่ใจว่าอ่านตรงไหนก่อน แนะนำอ่านบทความ “ขั้นตอนอ่านงบการเงินง่ายๆ ฉบับผู้ประกอบการมือใหม่” ต่อได้เลย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

งบการเงิน คลังความรู้ PEAK

PEAK Account

35

min

ขั้นตอนอ่าน “งบการเงิน” ง่ายๆ ฉบับผู้ประกอบการมือใหม่

สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่หลายคน การเห็น “ งบการเงิน” ครั้งแรกอาจรู้สึกเหมือนกำลังเปิดหนังสือภาษาต่างดาว ไม่รู้จะเริ่มอ่านตรงไหน และไม่แน่ใจว่าตัวเลขเหล่านั้นกำลังบอกอะไรกับเรา แต่จริงๆ แล้ว งบการเงินไม่ได้เข้าใจยากอย่างที่คิด ถ้าเรารู้หลักพื้นฐานและมองมันให้เหมือนเครื่องมือที่ช่วยเล่าเรื่องราวของธุรกิจ ก่อนจะเข้าเนื้อหา เราอยากชวนให้มองงบการเงินเหมือน “รายงานสุขภาพของธุรกิจ” ที่ช่วยบอกว่า ธุรกิจเรายังแข็งแรงดีไหม มีอะไรผิดปกติหรือเปล่า กำลังจะเติบโตหรือกำลังจะสะดุด การอ่านงบการเงินจึงเป็นทักษะสำคัญที่ช่วยให้เราตัดสินใจอย่างมีข้อมูล ไม่ใช่ใช้แค่ความรู้สึกหรือการคาดเดา งบการเงิน’ คืออะไร? งบการเงิน คือ เอกสารที่สรุปภาพรวมของธุรกิจด้วยตัวเลข คล้ายกับการบันทึกรายรับ-รายจ่าย แต่มีความละเอียดและเป็นระบบมากกว่า โดยจะช่วยให้เราเห็นว่าในรอบปีที่ผ่านมา ธุรกิจของเราดำเนินไปอย่างไร ซึ่งข้อมูลสำคัญในงบการเงินมี 3 เรื่องหลัก คือ โดยทั่วไป งบการเงินจะแสดงตัวเลขเปรียบเทียบ 2 ปี เพื่อให้เห็นแนวโน้มของธุรกิจ เช่น งบการเงินของปี 2567 จะแสดงตัวเลขของปี 2567 เทียบกับปี 2566 ยกเว้นกรณีที่เป็นปีแรกของการจัดตั้งบริษัท ก็จะมีเฉพาะปีปัจจุบันเท่านั้น   ประเภทของ ‘งบการเงิน’ งบการเงินหลักๆ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ที่ผู้ประกอบการควรรู้จัก เพราะแต่ละงบให้ข้อมูลคนละมุมกัน ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะช่วยให้เห็นภาพรวมธุรกิจได้ชัดเจนขึ้นดังนี้ 1. งบกำไรขาดทุน(Statement of Income) แสดงรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรหรือขาดทุนของธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้รู้ว่า 2. งบฐานะการเงิน(Statement of Financial Position) หรือ งบดุล(Balance Sheet) แสดงสถานะทางการเงินด้วยทรัพย์สิน หนี้สิน และทุน ณ วันใดวันหนึ่ง โดยบอกว่า 3. งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ(Statement of Changes in Equity) แสดงการเปลี่ยนแปลง “เงินของเจ้าของ” ว่าผู้ที่ได้นำเงินมาลงทุนในธุรกิจมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นหรือลดลง เช่น ทุนเริ่มต้น และกำไรสะสมที่ผ่านมา หมายเหตุ: ห้างหุ้นส่วนไม่จำเป็นต้องจัดทำงบการเงินประเภทนี้ตามกฎหมาย 4. งบกระแสเงินสด(Statement of Cash Flows) แสดงการ “รับเงิน” และ “จ่ายเงิน” ของธุรกิจโดยแยกตาม 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ งบนี้ช่วยให้เรารู้ว่าเงินสดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละปี มาจากอะไร เช่น ข้อสังเกต: งบกระแสเงินสดไม่ใช่งบที่ทุกกิจการต้องทำเสมอไป โดยเฉพาะนิติบุคคลที่ไม่ใช่บริษัทมหาชน นักบัญชีอาจไม่ได้จัดทำงบประเภทนี้ให้ก็ได้ นอกจาก 4 งบหลักนี้แล้ว ยังมีอีกเอกสารหนึ่งที่มักแนบมากับงบการเงินทุกปี คือ หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statements: NFS) ซึ่งเป็นเอกสารที่ควรอ่านควบคู่กันเสมอ เพื่อให้เข้าใจภาพรวมและรายละเอียดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเอกสารนี้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมที่ไม่สามารถใส่ไว้ในงบหลักได้ เช่น ตอนนี้เราเข้าใจภาพรวมของงบการเงินแล้ว ทั้งหน้าที่ของแต่ละงบ และข้อมูลที่ควรสังเกต ต่อไปเราจะเจาะลึกวิธี “อ่าน” งบการเงินแบบเข้าใจง่าย และนำไปใช้ตัดสินใจทางธุรกิจได้จริง วิธีอ่าน “งบกำไรขาดทุน” งบกำไรขาดทุน แสดงผลการดำเนินงาน โดยมีสมการง่ายๆ คือ รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย = กำไร(ขาดทุน) ประเภท ‘รายได้’ รายได้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ข้อสังเกต: การแบ่งรายได้ ช่วยให้รู้ว่าเงินเข้ามาจากอะไร และธุรกิจแข็งแรงจริงไหม ไม่ใช่แค่โชคดีได้เงินครั้งคราว ประเภท ‘ค่าใช้จ่าย’ ค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ ข้อสังเกต: ช่วยให้เจ้าของกิจการเข้าใจว่าเงินของตัวเองหมดไปกับเรื่องอะไร และควรปรับตรงไหนบ้างเพื่อให้มีกำไรมากขึ้น  ประเภท ‘กำไร’ จริงๆ แล้วในงบกำไรขาดทุน ไม่ได้มีแค่ตัวเลข ”กำไรสุทธิ” เพียงบรรทัดเดียว แต่มีการแสดง “กำไร” หลายระดับ เพื่อให้เห็นภาพธุรกิจในมุมต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ดังนี้ การอ่านงบกำไรขาดทุนทำให้เราเข้าใจลักษณะของรายได้ ค่าใช้จ่าย ที่ทำให้ธุรกิจกำไรหรือขาดทุน เช่น ค่าใช้จ่ายในการบริหารสูงมากจนทำให้ธุรกิจขาดทุน ผู้ประกอบการก็ควรเจาะลึกเข้าไปว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่อยู่ในกลุ่มค่าใช้จ่ายบริหารที่สูง เพื่อหาทางแก้ไขในอนาคตได้ ตรงกันข้ามเราอาจพบว่ามีค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ธุรกิจจ่ายน้อยเกินไป ซึ่งถ้าจ่ายเพิ่มอาจทำให้รายได้เพิ่มขึ้นได้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา เป็นต้น วิธีอ่าน “งบฐานะการเงิน” (งบดุล) งบฐานะการเงิน แสดงสถานะทางการเงินของธุรกิจ โดยมีสมการง่ายๆ คือ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ จากสมการสามารถตีความได้ว่าสิ่งที่ธุรกิจมีอยู่ เรียกว่า สินทรัพย์ เช่น เงินสด สินค้า หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ล้วนมาจากเงิน 2 แหล่งคือ ประเภท ‘สินทรัพย์’ สินทรัพย์จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ข้อสังเกต: การแบ่งประเภทหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน ทำให้ธุรกิจทราบว่าในระยะสั้นมีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินเพื่อใช้หมุนเวียนเพียงพอหรือไม่ ประเภท ‘หนี้สิน’ หนี้สินจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ข้อสังเกต: การแบ่งประเภทหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน ทำให้ธุรกิจทราบว่าในระยะสั้นมีหนี้สินที่ต้องชำระเท่าใด ซึ่งสามารถนำไปเทียบกับยอดสินทรัพย์หมุนเวียนว่ามีสินทรัพย์ระยะสั้นเพียงพอในการชำระหนี้สินระยะสั้นหรือไม่ ถ้าสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน ธุรกิจต้องรีบวางแผนหาเงินเพิ่มเติม เพื่อให้ไม่ให้ธุรกิจสะดุดจากการขาดสภาพคล่อง ประเภท ‘ส่วนของเจ้าของ’ ส่วนของเจ้าของ แสดงเงินหรือทรัพย์สินที่เจ้าของธุรกิจใส่เข้ามาในกิจการ รวมถึงกำไรที่ธุรกิจสะสมไว้ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ข้อสังเกต: การอ่านงบฐานะการเงินช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจว่าเงินทุนที่ธุรกิจใช้มาจากเจ้าของมากน้อยแค่ไหน เทียบกับเงินที่กู้ยืมมา รวมถึงวางแผนการบริหารธุรกิจในอนาคต เช่น จะใช้กำไรสะสมต่อยอดอย่างไร หรือควรกันสำรองเพื่อเป้าหมายใดบ้าง วิธีอ่าน “งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ” งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ แสดงให้เห็นว่า “เงินลงทุนของเจ้าของ” และ “กำไรสะสม” มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรตลอดทั้งปี โดยมีสมการง่ายๆ คือ ส่วนของเจ้าของต้นปี + เพิ่ม(ลด)ทุน + กำไร(ขาดทุน) – จ่ายปันผล = ส่วนของเจ้าของปลายปี การเปลี่ยนแปลงของทุนที่ชำระ การเปลี่ยนแปลงของกำไรสะสม ส่วนของเจ้าของสะท้อนความมั่งคั่งของธุรกิจ การอ่านงบนี้ทำให้เราเห็นว่า ธุรกิจ “แข็งแรง” หรือ “อ่อนแอ” ทางการเงินแค่ไหน อย่างไรก็ตามบางประเภทธุรกิจมักจะมีส่วนของเจ้าของต่ำในช่วงการดำเนินธุรกิจแรกๆ เช่น กลุ่มบริษัทสตาร์อัพ(startups) เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สร้างนวัตกรรมใหม่ที่คนยังไม่คุ้นเคย ทำให้ช่วงแรกๆของธุรกิจจะต้องลงทุนสูงเพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และต้องทำการตลาดอย่างหนักเพื่อให้คนรู้จักและเปิดใจใช้ ทำให้รายได้จะยังน้อยแต่ค่าใช้จ่ายสูง ส่งผลให้เกิดผลขาดทุนสะสมซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง และวันที่นวัตกรรมเป็นที่รู้จักและแก้ไขปัญหาผู้ใช้ได้จริง บริษัทเหล่านี้จะสามารถกลับมาทำกำไรได้อย่างรวดเร็ว ข้อสังเกต: งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่เป็นเครื่องมือสะท้อนความมั่นคงของธุรกิจทั้งในมุมมองระยะสั้นและระยะยาว หากเรารู้วิธีดูงบนี้ จะช่วยวางแผนการลงทุน การถอนทุน และการจัดการกำไรได้ดียิ่งขึ้น วิธีอ่าน “งบกระแสเงินสด” งบกระแสเงินสด ได้แสดงให้เห็นว่าเงินที่มีในธุรกิจเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพราะอะไร และช่วยตอบคำถามว่า“ธุรกิจเรามีกำไร…แต่ทำไมเงินสดถึงไม่เหลือ ?”โดยมีสมการง่ายๆ คือ เงินต้นปี บวก เงินรับ(จ่าย)ระหว่างปี = เงินปลายปี โดยการรับเงิน-จ่ายเงิน สามารถแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรม เพื่อให้เข้าใจที่มาที่ไปของเงินมากขึ้น ดังนี้ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน(Operating activity) กิจกรรมดำเนินงาน คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจประจำวัน ซึ่งบอกถึง ความสามารถในการทำกำไรจากธุรกิจหลัก และสภาพคล่องระยะสั้น ดังนี้ ที่มาเงินรับ:  ที่มาเงินจ่าย: ข้อสังเกต: ธุรกิจที่แข็งแรง ควรมีกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวกต่อเนื่อง เพื่อสะท้อนการทำกำไรที่มีเงินสดจริงตามมา กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน(Investing activity) กิจกรรมลงทุน คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเป็นหลัก ซึ่งแสดงถึง แนวโน้มการขยายหรือหดตัวลงของกิจการ ดังนี้ ที่มาเงินรับ:  