ธุรกิจ

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

20 พ.ย. 2024

จักรพงษ์

7 min

ธุรกิจควรมีเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน ถึงจะเรียกว่าปลอดภัย

เคยสงสัยกันไหมว่า ธุรกิจควรมีเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยกี่บาท จึงจะปลอดภัย? คำว่า ‘ปลอดภัย’ ในที่นี้ หมายถึง มีเงินเพียงต่อการซื้อของมาสต๊อกเพื่อขาย เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายดำเนินงาน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า รวมถึง เงินเดือนพนักงานที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน ถ้าเรามีเงินเยอะมากๆ เราจะไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องว่าธุรกิจจะขาดสภาพคล่องไหม จะมีเงินจ่ายเจ้าหนี้ไหม แต่ในความเป็นจริงธุรกิจส่วนใหญ่หาเงินมาหมุนในธุรกิจได้ยากและไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราควรรู้ว่าควรมีเงินหมุนเวียนอยู่ในธุรกิจขั้นต่ำกี่เดือนจึงจะปลอดภัย ธุรกิจควรถือเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน นักธุรกิจหลายๆคน เชื่อกันว่าธุรกิจควรมีเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือน การมีเงินสำรองอย่างน้อย 3-6 เดือนจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อได้ในกรณีที่มีปัญหาขาดรายได้ รายได้เข้ามาน้อยลงหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอื่น ๆ หลายคนอาจสงสัยต่อว่า ควรสำรองเงินไว้ 3 เดือน 4 เดือน 5 เดือน หรือ 6 เดือนกันแน่ ทำไมไม่บอกให้ชัดๆ ไปเลย นั่นก็เพราะแต่ละธุรกิจมีเป้าหมายและความเสี่ยงไม่เหมือนกัน เงินสดสำรองที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย การคำนวณเงินสดสำรองขั้นต่ำ ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่าธุรกิจควรมีเงินสดสำรองขั้นต่ำอย่างน้อย 3-6 เดือน แต่คำถามถัดไปคือ แล้วต้องคำนวณอย่างไร? คิดเป็นมูลค่าตัวเงินคือกี่บาท? มาหาคำตอบกันต่อได้เลย เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ขอกำหนดว่าธุรกิจที่จะนำมาเป็นตัวอย่างนี้มีความเสี่ยงต่ำจึงสำรองเงินขั้นต่ำที่ 3 เดือน หรือ 90 วันเท่านั้น วิธีคิดก็คือ ต้องหาว่าในแต่ละวันเรามีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยวันละกี่บาท โดยใช้สูตร (ค่าใช้จ่ายทั้งเดือน/30วัน)จากนั้น จากนั้นให้นำค่าใช้จ่ายต่อวันคูณด้วย 90 วัน (3เดือน) ก็จะได้จำนวนที่ควรสำรองขั้นต่ำ 3 เดือนทันที จำนวนที่ควรสำรอง 3 เดือน = (ค่าใช้จ่ายต่อเดือน) x 3 เดือ ตัวอย่างการคำนวณเงินสดสำรองขั้นต่ำ บริษัท A มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ 30,000 บาท ต้องการมีสำรองเงินสดอย่างน้อย 3 เดือน บริษัท A ควรมีเงินสดสำรองกี่บาท(1) เริ่มจากหาค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวัน ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวัน = 30,000 /30 วัน จะได้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันที่ 1,000 บาท (2) คำนวณเงินสดสำรอง 3 เดือน หรือ 90 วัน จำนวนที่ควรสำรอง 3 เดือน = 1,000 x 90 วัน                                      = 90,000 บาทดังนั้นจึงสรุปได้ว่าบริษัท A ควรมีเงินสดสำรองใน 3 เดือน 90,000 บาท ธุรกิจควรสำรองเงินขั้นต่ำอย่างน้อย 3-6 เดือน ซึ่งคำนวณง่ายๆ โดยนำค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่จ่ายต่อวันคูณด้วย 90 วัน (3 เดือน) ซึ่งถ้าใครอยากปลอดภัยมากกว่าก็เปลี่ยนจำนวนวันที่สำรองจาก 90 วัน ไปเป็น 180 วันหรือมากกว่านั้นก็ได้ อย่างไรก็ตามการสำรองเงินที่เหมาะสมควรพิจารณาตามลักษณะและความเสี่ยงของแต่ละธุรกิจและควรวางแผนการบริหารจัดการเงินทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมายของธุรกิจนั้นๆ ดังนั้นการมีเครื่องมือจัดการข้อมูลบัญชีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจรับรู้ค่าใช้จ่ายได้อย่างครบถ้วน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จะช่วยให้การจัดการบัญชีของคุณง่ายขึ้น ด้วยระบบบัญชีที่ครบครันและตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจ ตั้งแต่การบันทึกบัญชี การออกเอกสาร ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนการเติบโตและเพิ่มโอกาสสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

19 พ.ย. 2024

PEAK Account

9 min

ขายออนไลน์แบบไหนต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง

การขายออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุคดิจิทัล ธุรกิจหลายประเภทสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่างไรก็ตามหากการดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับ “การตลาดแบบตรง” (Direct Marketing) กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ประกอบการบางรายต้องดำเนินการจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อป้องกันความเสียหายต่อผู้บริโภคและส่งเสริมความโปร่งใสในธุรกิจ การตลาดแบบตรงคืออะไร “ตลาดแบบตรง” หมายความว่า การทําตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูล เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละราย ตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้นที่มา: พูดง่ายๆก็คือ การเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์, อีเมล, ข้อความ SMS, หรือการโฆษณาทางสื่อออนไลน์ที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคตอบสนองทันที โดยไม่ผ่านหน้าร้านค้าหรือช่องทางตัวแทนจำหน่าย ขายออนไลน์แบบไหนต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง วิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนการตลาดแบบตรงกับ สคบ. ธุรกิจที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่ สคบ. กำหนดนั้น ต้องทำการยื่นคำขอจดทะเบียนการตลาดแบบตรง โดยมีข้อกำหนดดังนี้ อย่างไรก็ตาม บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จะทำการตลาดแบบตรง จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มิฉะนั้น จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ที่มา : ? ธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นการขึ้นทะเบียนการตลาดแบบตรง การจดทะเบียนการตลาดแบบตรงกับ สคบ. ไม่เพียงแต่เป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย แต่ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจในสายตาผู้บริโภคอีกด้วย  การขายออนไลน์ในรูปแบบการตลาดแบบตรงมีโอกาสสูงในการสร้างรายได้ แต่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงหากร้านค้าออนไลน์ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน การทำบัญชีที่ถูกต้องและเป็นระบบคือกุญแจสำคัญในการบริหารร้านค้าออนไลน์ การเลือกใช้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถจัดการบัญชีได้ง่ายดายเพียงแค่การเชื่อมต่อ API ให้บันทึกข้อมูลบัญชี สร้างเอกสารอัตโนมัติ ครบถ้วนทุกรายการขาย เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดขั้นตอนและลดต้นทุนในการทำงาน  เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่นและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

7 พ.ย. 2024

PEAK Account

7 min

EBITDA คืออะไร? ทำไมนักลงทุนถึงให้ความสำคัญ

EBITDA คือเครื่องมือสำคัญสำหรับนักลงทุนในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ เพื่อการตัดสินใจลงทุนที่รอบคอบ นักลงทุนควรเข้าใจทั้งข้อดีและข้อจำกัดของ EBITDA เพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม EBITDA คืออะไร? EBITDA ย่อมาจาก Earnings Before Interest Taxes Depreciation Amortization หมายถึง กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ซึ่งเป็นกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท EBITDA เป็นตัววัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท โดย วิธีคำนวณ EBITDA จากงบกำไรขาดทุน เมื่อเราพิจารณาผลประกอบการของบริษัท กำไรสุทธิ (Net Profit) อาจเป็นตัวเลขแรกที่เราให้ความสนใจ แต่ตัวเลขนี้ไม่ได้บอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดของธุรกิจเสมอไป เนื่องจากกำไรสุทธิไรสุทธินั้นรวมปัจจัยอื่นๆ เช่น ดอกเบี้ย ภาษี และค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานหลักของธุรกิจ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้นเราควรดู EBITDA ด้วย เนื่องจาก EBITDA คือเครื่องมือวิเคราะห์ที่จะช่วยให้คุณเห็นภาพความสามารถในการทำกำไรอย่างแท้จริง  สูตรการคำนวณ (1) รายได้จากการขาย – ต้นทุนขาย = กำไรขั้นต้น(2) กำไรขั้นต้น – ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร = กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT)(3) กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT) + ค่าเสื่อมราคา (D)+ ค่าตัดจำหน่าย (A) = EBITDA กำไรขั้นต้น (Gross Profit) เปรียบเสมือนการตรวจสอบว่าธุรกิจสามารถขายสินค้าได้กำไรมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม ต้นทุนของธุรกิจ ยังมีส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เพื่อแสดงกำไรที่แท้จริง จึงต้องมีการคำนวณกำไรโดยหักต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารออกแล้ว เรียกว่า “กำไรจากการดำเนินงาน” หรือ EBIT EBIT เป็นกำไรที่หักค่าเสื่อมราคา (Depreciation) และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (Amortization) ซึ่งไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่ทั้งหมดเสียเงินจริงๆ โดยค่าเสื่อมราคา (Depreciation) และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (Amortization) ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเป็นเพียงภาระทางบัญชี ซึ่งในความเป็นจริงค่าใช้จ่ายดังกล่าวบริษัทได้จ่ายเงินซื้อไปตั้งแต่ต้นแล้ว ดังนั้น EBIT + ค่าเสื่อมราคา (D) +ค่าตัดจำหน่าย (A) = EBITDA นั่นเอง การบวกกลับ ค่าเสื่อมราคา (D)+ ค่าตัดจำหน่าย (A) เข้าไป จะทำให้เห็นกำไรจากการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัท โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อกระแสเงินสดจริง และหากนำกำไรจากการดำเนินงาน หักลบด้วย ค่าเสื่อมราคา (D) และ ค่าตัดจำหน่าย (A) จะได้ กำไรสุทธิ (Net Profit) EBITDA เป็นกำไรจากการดำเนินงานจริงๆ เนื่องจากทั้ง I, T, D และ A นั้น ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปกติ เมื่อตัดทั้ง 4 ตัวดังกล่าวออกไป จะทำให้เห็น “ภาพที่แท้จริง” ของการประกอบธุรกิจของบริษัท แต่อย่างไรก็ตาม EBIDA เป็นกำไรแบบหนึ่งในงบกำไรขาดทุน ควรดูกำไรระดับอื่นๆ ประกอบด้วย ทำไม EBITDA จึงสำคัญสำหรับนักลงทุน? แสดงความสามารถในการทำกำไรที่แท้จริง ใช้ในการประเมินมูลค่ากิจการ EBITDA เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ ช่วยให้นักลงทุนและเจ้าของกิจการเห็นภาพรวมการดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้น แต่ธุรกิจควรใช้ EBITDA ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ เพื่อการตัดสินใจที่รอบคอบ การเข้าใจทั้งข้อดีและข้อจำกัดของ EBITDA จะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม การที่เราจะนำตัวเลขดังกล่าวมาคำนวณได้อย่างถูกต้องนั้น ธุรกิจควรมีระบบจัดการบัญชีที่ดี เพื่อให้มั่นใจในข้อมูลทางการเงินของคุณ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สามารถช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ บันทึกข้อมูลทางการเงินได้อย่างครบถ้วน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