ที่มาเงินจ่าย: ข้อสังเกต: หากธุรกิจกำลังขยายตัว มักมีกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน ติดลบ เพราะมีการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน(Financing activity) กิจกรรมจัดหาเงิน คือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดหาแหล่งเงินทุนใหม่ หรือการชำระคืนหนี้ ซึ่งสะท้อน โครงสร้างทางการเงินของธุรกิจ ดังนี้ ที่มาเงินรับ:  ที่มาเงินจ่าย: ข้อสังเกต: กระแสเงินสดบวกในกิจกรรมนี้ มักเกิดในช่วงเริ่มต้นธุรกิจหรือขยายธุรกิจ หากติดลบแสดงว่ามีการชำระหนี้หรือลดขนาดกิจการ ข้อมมูลในงบกระแสเงินสดในภาพรวมคือการแสดง “ทิศทางของเงินสด” และ “สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง” ได้อย่างชัดเจนกว่างบอื่น เช่น ตัวอย่างสถานการณ์ที่สอดคล้องไปกับสภาวะของธุรกิจแต่ละช่วง อาจจะเจอสถานการณ์ ดังนี้ ประเภทกิจกรรม ธุรกิจเริ่มต้นใหม่ ธุรกิจมั่นคง ธุรกิจมีปัญหา ดำเนินงาน ติดลบ บวก ติดลบ ลงทุน ติดลบ ติดลบหรือศูนย์ บวก (ขายทรัพย์สิน) จัดหาเงิน บวก ติดลบหรือศูนย์ ศูนย์ (หาเงินเพิ่มไม่ได้) วิธีอ่าน “หมายเหตุประกอบงบการเงิน” หมายเหตุประกอบงบการเงินต้องเปิดอ่านคู่กับงบการเงินเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงในงบการเงิน เช่น รายละเอียดธุรกิจ นโยบายบัญชี หรือรายละเอียดตัวเลขจากงบการเงิน ดังนี้ แสดงชื่อกิจการ ประเภทนิติบุคคล เลขทะเบียนนิติบุคคล ที่ตั้ง รวมถึงวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งเป็นรายได้หลักของกิจการ แสดงกฏหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำงบการเงิน เช่น มาตรฐานบัญชี เกณฑ์การแสดงรายการในงบการเงิน และการแสดงมูลค่าในงบการเงิน แสดงนโยบายบัญชีที่สำคัญและความหมายของแต่ละรายการบนงบการเงิน ซึ่งอาจมีความหมายแตกต่างจากที่คนทั่วไปเข้าใจ เช่น คำว่า ‘เงินสด’ คนทั่วไปเข้าใจจะเข้าว่าคือเหรียญหรือธนบัตร แต่นิยามทางบัญชีเงินสดหมายถึงเงินฝากประเภทออมทรัพย์และกระแสรายวันด้วย  ถ้าลองกลับไปดูรูปภาพงบฐานะการเงิน จะมีบรรทัดที่เขียนว่า ‘เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด’ จำนวน 1.315 ล้านบาทในปี 2567 และจำนวน 0.12 ล้านบาทในปี 2566 เราจะเห็นแค่ก้อนรวมโดยที่ไม่รู้ว่ามีเงินสดในมือกี่บาท และเงินฝากธนาคารกี่บาท ถ้าอยากรู้รายละเอียดต้องดูหัวข้อ ‘หมายเหตุ’ ซึ่งมีความหมายว่าถ้าอยากดูรายละเอียดให้ไปดูที่หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อที่ 3.1 และ 4 ดังนี้ ดังนั้นถ้าผู้ประกอบอ่านงบการเงินแล้วอยากดูรายละเอียดเพิ่มเติมให้ดูว่ารายการนั้นในช่อง ‘หมายเหตุ’ มีเลขหมายเหตุไหม ถ้ามีให้ไปที่รายละเอียดที่หมายเหตุประกอบงบการเงินตามเลขที่นั้นๆ แต่ถ้าไม่มีแสดงว่านักบัญชีไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดรายการนั้นเพิ่มเติม กรณีต้องการดูข้อมูลนั้นจริงๆ ต้องไปขอข้อมูลเพิ่มเติมจากนักบัญชีเอง และแล้วตอนนี้ ทุกคนได้ผ่านวิธีการอ่านงบการเงินทั้งหมดมาแล้ว ซึ่งจะทำให้ทุกคนเข้าใจความหมายของแต่ละบรรทัดของแต่ละงบการเงินมากขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้การอ่านงบการเงินสนุกขึ้น จึงขอมอบเคล็ดลับการอ่านงบการเงินฉบับผู้ประกอบการมือใหม่เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการอ่านงบให้เจ๋งมากขึ้น ดังนี้ 6 เคล็ดลับการอ่านงบการเงินฉบับผู้ประกอบการมือใหม่ ผู้ประกอบการที่อ่านงบการเงินระยะแรกจะเจอปัญหาว่ารายการเยอะแยะไปหมด ความหมายของรายการนี้คืออะไร ควรเริ่มต้นจากงบอะไรก่อน หรือต้องไปดูส่วนไหนก่อน ปัญหาเหล่านี้จะหายไปเพราะใช้เทคนิคที่เตรียมมาให้ในบทความนี้ สรุปท้ายบทความ งบการเงินไม่ใช่เรื่องที่ยากเลยเมื่อเราทำความเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานและแนวคิดเบื้องต้น มันจะกลายเป็น เครื่องมือที่ทรงพลัง ที่ช่วยให้เราตัดสินใจในธุรกิจได้อย่างแม่นยำและมั่นใจยิ่งขึ้น โดยสามารถยื่นงบการเงินและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing)  งบการเงินไม่ใช่ศัตรูที่น่ากลัวแต่มันคือ “เพื่อนร่วมทาง” ที่พร้อมช่วยเจ้าของกิจการมองเห็นทางเดินที่ถูกต้องในทุกช่วงเวลา ยิ่งเรา อ่านงบเป็น รู้หลักพื้นฐาน และฝึกใช้มันสม่ำเสมอ ก็จะยิ่งมองเห็นภาพรวมธุรกิจได้ชัดขึ้น และสามารถใช้ตัวเลขเหล่านั้นไป ปรับแผน ต่อยอด และบริหารกิจการให้เติบโตอย่างมีทิศทาง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้! ค่าธรรมเนียม Shopee

PEAK Account

16

min

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้! วิธีคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ครบทุกประเภท ฉบับเข้าใจง่าย ใช้งานได้จริง

ร้านค้าส่วนใหญ่ในปัจจุบันนอกจากมีหน้าร้านจริงแล้ว การมีหน้าร้านในแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Shopee ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้ แต่หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการขายสินค้าบนแพลตฟอร์มมีการเก็บค่าธรรมเนียมด้วย! ซึ่ง ค่าธรรมเนียม Shopee จะมีอะไรบ้าง และมีวิธีการคำนวณอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ ค่าธรรมเนียม Shopee คืออะไร? ค่าธรรมเนียมการขาย Shopee คือค่าใช้จ่ายที่แพลตฟอร์ม Shopee เรียกเก็บจากเจ้าของธุรกิจที่ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มเมื่อขายสินค้าชิ้นดังกล่าวได้แล้ว โดยค่าธรรมเนียมของ Shopee มี 3 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีเงื่อนไขในการเก็บที่แตกต่างกันมีการคิดคำนวณค่าธรรมเนียมแบบแยกกัน  ในส่วนถัดไปของบทความเราจะลงรายละเอียดความแตกต่างของค่าธรรมเนียมแต่ละประเภทกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลย 1. ค่าธรรมเนียมการขาย เป็นค่าธรรมเนียมแรกที่ทุกร้านค้าต้องเสียเมื่อขายสินค้าได้แล้ว โดยค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะทำการคำนวณจากราคาของสินค้าที่ขายได้ ซึ่งอัตราที่ใช้คำนวณนั้นจะแตกต่างกันออกไปแต่ละประเภทสินค้า นอกจากนี้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย จะต้องคำนวณจากยอดที่หักส่วนลด หรือโปรโมชัน ที่เราจัดขึ้น เช่น โค้ดส่วนลดต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงนำตัวเลขที่ได้มาคำนวณค่าธรรมเนียมต่อไป ตารางค่าธรรมเนียมการขาย Shopee แยกตามประเภทสินค้า วิธีการคำนวณธรรมเนียมการขายของ Shopee โดยวิธีการคำนวณนั้นทำได้ไม่ยาก เพียงนำตัวเลขในตารางข้างต้น