18 ต.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME EP.2

ในการบริหารธุรกิจ SME อย่างมีประสิทธิภาพ การวัดผลความสำเร็จด้วยตัวชี้วัด (KPI) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถติดตามผลการดำเนินงานและพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จากบทความ 12 ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME (EP.1) ที่ช่วยให้เห็นภาพชัดเจนถึงสถานะและการเติบโตของธุรกิจขึ้น ใน EP.2 นี้ จะมานำเสนอตัวชี้วัดเพิ่มเติมอีก 7 ตัว ที่มีความสำคัญในการประเมินทั้งด้านการเงิน ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อให้คุณสามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่สำคัญ ดังนี้ 1. Churn Rate (อัตราการยกเลิกการใช้บริการ) อัตราการยกเลิกการใช้บริการ คือ เปอร์เซ็นต์ลูกค้าที่ยกเลิกการใช้บริการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยตัวชี้วัดนี้ช่วยวัดความพึงพอใจของลูกค้าและความสามารถในการรักษาลูกค้า อัตราการยกเลิกการใช้บริการที่มีค่าน้อยหมายถึงว่าอัตราการยกเลิกการใช้บริการต่ำ แสดงว่าลูกค้าพึงพอใจและมีแนวโน้มที่จะใช้บริการของธุรกิจต่อ Churn Rate = ((จำนวนลูกค้าที่สูญเสีย + จำนวนลูกค้าที่กลับมา) ÷ จำนวนลูกค้าทั้งหมด) -1 หน่วย : % 2. Cash Burn (การใช้เงินทุน) การใช้เงินทุน หมายถึงจำนวนเงินสดที่ธุรกิจใช้จ่ายในช่วงเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปจะใช้คำนี้เมื่อพูดถึงธุรกิจที่กำลังเติบโตหรือสตาร์ทอัพที่ยังไม่มีกำไรและจำเป็นต้องใช้เงินทุนที่ได้รับมาเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน คำว่า “Burn” หรือ “เผาผลาญ” สื่อถึงการใช้เงินทุนเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะถึงจุดที่สามารถทำกำไรได้ การใช้เงินทุนค่าน้อย แสดงว่า ธุรกิจใช้เงินน้อยหรือสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี การคำนวณ Cash Burn มักจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก Gross Burn = เงินสดคงเหลือในช่วงต้นเดือน − เงินสดคงเหลือในช่วงสิ้นเดือน ÷ จำนวนเดือน Net Burn = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อเดือน − รายรับทั้งหมดต่อเดือน หน่วย : บาท 3. Cash Out Date (วันหมดเงินสด) วันหมดเงินสด หมายถึง วันที่บริษัทคาดว่าจะใช้เงินสดทั้งหมดที่มีอยู่จนหมด โดยใช้การวิเคราะห์จากการใช้เงินทุนปัจจุบัน เป็นตัวชี้วัดสำคัญในการจัดการกระแสเงินสดและการ วันหมดเงินสด ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อได้โดยไม่ต้องการเงินทุนเพิ่มเติมในทันทีพยากรณ์ทางการเงินสำหรับธุรกิจเริ่มต้น จำนวนวันที่เหลือก่อนหมดเงินสด = เงินสดคงเหลือ ÷ ค่าใช้จ่ายสุทธิต่อเดือน หน่วย : บาท 4. Runway (ระยะเวลาที่สามารถดำเนินธุรกิจได้) Runway หมายถึง ระยะเวลาที่ธุรกิจสามารถดำเนินการได้จนกว่าเงินสดจะหมด ซึ่งคำนวณจากจำนวนเงินสดคงเหลือที่ธุรกิจมีและอัตราการใช้เงินสดต่อเดือน (Burn Rate) เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการจัดการกระแสเงินสดของธุรกิจ โดยเฉพาะสำหรับสตาร์ทอัพหรือธุรกิจที่ยังไม่มีกำไร Runway ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ธุรกิจสามารถดำเนินการได้เป็นระยะเวลานานจนกว่าเงินสดจะหมด Runway = เงินสดคงเหลือ ÷ อัตราการใช้เงินสดต่อเดือน หน่วย : เดือน 5. Operating Expenses (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน) Operating Expenses (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของธุรกิจ เช่น ค่าเช่าสำนักงาน เงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ ค่าไฟ) โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการโดยตรง แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทั้งหมดของธุรกิจ 6. Budget Attainment (การบรรลุเป้าหมายงบประมาณ) การบรรลุเป้าหมายงบประมาณหมายถึงเปอร์เซ็นต์ที่บริษัทสามารถทำรายได้ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายในงบประมาณที่วางไว้ การบรรลุเป้าหมายงบประมาณ ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า สามารถสร้างรายได้ตามหรือเกินกว่างบประมาณที่กำหนดไว้ การบรรลุเป้าหมายงบประมาณ = รายได้จริง ×100 รายได้ที่ตั้งไว้ หน่วย : % 7. Sales Attainment (การบรรลุเป้าหมายการขาย) การบรรลุเป้าหมายการขาย คือเปอร์เซ็นต์ที่ทีมขายสามารถทำรายได้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงเวลาหนึ่ง การบรรลุเป้าหมายการขายยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ทีมขายสามารถทำยอดขายได้ตามหรือเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ การบรรลุเป้าหมายการขาย = ยอดขายจริง÷ เป้าหมายยอดขาย​ ×100 หน่วย : % แหล่งที่มา : อย่างไรก็ตามการจะนำข้อมูลต่างๆ ในธุรกิจมาวิเคราะห์หรือหาค่าจากตัวชี้วัดได้นั้น ควรต้องมีระบบข้อมูลที่แข็งแรง อย่าง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยให้ผู้ประกอบการ SME จัดการงานบัญชีที่ซับซ้อนให้เป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การติดตามรายงานทางการเงิน เช่น ต้นทุนขายและกำไร-ขาดทุน เป็นเรื่องง่ายและชัดเจน การใช้งาน PEAK ยังช่วยให้คุณเห็นรายงานสำคัญ เช่น งบกำไรขาดทุนและงบฐานะการเงินแบบ Real-Time ซึ่งสอดคล้องกับตัวชี้วัดสำคัญที่กล่าวถึงในบทความด้านบน ไม่ว่าจะเป็น การบริหารจัดการต้นทุน และ การวัดกำไรขาดทุน ที่มีบทบาทสำคัญในการประเมินความสำเร็จของธุรกิจ SME ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

11 ต.ค. 2024

PEAK Account

12 min

9 เคล็ดลับการเทรนพนักงานในองค์กรให้เป็นพนักงานมืออาชีพ

การฝึกพนักงานให้กลายเป็นมืออาชีพเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถเสริมสร้างความสำเร็จและความยั่งยืนให้กับธุรกิจ การฝึกฝนไม่ได้เน้นเพียงแค่ทักษะในการทำงาน แต่ยังครอบคลุมถึงการพัฒนาทัศนคติและคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ส่งเสริมประสิทธิภาพและความเป็นผู้นำในระยะยาว ต่อไปนี้คือ 9 เคล็ดลับสำคัญที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ในการเทรนพนักงาน 1. ฝึกนิสัยทำงานให้สำเร็จ ก่อนจะเริ่มต้นฝึกฝนพนักงาน เราต้องเข้าใจก่อนว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้พนักงานทำงานไม่เสร็จตามเป้าหมาย อาจเป็นเพราะขาดทักษะในการจัดการเวลา, ขาดแรงจูงใจ, หรือมีอุปสรรคในการทำงานที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เมื่อทราบสาเหตุแล้วจึงจะสามารถวางแผนการฝึกอบรมที่ตรงจุดได้ การฝึกให้พนักงานมีนิสัยในการทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่กำหนดเป็นสิ่งสำคัญมาก การสอนให้พนักงานรู้จักตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและมีความรับผิดชอบต่อผลงานของตนเองช่วยเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเวลาและงานอย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมให้พนักงานทำงานด้วยความมุ่งมั่นจนงานสำเร็จจะช่วยสร้างแรงผลักดันให้พนักงานมีความภาคภูมิใจในผลงานที่ทำได้ และทำให้องค์กรได้งานที่มีคุณภาพ เนื่องจากมีการวางแผนและติดตามอย่างเป็นระบบ 2. พัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง การตระหนักรู้ในตนเองหรือ Self-awareness เป็นทักษะที่ช่วยให้พนักงานเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน และรู้ว่าตนเองต้องพัฒนาหรือปรับปรุงอะไร การมีความตระหนักรู้ในตนเองสูงทำให้พนักงานสามารถปรับตัวได้ดีต่อสถานการณ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งรับฟังคำแนะนำหรือคำวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ การสอนพนักงานให้ตระหนักรู้ในตนเองจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การให้ Feedback อย่างตรงไปตรงมา ช่วยให้พนักงานทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และสิ่งที่ควรปรับปรุงของตนเอง ส่งผลให้พนักงานสามารถพัฒนาและปรับปรุงข้อบกพร่องได้อย่างตรงจุด ทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. สร้างความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การมีความเห็นอกเห็นใจหรือ Empathy เป็นทักษะที่ช่วยให้พนักงานเข้าใจและเห็นคุณค่าของเพื่อนร่วมงานและลูกค้า การส่งเสริมให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นและแสดงความเข้าใจต่อความรู้สึกหรือปัญหาของคนรอบข้างจะทำให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การทำงานร่วมกันในทีมที่มีความเข้าใจกันเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการทำงาน เจ้าของธุรกิจที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน การฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างตั้งใจ เพื่อให้พนักงานเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น จะทำให้เกิดความร่วมมือในองค์กรและสภาพแวดล้อมการทำงานมีความเป็นมิตรมากขึ้น 4. พัฒนาทักษะการสื่อสาร การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในทุกองค์กร พนักงานควรได้รับการฝึกฝนในการสื่อสารให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย ทั้งการพูด การเขียน และการฟัง เช่น การใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การใช้คำถามเพื่อสร้างความเข้าใจ เป็นต้น ซึ่งช่วยลดความเข้าใจผิดและส่งเสริมการทำงานเป็นทีมที่ดี  จัดกิจกรรมนำเสนองานต่างๆ เพื่อให้พนักงานได้ฝึกพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จะทำให้เกิดดการสื่อสารในองค์กรที่ดีขึ้น และการสื่อสารที่ดียังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ส่งผลให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ 5. สอนวิธีการนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น การนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนควรทำให้เข้าใจง่าย โดยการสอนเทคนิคต่างๆ เช่น การใช้กราฟ การสรุปเนื้อหาให้กระชับ และการใช้ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น สามารถเริ่มจากการสอนให้เข้าใจระดับความรู้ของผู้ฟัง เพื่อเลือกใช้ภาษาและเนื้อหาที่เหมาะสมในการนำเสนอ โดยเฉพาะเมื่อพูดคุยกับฝ่ายงานอื่น การพัฒนาทักษะนี้ช่วยให้พนักงานสามารถถ่ายทอดความรู้และข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพพนักงานเข้าใจตรงกันและนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ทำให้ลดความผิดพลาดในการทำงาน ส่งผลให้การทำงานราบรื่นขึ้น 6. ฝึกการจัดการอารมณ์ การจัดการอารมณ์เป็นทักษะที่สำคัญในที่ทำงาน พนักงานควรได้รับการสอนให้รู้จักการระบุและจัดการกับอารมณ์ของตนเอง เช่น การหาวิธีผ่อนคลาย การตั้งเป้าหมายเพื่อจัดการกับความเครียด ซึ่งเมื่อพนักงานจัดการกับความเครียดและความกดดันได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี ทั้งยังช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิและลดความขัดแย้งในทีม 7. ฝึกให้กล้าแสดงความคิดเห็น การส่งเสริมให้พนักงานกล้าแสดงความคิดเห็นช่วยสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างและส่งเสริมการเรียนรู้ การเปิดช่องทางให้แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ เช่น มีกล่องสำหรับรับข้อเสนอแนะให้พนักงานเขียนความคิดเห็น แล้วนำความคิดเห็นที่ดีไปปรับใช้ เพื่อให้พนักงานเข้าใจว่าความคิดเห็นของพวกเขามีค่าต่อองค์กร  เพราะความคิดเห็นจากคนทำงานจะช่วยให้องค์กรปรับปรุงกระบวนการทำงานได้ตรงจุด หรืออาจได้ไอเดียใหม่ๆจากพนักงาน ที่นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ 8. พัฒนาทักษะบริหารเวลา ทักษะการบริหารเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พนักงานควรได้รับการสอนวิธีการวางแผนและจัดการเวลาให้มีประสิทธิภาพ การสอนให้จัดลำดับความสำคัญของงานและวางกำหนดการที่ชัดเจนการตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว การใช้เครื่องมือช่วยในการบริหารเวลา อย่างเช่นปฏิทินหรือแอปพลิเคชันที่ช่วยติดตามงาน จะทำให้พนักงานรู้ว่างานไหนควรทำก่อน ทำให้สามารถส่งมอบงานได้ตรงเวลา 9. ฝึกให้ยอมรับความผิดพลาดได้ การยอมรับความผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ พนักงานควรได้รับการฝึกฝนให้เห็นคุณค่าของการเรียนรู้จากความผิดพลาด และเข้าใจว่ามันเป็นโอกาสในการพัฒนาตนเอง แทนที่จะมองว่าความผิดพลาดเป็นความล้มเหลว การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดใจรับฟังและให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากความผิดพลาดจะทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยที่จะยอมรับความผิดพลาด ช่วยให้พนักงานมีความมั่นใจมากขึ้นในการทำงาน พร้อมหาทางแก้ไขปัญหาและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก แหล่งที่มา : การพัฒนาเหล่านี้จะช่วยสร้างพนักงานที่มีคุณภาพ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรในระยะยาวได้ นอกจากนี้ การใช้โปรแกรมบัญชี PEAK ในการจัดการข้อมูลทางการเงินและบัญชี ก็สามารถช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยระบบที่ใช้งานง่ายและครอบคลุมทุกขั้นตอนทางการเงินและบัญชี ช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงาน เพิ่มความแม่นยำในการ และทำให้สามารถมุ่งเน้นไปที่การวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังรองรับการทำงานแบบออนไลน์ ทำให้การทำงานร่วมกันภายในทีมเป็นไปอย่างราบรื่น  ทั้งนี้ การใช้งานโปรแกรมบัญชีที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงาน แต่ยังเป็นการส่งเสริมให้พนักงานสามารถใช้ทักษะและความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

9 ต.ค. 2024

PEAK Account

10 min

12 ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME (EP.1)