มาคำนวณกับราคาสินค้าที่หักส่วนลดจากร้านค้าแล้ว ตัวอย่างเช่น ขายสินค้าเสื้อผ้าผู้ชาย 1 ตัวราคาเต็มที่ขายคือ 500 บาท โดยลูกค้าใช้โค้ดส่วนลด 50 บาทในการซื้อสินค้า สูตรการคำนวณเราจึงต้องนำราคาเต็มมาหักลบกับส่วนลดก่อนดังนี้ ราคาเต็มที่ตั้งขาย – ส่วนลดจากร้านค้า (โค้ดส่วนลด) = ยอดที่ใช้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย แทนสูตรการคำนวณได้ดังนี้ 500 – 50 = 450 บาท เมื่อได้ตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็สามารถนำตัวเลขนี้ไปคิดกับอัตราค่าธรรมตามในตารางได้เลย โดยสูตรการคำนวณคือ ยอดรวมหลักหักส่วนลด X อัตราค่าธรรมเนียม ในกรณีของสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายที่เราใช้เป็นตัวอย่างอยู่ในหมวดหมู่ของสินค้าแฟชั่นซึ่งมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 9.63% (อัปเดตวันที่ 26 เมษายน 2568)  450 X 9.63% = 43.335 บาท หมายความว่าในการขายเสื้อผ้าผู้ชายราคา 500 บาท โค้ดส่วนลด 50 บาท ผู้ขายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการขาย 43.335 บาทนั่นเอง หากรวมสูตรการคำนวณง่าย ๆ จะออกมาในรูปแบบดังนี้ [ ราคาเต็มสินค้า – โปรโมชั่นจากผู้ขาย เช่น โค้ดส่วนลด] x อัตราค่าธรรมเนียมการขายตามประเภท = ค่าธรรมเนียมการขาย นอกจากนี้ค่าธรรมเนียมการขายของร้านค้าที่เป็น Non Mall Shop กับ Mall Shop ยังมีอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน สามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้ได้เลย สามารถศึกษาตารางอัตราค่าธรรมการสินค้าแต่ละประเภท ของร้านค้าประเภท Mall Shop อย่างละเอียดได้ที่เว็บไซต์ Shopee  ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ประเภทค่าธรรมเนียมการขาย ข้อสำคัญที่เจ้าของร้านห้ามลืมในการคำนวณคือ อย่าลืมนำราคาเต็มไปหักลบกับส่วนลด หรือโปรโมชั่นที่เราเป็นคนออก เช่น โค้ดส่วนลด ก่อนนำไปคำนวณกับอัตราค่าธรรมเนียมไม่เช่นนั้นอาจจะได้ตัวเลขค่าธรรมเนียมที่ไม่ตรง ส่งผลต่อการตั้งราคาและอาจทำให้ได้กำไรไม่ถึงกับที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ 2. ค่าธรรมเนียมธุรกรรม อีกหนึ่งค่าธรรมเนียม Shopee ที่เจ้าของร้านค้าต้องเสียหลังจากขายสินค้าได้คือค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ซึ่งคือค่าธรรมเนียมที่ร้านค้าต้องเสียให้แก่ผู้ให้บริการช่องทางชำระค่าใช้จ่ายสินค้าบนแพลตฟอร์ม Shopee โดยอัตราค่าธรรมเนียมธุรกรรมจะเท่ากันทุกประเภทสินค้า และทุกประเภทของร้านค้า โดยจะมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 3% ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%  โดยการคำนวณส่วนนี้จะคำนวณสรุปยอดรวมของคำสั่งซื้อที่ผู้ซื้อชำระให้กับร้านค้า โดยจะรวมทั้งค่าสินค้าและค่าจัดส่งสินค้า ส่วนในกรณีของส่วนลดต้องนำส่วนลดของ Shopee หรือ Shopee Coin มาหักลบก่อนคำนวณด้วย วิธีการคำนวณธรรมเนียมธุรกรรมของ Shopee ตัวอย่างสูตรการคำนวณแบบแยกการคำนวณ ค่าธรรมเนียมธุรกรรม และ VAT แยกกัน ยอดรวมคำสั่งซื้อ X 3% = ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ต้องเสีย (ก่อนคำนวณ VAT) ยกตัวอย่างจากสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายในราคารวมส่วนลดแล้วอยู่ที่ 450 บาท และมีค่าส่ง 100 บาท  550 X 3% = 16.5 บาท (ก่อนคำนวณ VAT) หากคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จะมีสูตรการสูตรคำนวณดังนี้ ค่าธรรมเนียมธุรกรรม x 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ค่าธรรมเนียมธุรกรรม + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ค่าธรรมเนียมธุรกรรม แทนสูตรการคำนวณได้ดังนี้ 16.5 x 7% = 1.155 บาท 16.5 + 1.155 = 17.655 บาท จากสูตรการคำนวณทั้งหมดหมายความว่ายอดคำสั่งซื้อของเสื้อผ้าผู้ชายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมธุรกรรม 17.655 บาทนั่นเอง  หากต้องการคำนวณให้ง่ายมากยิ่งขึ้นให้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มในการคำนวณขั้นตอนแรกได้เลย โดยให้คิดอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มเป็น 3.21% ต่อยอดรวมคำสั่งซื้อ  ยอดรวมคำสั่งซื้อ X 3.21% = ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ต้องเสีย (รวม VAT) แทนสูตรได้ดังนี้ 550 x 3.21% = 17.655 บาท ตัวเลขที่ได้เท่ากับการคำนวณ VAT แยกแต่รูปแบบนี้จะรวบขั้นตอนเป็นการคำนวณครั้งเดียวเพื่อความสะดวกและรวดเร็วนั่นเอง ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียมธุรกรรมของ Shopee ความต่างในการคำนวณนอกจากอัตราที่เท่ากันทั้งหมดแล้ว ค่าธรรมเนียมธุรกรรม ไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT 7% เข้าไปด้วย ซึ่งตรงกันข้ามกับค่าธรรมเนียมการขายที่มีการรวมเข้าไปด้วยแล้ว ด้วยเหตุนี้ห้ามลืมคำนวณ VAT ในค่าธรรมเนียมธุรกรรม เพื่อการคำนวณต้นทุนการขายได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น 3. ค่าธรรมเนียมบริการ สำหรับค่าธรรมเนียม Shopee ส่วนสุดท้ายจะเป็นค่าธรรมเนียมบริการ ซึ่งการบริการในที่นี้คือ โปรแกรมส่งฟรีส่งฟรี Xtra หรือโปรแกรมส่วนลด Xtra ของ Shopee นั่นเอง ซึ่งโปรแกรม Xtra นี้เจ้าของร้านสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมโปรแกรมหรือไม่ก็ได้ โดยผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมนอกเหนือจากการขายและธุรกรรม ในส่วนของค่าธรรมเนียมบริการจะมีอัตราค่าธรรมเนียมแบ่งตามประเภทของสินค้าเช่นเดียวกับค่าธรรมเนียมการขาย ซึ่งคำนวณเป็นสินค้าต่อชิ้น และจะหักค่าธรรมเนียมจากจำนวนยอดเงินรวมที่ต้องได้รับ และค่าธรรมเนียมบริการจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว ตารางค่าธรรมเนียมแบ่งแยกตามหมวดหมู่สินค้า และประเภทโปรแกรม วิธีการคำนวณธรรมเนียมบริการของ Shopee โดยการคำนวณจะคิดจากราคาสินค้าที่ชำระ ยกตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าผู้ชาย 500 บาท โค้ดส่วนลด 50 บาท และเข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรี Xtra ราคาสินค้า x อัตราค่าธรรมเนียมโปรแกรมส่งฟรี Xtra (5.35%) = ค่าธรรมเนียมบริการ แทนสูตรการคำนวณดังนี้ 450 x 5.35% = 24.075 บาท หมายความว่าเจ้าของร้านที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรี Xtra เมื่อขายสินค้ายอดรวม 450 บาทได้จะเสียค่าธรรมเนียมบริการ 24 บาทนั่นเอง ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียมบริการของ Shopee