สำหรับธุรกิจ SME การวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจถือเป็นเรื่องสำคัญในการประเมินความสำเร็จและวางแผนการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วธุรกิจที่กำลังเติบโตมักจะมี Key Metrics หรือตัววัดต่างๆ ในการประเมินสถานการณ์ของธุรกิจ การใช้ตัววัดทางธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพได้แม่นยำ แต่ยังช่วยในการตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้อง ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ 12 KPI วัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME (EP.1) ดังนี้ 1. Gross Margin (อัตรากำไรขั้นต้น) อัตรากำไรขั้นต้น คือ อัตราส่วนเปรียบเทียบผลกำไรขั้นต้นกับยอดขาย บอกถึงความสามารถในการควบคุมต้นทุนสินค้า และการตั้งราคาขายสินค้า หากอัตรากำไรขั้นต้นยิ่งมากแสดงว่าเราขายสินค้าได้ราคาดี ในขณะที่ต้นทุนถูก สูตรคำนวณ อัตรากำไรขั้นต้น = (กำไรขั้นต้น ÷ ยอดขายหรือรายได้หลัก) x 100หน่วย : % 2. Gross Profit (กำไรขั้นต้น) กำไรขั้นต้น คือ กำไรที่เกิดจากรายได้ทั้งหมด หักด้วย ต้นทุนขาย คำนวณจากยอดขายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือบริการ กำไรขั้นต้น เป็นตัวช่วยบอกเราได้ว่า สินค้าและบริการของบริษัท สามารถตั้งราคาขายได้สูงกว่าต้นทุนมากน้อยเพียงใด กำไรขั้นต้นยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ธุรกิจสามารถทำกำไรได้มากจากยอดขายสุทธิ สูตรคำนวณ กำไรขั้นต้น = รายได้ – ต้นทุนขายหน่วย : บาท 3. Net Income (กำไรสุทธิ) กำไรสุทธิ คือ รายได้สุทธิหรือผลกำไรที่บริษัทได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงภาษีและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับความสามารถในการทำกำไรของบริษัท สูตรคำนวณ กำไรสุทธิ = รายได้รวม – ค่าใช้จ่ายรวมหน่วย : บาท 4. Customer Acquisition Cost (ต้นทุนในการหาลูกค้า) Customer Acquisition Cost (CAC) คือ ต้นทุนในการหาลูกค้า ซึ่งคำนวณมาจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดและการขายที่บริษัทใช้ในการหาลูกค้าในช่วงเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในการหาลูกค้าควรสัมพันธ์กับจำนวนลูกค้าที่ได้มา ต้นทุนในการหาลูกค้า = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดทางการตลาดและการขายหน่วย : บาท สูตรคำนวณ ต้นทุนในการหาลูกค้าต่อ 1 ราย = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดทางการตลาดและการขาย ÷ จำนวนลูกค้าใหม่ หน่วย : บาท/ราย 5. CAC Payback (ระยะเวลาคืนทุนจากการหาลูกค้า) CAC Payback เป็นระยะเวลาที่ใช้ในการคืนทุนจากการลงทุนในการหาลูกค้า โดยการคำนวณจากระยะเวลาที่ต้องใช้เพื่อให้ได้กำไรที่เท่ากับต้นทุนในการหาลูกค้า CAC Payback ยิ่งน้อยยิ่งดี แสดงว่าใช้ระยะเวลาคืนทุนน้อย สูตรคำนวณ ระยะเวลาคืนทุนจากการหาลูกค้า = (CAC ต่อ 1 ราย ÷ รายได้ที่ได้รับจากลูกค้าต่อ 1 รายต่อเดือน) x อัตรากำไรขั้นต้นหน่วย : เดือน 6. EBITDA Margin (อัตรากำไร EBITDA) อัตรากำไร EBITDA คือกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย คำนวณนำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทบวกกับ ค่าเสื่อมราคา และบวกกับ ค่าตัดจำหน่าย สูตรคำนวณ อัตรากำไร EBITDA = EBITDA ÷ รายได้ทั้งหมดหน่วย : % 7. EBITDA EBITDA คือ ตัววัดความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งเป็นกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ทำให้เห็นถึงผลการดำเนินงานโดยตรง ค่า EBITDA ยิ่งมาก แสดงว่าทำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทได้มาก สูตรคำนวณ EBITDA = กำไรก่อนหักดอกเบี้ย, ภาษี, ค่าเสื่อมราคา, และค่าตัดจำหน่ายหน่วย :บาท 8. Monthly Recurring Revenue (รายได้ที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเดือน) รายได้ที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเดือน เป็นจำนวนเงินที่บริษัทคาดว่าจะได้รับเป็นรายเดือนจากลูกค้าที่ใช้บริการแบบสมัครสมาชิกหรือบริการที่มีระยะเวลาสัญญา 9. Annual Recurring Revenue (รายได้ที่เกิดขึ้นซ้ำต่อปี) Annual Recurring Revenue คือ รายได้ที่เกิดขึ้นซ้ำต่อปี เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นซ้ำต่อปี เพื่อประเมินอัตราการเติบโต และผลกระทบจากกรณีลูกค้ายกเลิกการเป็นสมาชิก 10. Revenue Run Rate (อัตรารายได้) อัตรารายได้ คือการคาดการณ์รายได้ของธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต โดยอิงจากข้อมูลในปัจจุบัน ซึ่งใช้เพื่อคาดการณ์รายได้ประจำปี สูตรคำนวณ อัตรารายได้ = รายได้ในช่วงเวลาสั้น (เช่น หนึ่งเดือน) ×จำนวนช่วงเวลาในปีหน่วย : บาท 11. Expansion Revenue (รายได้จากการขยายตัว) รายได้จากการขยายตัว คือรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าและบริการเพิ่มเติมให้กับลูกค้าเดิม เช่น รายได้จากการอัปเกรดบริการ สูตรคำนวณ รายได้จากการขยายตัว = รายได้จากการเกิดจากการขายเพิ่มเติม−รายได้เดิมของลูกค้าเดิมหน่วย : บาท 12. Average Revenue per User (รายได้เฉลี่ยต่อลูกค้า 1 คน) Average Revenue Per User หรือ ARPU คือ รายได้เฉลี่ยของผู้ให้บริการต่อลูกค้า 1 คน ในช่วงเวลาหนึ่ง มักจะคิดเป็นรายเดือน ARPU เป็นตัววัดที่สำคัญสำหรับการประเมินมูลค่าของลูกค้าแต่ละราย ARPU ยิ่งมาก แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการสร้างรายได้ต่อหัวของลูกค้าสูง สูตรคำนวณ รายได้เฉลี่ยต่อลูกค้า 1 คน = รายได้จากการให้บริการต่อเดือน ÷ จำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมดหน่วย : บาท จะเห็นว่ามีตัวชี้วัดที่หลายหลากในการประเมินประสิทธิภาพของธุรกิจและการวางแผนเชิงกลยุทธ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละอุตสาหกรรมอาจมีตัวชี้วัดที่แตกต่างกัน แม้อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ตัววัดอาจเปลี่ยนไปตามช่วงการเติบโตของธุรกิจ การเลือกตัววัดที่เหมาะสม สามารถช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญในการตัดสินใจ ทั้งในด้านการปรับปรุงการดำเนินงานและการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ยังมีตัวชี้วัดความสำเร็จอีกหลายตัวที่น่าสนใจ ซึ่งเราจะนำมาแบ่งปันเพิ่มเติมใน EP.2 อย่าลืมติดตามเพื่อไม่พลาดข้อมูลสำคัญที่จะช่วยยกระดับธุรกิจของคุณ! แหล่งที่มา : PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ พร้อมช่วยจัดการงานบัญชีที่ยุ่งยากของคุณให้เป็นระบบ เพื่อให้คุณติดตามรายงานการเคลื่อนไหวทางการเงินรวมถึงต้นทุนขายได้ นอกจากนี้ยังสามารถรายงานสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รายงานสมุดบัญชีรายวัน รายงานแยกประเภท งบกำไรขาดทุน งบฐานะการเงิน ทำให้เห็นกำไร-ขาดทุน แบบ Real-Time ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

3 ต.ค. 2024

PEAK Account

11 min

การใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ

ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี การใช้ข้อมูลทางบัญชี งบการเงิน และข้อมูลการตลาดถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาและสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืน บทความนี้จะสรุปภาพรวมความสำคัญของข้อมูลต่างๆ การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหารและการนำข้อมูลทางการตลาดมาวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า พร้อมกับการวางแผนการหาลูกค้า ทำไมข้อมูลทางบัญชีถึงความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจมีความซับซ้อน การใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้ประกอบการ เข้าใจสถานการณ์ทางธุรกิจของตนเองอย่างลึกซึ้ง ทั้งในด้านการเงิน การตลาดและการปฏิบัติงานภายใน ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้วิเคราะห์และตัดสินใจในการวางแผนทางธุรกิจได้แม่นยำ ช่วยในการประเมินผลการดำเนินงานของธุรกิจและช่วยในการระบุและจัดการความเสี่ยงทางการเงิน การใช้ข้อมูลบัญชีเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงิน ข้อมูลทางบัญชีไม่เพียงแต่เป็นบันทึกการทำธุรกรรม แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ นักบัญชีสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการต้นทุนและการกำหนดราคาสินค้าและบริการ ที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยในการคาดการณ์กระแสเงินสด และวางแผนการลงทุนเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี ช่วยผู้ประกอบการและนักบัญชีเข้าใจถึงสถานะการดำเนินธุรกิจอย่างลึกซึ้ง จะแบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีออกเป็นสองกลุ่มหลัก ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหาร และการวิเคราะห์งบการเงิน 1. การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหาร การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหารเน้นการให้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจภายในองค์กร ผู้ประกอบการและผู้บริหารใช้ข้อมูลนี้เพื่อวางแผนและควบคุมการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ที่สำคัญในด้านนี้ ได้แก่ 1.1 การวิเคราะห์ต้นทุน การวิเคราะห์ต้นทุนช่วยให้ผู้ประกอบการทราบถึงต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการประเมินกำไรและประสิทธิภาพของธุรกิจ โดยจะคำนวณและแยกประเภทต้นทุน เช่น ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เพื่อช่วยในการกำหนดราคาขาย รวมถึงการคำนวณจุดคุ้มทุน 1.2 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเป็นกระบวนการที่ช่วยผู้ประกอบการทราบถึงจำนวนการขายที่จำเป็นเพื่อให้รายได้เท่ากับต้นทุน โดยข้อมูลนี้สำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาด การผลิต และการจัดสรรทรัพยากร ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับแผนให้เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุน 1.3 การวิเคราะห์งบประมาณ การจัดทำงบประมาณเป็นกระบวนการสำคัญในการควบคุมค่าใช้จ่ายและการลงทุนในธุรกิจ การวิเคราะห์งบประมาณจะช่วยให้ผู้ประกอบการทราบถึงความสามารถในการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ โดยสามารถปรับปรุงและแก้ไขแผนงานได้ตามสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง 2. การวิเคราะห์งบการเงิน การวิเคราะห์งบการเงินมุ่งเน้นการพิจารณาสถานะการเงินของธุรกิจ ทั้งในด้านความสามารถในการทำกำไร การจัดการทรัพยากร และภาระหนี้สิน โดยแบ่งเป็นหัวข้อสำคัญดังนี้ 2.1 การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรช่วยให้ผู้ประกอบการประเมินว่าธุรกิจมีความสามารถในการสร้างกำไรจากรายได้ได้มากน้อยเพียงใด โดยใช้ตัวชี้วัดอย่างอัตรากำไรสุทธิ ซึ่งบ่งบอกถึงสัดส่วนของกำไรที่ธุรกิจเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity – ROE) ช่วยให้ทราบว่าธุรกิจใช้ทุนของผู้ถือหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด 2.2 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การวิเคราะห์นี้ช่วยให้ผู้ประกอบการทราบว่าธุรกิจมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยดูจากอัตราส่วนการหมุนเวียนสินทรัพย์ ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการใช้สินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้ และอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง ที่บ่งบอกถึงความสามารถในการจัดการสินค้าคงคลัง 2.3 การวิเคราะห์การจัดการสภาพคล่อง การจัดการสภาพคล่องเป็นการประเมินความสามารถของธุรกิจในการชำระหนี้สินระยะสั้น โดยใช้ตัวชี้วัดอย่างอัตราส่วนสภาพคล่อง ซึ่งคำนวณจากการเปรียบเทียบสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งตัดสินจากสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว เช่น เงินสดและลูกหนี้ 2.4 การวิเคราะห์ภาระหนี้สิน การวิเคราะห์ภาระหนี้สินช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงสถานะหนี้สินของธุรกิจและความเสี่ยงทางการเงิน โดยใช้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ซึ่งบ่งบอกถึงจำนวนหนี้สินที่ธุรกิจมีเปรียบเทียบกับทุนของผู้ถือหุ้น ยิ่งอัตราส่วนนี้สูงก็แสดงถึงความเสี่ยงในการที่ธุรกิจจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ในอนาคต การใช้ข้อมูลทางบัญชี งบการเงิน และข้อมูลการตลาดเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เห็นภาพรวมของธุรกิจ เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า และตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีข้อมูลสนับสนุน เป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืน คลิกเพื่อเรียน! นอกจากข้อมูลทางการเงินแล้ว ข้อมูลการตลาดก็มีความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจเช่นกัน ข้อมูลการตลาดช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้า และนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์จากกรณีศึกษานั้น จะช่วยให้ใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้องมากขึ้น สำหรับนักบัญชีที่สนใจยกระดับสำนักงานบัญชี สู่การเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่คอร์สเรียน การใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ พร้อมช่วยจัดการงานบัญชีที่ยุ่งยากของคุณให้เป็นระบบ เรามีฟังก์ชั่นแสดงผล Dashboard แบบเรียลไทม์ ที่ช่วยให้เห็นภาพรวมข้อมูลทางบัญชีของธุรกิจได้ง่ายขึ้น เพื่อให้คุณสามารถนำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ก.ย. 2024

PEAK Account

15 min

12 วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับธุรกิจ SME

ธุรกิจ SME ในยุคดิจิทัลต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในการแข่งขัน ทั้งเรื่องเวลาที่จำกัด ทรัพยากรบุคคล และงบประมาณที่จำกัด การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน บทความนี้จะมาแชร์ 12 วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในธุรกิจ SME ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนงาน การใช้เครื่องมือดิจิทัล หรือการพัฒนาทีมงาน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้เร็วยิ่งขึ้น ข้อดีของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับธุรกิจ SME 1. ลดต้นทุนและเพิ่มกำไร การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน การกำจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นหรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำงานจะลดการใช้ทรัพยากร เช่น เวลา แรงงาน และวัสดุ ส่งผลให้ธุรกิจสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน การทำงานที่มีประสิทธิภาพจะเพิ่มผลผลิตและทำให้ธุรกิจสร้างกำไรได้มากขึ้น 2. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ธุรกิจ SME ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงจากคู่แข่งรายใหญ่ที่มีทรัพยากรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น มีคุณภาพที่ดีกว่า และมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง 3. ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด ในยุคที่เทคโนโลยีและความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การมีประสิทธิภาพในการทำงานจะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่สูญเสียคุณภาพหรือเวลาการผลิตที่สำคัญ การปรับตัวอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาความเป็นผู้นำในตลาดและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที 4. เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า การทำงานที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจสามารถให้บริการลูกค้าได้เร็วขึ้นและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด ส่งผลให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในสินค้าและบริการมากยิ่งขึ้น ความพึงพอใจนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และเพิ่มโอกาสในการสร้างฐานลูกค้าใหม่ ๆ รวมถึงการรักษาลูกค้าเก่า 5. เสริมสร้างความยั่งยืนของธุรกิจ ธุรกิจ SME ที่มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ การใช้พลังงานและวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุนในระยะยาว รวมถึงการลดของเสียและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน 6. ปรับปรุงความพึงพอใจของพนักงาน การทำงานที่มีประสิทธิภาพช่วยลดความตึงเครียดและภาระงานที่ซ้ำซ้อนของพนักงาน พนักงานจะสามารถทำงานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิผลมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการทำงานและลดอัตราการลาออกของพนักงาน พนักงานที่มีความสุขกับการทำงานจะมีแรงจูงใจในการทำงานที่สูงขึ้นและสร้างสรรค์ผลงานที่ดีขึ้นให้กับธุรกิจ 7. เสริมสร้างโอกาสการเติบโต การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจมีเวลามากขึ้นในการพัฒนากลยุทธ์การเติบโต เช่น การขยายตลาด การเพิ่มผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ และการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานช่วยให้ธุรกิจ SME มีทรัพยากรที่เพียงพอในการพัฒนาและเติบโตอย่างมั่นคง 12 วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับธุรกิจ SME การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ SME เนื่องจากการทำงานที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง บทความนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนที่สามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานของธุรกิจได้อย่างยั่งยืน 1. ทำความเข้าใจกระบวนการทำงานในปัจจุบัน ก่อนที่จะทำการปรับปรุงกระบวนการทำงาน สิ่งแรกที่ต้องทำคือการเข้าใจกระบวนการทำงานที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างถ่องแท้ การวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานที่ใช้อยู่ในขณะนี้จะช่วยให้ทราบถึงความเป็นจริงในการปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญในการระบุปัญหาและความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้น 2. จัดทำเอกสารกระบวนการทำงานปัจจุบัน การจัดทำเอกสารที่แสดงถึงกระบวนการทำงาน (เช่น Flowchart) และการบันทึกรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนเป็นสิ่งที่สำคัญในการเห็นภาพรวมของการทำงานทั้งหมด เอกสารนี้จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบและเปรียบเทียบการปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. กำหนดเป้าหมาย หลังจากที่ได้วิเคราะห์กระบวนการทำงานแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการตั้งเป้าหมายในการปรับปรุงกระบวนการ เป้าหมายเหล่านี้อาจเป็นการลดเวลาในการทำงาน ลดข้อผิดพลาด หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน การมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวัดผลและประเมินความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงได้ 4. ระบุปัญหาและจุดคอขวด การระบุปัญหาและจุดคอขวด (Bottleneck) ในกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก การค้นหาสาเหตุของความล่าช้า ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือจุดที่กระบวนการหยุดชะงัก จะช่วยให้สามารถแก้ไขได้อย่างตรงจุด ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานมีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น 5. การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง การดึงผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงาน ผู้จัดการ หรือทีมงานจากส่วนอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและความคิดเห็นจะช่วยให้กระบวนการปรับปรุงเป็นไปอย่างครอบคลุมและมีความสมบูรณ์ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายยังช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและลดความเข้าใจผิดในการปฏิบัติงาน 6. ศึกษาวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม การค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการทำงานที่ประสบความสำเร็จจากธุรกิจอื่น ๆ หรือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้ธุรกิจสามารถนำแนวทางที่ดีมาปรับใช้กับตัวเองได้ การศึกษาและวิเคราะห์กรณีศึกษาที่มีความคล้ายคลึงกับธุรกิจ จะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนว่าควรปรับปรุงอะไรและอย่างไร 7. ออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ เมื่อได้ข้อมูลและแนวทางจากขั้นตอนก่อนหน้าแล้ว สามารถนำมาออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นหรือการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ กระบวนการทำงานใหม่ควรตอบโจทย์ทั้งด้านเวลาและคุณภาพในการทำงาน 8. บันทึกกระบวนการทำงานที่ได้รับการปรับปรุง หลังจากที่ได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานแล้ว ควรบันทึกขั้นตอนใหม่ลงในเอกสารที่จัดทำขึ้น เพื่อให้ทุกคนในทีมสามารถติดตามและทำตามขั้นตอนใหม่ได้อย่างถูกต้อง การจัดทำคู่มือการทำงานที่ชัดเจนจะช่วยลดความสับสนและทำให้กระบวนการทำงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน 9. ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป การเปลี่ยนแปลงไม่ควรทำอย่างรวดเร็วเกินไป ควรเริ่มจากการปรับปรุงทีละขั้นตอน เพื่อติดตามผลลัพธ์และดูว่ามีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นบ้าง การปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้ดีและสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา 10. จัดอบรมทีมงาน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานแล้ว ควรจัดอบรมให้กับทีมงานเพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจในกระบวนการใหม่และสามารถใช้งานเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกอบรมเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้อย่างราบรื่น 11. ติดตามผลและวัดผลความสำเร็จ การใช้ตัวชี้วัดหรือ KPI ในการติดตามผลลัพธ์ของการปรับปรุงเป็นสิ่งที่จำเป็น การวัดผลจะช่วยให้ธุรกิจสามารถประเมินได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่ทำนั้นได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายหรือไม่ หากพบว่ามีปัญหาหรือไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จะสามารถปรับแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว 12. ทบทวนและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงกระบวนการทำงานควรเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ธุรกิจควรใช้ข้อมูลจากตัวชี้วัดและคำแนะนำต่าง ๆ ที่ได้รับมาพิจารณาและปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงของตลาดและยังคงประสิทธิภาพสูงสุด การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับธุรกิจ SME ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุน แต่ยังช่วยเพิ่มคุณภาพในการทำงาน และนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว การดำเนินการตามวิธีการทั้ง 12 ข้อนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงการทำงานได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เรามีฟังก์ชันหลากหลายที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานบัญชีของคุณ ไม่ว่าจะเป็น  AI ช่วยแนะนำรายการสินค้า/บริการและผังบัญชีที่ใช้บ่อย ช่วยประหยัดเวลาบันทึกเอกสาร นอกจากนี้ยังมีระบบวิเคราะห์ธุรกิจอย่างมืออาชีพออนไลน์ ที่ช่วยให้เห็นภาพรวมของธุรกิจได้ง่ายขึ้น และฟังก์ชันการจัดการเอกสารทางบัญชีอย่างเป็นระบบ ช่วยให้การจัดการข้อมูลบัญชีเป็นเรื่องง่ายและปลอดภัยมากขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

26 ก.ย. 2024

PEAK Account

12 min

7 วิธีการสร้างคุณค่าของแบรนด์ให้ตรงใจลูกค้า

การสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์นั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความไว้วางใจและความผูกพันกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย การสร้างเอกลักษณ์ หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่อง บทความนี้จะอธิบาย 7 วิธีการสร้างคุณค่าของแบรนด์ให้ตรงใจลูกค้า เพื่อทำให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นและเป็นที่จดจำในตลาด วิธีการสร้างคุณค่าให้แบรนด์ มีดังนี้ 1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน การรู้จักกลุ่มเป้าหมายเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ต้องเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร มีความต้องการอะไร และปัญหาอะไรที่ลูกค้ากำลังเผชิญอยู่ การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียด เช่น การใช้ข้อมูลประชากร (Demographic) และข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค (Behavioral) จะช่วยให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ยกตัวอย่าง สำนักงานบัญชีที่เน้นให้บริการธุรกิจ SMEs ต้องเข้าใจว่าลูกค้าของพวกเขาส่วนใหญ่ต้องการความช่วยเหลือด้านการจัดการภาษีและระบบบัญชีที่ไม่ซับซ้อน การกำหนดกลุ่มเป้าหมายนี้จะช่วยออกแบบบริการที่เหมาะสม เช่น การจัดทำรายงานที่เข้าใจง่ายและไม่ใช้ศัพท์บัญชีซับซ้อน 2. การกำหนดเอกลักษณ์ของแบรนด์ เอกลักษณ์ของแบรนด์ที่ชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้แบรนด์แตกต่างจากคู่แข่ง การสร้างเอกลักษณ์สามารถเริ่มต้นจากการพัฒนาค่านิยมหลักของแบรนด์ (Brand Values) ที่สะท้อนถึงวิสัยทัศน์และความเชื่อของบริษัท ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ การใช้สี โลโก้ และการออกแบบที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของแบรนด์จะช่วยสร้างการจดจำในใจของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เช่น แบรนด์เครื่องสำอางที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมชาติ อาจเลือกใช้สีเขียวและน้ำตาลในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อสื่อถึงความเป็นธรรมชาติและความยั่งยืน 3. ปรับแต่งคุณค่าแบรนด์ตามกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน แม้ว่าแบรนด์จะมีคุณค่าหลักที่ชัดเจน การปรับแต่งเนื้อหา ผลิตภัณฑ์ หรือบริการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม กลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มอาจมีความต้องการหรือปัญหาที่แตกต่างกัน ดังนั้น การปรับแต่งผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ตอบโจทย์กลุ่มต่างๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและเพิ่มยอดขาย ยกตัวอย่างแบรนด์ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสามารถปรับแต่งผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผลิตภัณฑ์สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักและผลิตภัณฑ์สำหรับกล้ามเนื้ออาจมีสูตรและการตลาดที่แตกต่างกัน เพื่อรองรับความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า 4. แก้ไขปัญหาที่กลุ่มเป้าหมายเผชิญ ลูกค้าทุกคนต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ช่วยแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันของพวกเขา การที่แบรนด์ของคุณสามารถเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาหรือช่วยลดความเจ็บปวดในกระบวนการของลูกค้าได้ จะทำให้คุณได้รับความเชื่อถือและความพึงพอใจมากขึ้น การวิเคราะห์ปัญหาที่ดีจะช่วยให้คุณเข้าใจปัญหาของลูกค้าและสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการหรือช่วยแก้ไขปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกค้าของคุณคือเจ้าของธุรกิจร้านค้าออนไลน์ พวกเขาอาจมีปัญหากับการจัดการบัญชีที่ซับซ้อน การที่คุณมีบริการหรือระบบที่ช่วยจัดการบัญชีสำหรับร้านค้าออนไลน์ จะทำให้คุณเป็นะเป็นที่ต้องการในตลาดได้ 5. สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องเน้นการใช้ภาษาที่ลูกค้าเข้าใจได้ง่าย ไม่ควรใช้ศัพท์เฉพาะที่ซับซ้อนหรือมีการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน เพราะอาจทำให้ลูกค้าเกิดความสับสนและไม่เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณมีประโยชน์อย่างไร ควรใช้ภาษาเรียบง่ายที่สื่อถึงคุณสมบัติเด่นของผลิตภัณฑ์และประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับอย่างชัดเจน การนำเสนอกรณีศึกษา ตัวอย่างการใช้งานจริง หรือคำแนะนำจากลูกค้ารายอื่น จะช่วยเพิ่มความเข้าใจและเชื่อมั่นได้มากยิ่งขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ใช้คำโฆษณาว่า “ผลิตภัณฑ์นี้ช่วยทำความสะอาดคราบสกปรกได้อย่างง่ายดาย และทำให้พื้นผิวของคุณสะอาดเหมือนใหม่” แทนที่จะใช้ประโยคว่า “ผลิตภัณฑ์นี้มีฟอร์มูลาที่ได้รับการพัฒนาอย่างเข้มข้น เพื่อจัดการกับคราบสกปรกที่มีโพลีเมอร์ซึ่งช่วยในการยึดเกาะ”  6. เพิ่มช่องทางสื่อสารผ่าน Social Media Social Media เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเชื่อมต่อกับลูกค้า คุณสามารถใช้แพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, TikTok หรือ LinkedIn ในการสื่อสารและแสดงให้เห็นถึงคุณค่าแบรนด์ของคุณ การแชร์รีวิวจากลูกค้า กรณีศึกษา หรือการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของแบรนด์ในสายตาลูกค้า เช่น สำนักงานบัญชีอาจใช้ Facebook เพื่อแชร์กรณีศึกษาของลูกค้าที่ได้รับความช่วยเหลือในการลดภาษี พร้อมกับนำเสนอเทคนิคการจัดการบัญชีง่ายๆ ที่ธุรกิจขนาดเล็กสามารถนำไปใช้ได้จริง 7. คอยติดตามและปรับปรุงผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอ สุดท้ายแล้ว การประเมินผลเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างคุณค่าแบรนด์ การทดสอบและการปรับปรุงเป็นกระบวนการที่ควรทำอย่างต่อเนื่อง คุณสามารถใช้แบบสำรวจ สัมภาษณ์ลูกค้า หรือวัดอัตราการแปลง (Conversion Rate) เพื่อวัดผลว่ากลยุทธ์ของคุณได้ผลหรือไม่ เช่น การพัฒนารสชาติหรือบรรจุภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวตามข้อเสนอแนะของลูกค้า การสร้างคุณค่าของแบรนด์ให้ตรงใจลูกค้าเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการวางแผนและการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อทำได้ดี จะช่วยให้แบรนด์ของเติบโตและสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้าได้อย่างยั่งยืน จากตัวอย่