ข้อสำคัญที่ห้ามลืมคือจำนวนยอดรวมที่ใช้คำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ที่บางท่านอาจลืมไปว่าต้องนำส่วนลดต่าง ๆ มาคำนวณเพิ่มเติมด้วย รวมไปถึงการคำนวณค่าธรรมเนียมบริการ คำนวณแยกรายการ เช่น ถ้าในคำสั่งซื้อมีเสื้อผ้าผู้ชาย 1 ตัว กางเกง 1 ตัว ต้องคิดค่าธรรมเนียมบริการแยกกันตามราคาของสินค้าแต่ละชิ้นนั่นเอง สรุปตัวอย่างการคำนวณ ค่าธรรมเนียม Shopee ทั้ง 3 ประเภท ส่วนถัดมา เราขอยกตัวอย่างการคำนวณในกรณีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมครบทั้ง 3 ประเภท ซึ่งผู้ที่จะเสียค่าธรรมเนียมครบ คือร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรม Xtra ของ Shopee  โดยตัวอย่างเราขอใช้เป็นสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายตัวเดิม โดยร้านค้าเป็น Non Mall Shop ให้ใช้ตารางค่าธรรมเนียมของ Non Mall Shop ในการคำนวณอัตราค่าธรรมเนียม ตัวอย่างรายละเอียดคำสั่งซื้อสินค้า: เสื้อผ้าผู้ชาย ตัวอย่างสูตรการคำนวณค่าธรรมเนียมทั้ง 3 ประเภท อันดับแรกให้คำนวณราคาสินค้าที่หักโค้ดส่วนลดของร้านค้าก่อน ราคาสินค้าเต็ม 500 บาท – ส่วนลดร้านค้า 50 บาท = 450 บาท  หลังจากนั้นนำมาคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย 450 x 9.63% = 43.33 บาท คำนวณค่าธรรมเนียมบริการ 450 x 5.35% = 24.07 บาท คำนวณค่าธรรมเนียมธุรกรรม โดยคิดจากยอดเต็มที่ลูกค้าต้องจ่าย จึงต้องนำส่วนต่างค่าจัดส่งที่ผู้ซื้อชำระมารวมกับราคาสินค้า [450 + 62] x 3.12% = 15.97 บาท หลังจากนั้นนำค่าธรรมเนียมทั้งหมดรวมกัน แล้วลบราคาสินค้าเต็ม ก็จะได้ จำนวนเงินที่เจ้าของร้านจะได้รับจากการขายเสื้อผ้าผู้ชายตัวละ 500 บาทบนแพลตฟอร์ม Shopee 500 – [43.33+24.07+15.97] = 416.63 บาท เท่ากับว่าเจ้าของร้านจะได้รับเงินจริง ๆ 416.63 บาท หรือเสียค่าธรรมเนียมรวมทั้ง 3 ประเภทประมาณ 83.37 บาท นั่นเอง แชร์สูตรคำนวณครบ 3 ค่าธรรมเนียม Shopee ในภาพเดียว! คำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ให้ถูกต้อง ช่วยให้การตั้งราคาง่ายยิ่งขึ้น ความสำคัญของการคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ช่วยให้ธุรกิจที่มีร้านค้าบน Shopee สามารถตั้งราคาสินค้าได้ถูกต้อง และง่ายมากยิ่งขึ้น เพราะค่าธรรมเนียมเหล่านี้ล้วนนับเป็นต้นทุนได้ทั้งสิ้น หากไม่มีการคำนวณล่วงหน้า อาจทำให้เสียค่าธรรมเนียมจนกำไรหายไปได้ แต่นอกจากค่าธรรมเนียมหลักทั้ง 3 ประเภทยังมีค่าธรรมเนียมอื่น เช่น Airplay, บัตรเครดิต เดบิต และ SPaylater อีกด้วย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการชำระเงินของลูกค้า ซึ่งค่าธรรมเนียม Shopee ก็นับเป็นค่าใช้จ่ายยิบย่อยพอสมควร หากมีจำนวนการทำธุรกรรมเยอะอาจทำให้การทำบัญชียุ่งยากหรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้การมีโปรแกรมบัญชีครบวงจรอย่าง PEAK ก็ช่วยให้ผู้ประกอบการบันทึกบัญชีได้ง่ายยิ่งขึ้น มาพร้อมคู่มือการใช้งานที่เข้าใจง่าย และนอกจากนี้ PEAK ยังสามารถเชื่อมต่อกับ Shopee ได้โดยตรงอีกด้วย เพราะฉะนั้นรู้วิธีคำนวณอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องมีโปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้เรื่องการทำบัญชีง่ายยิ่งขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก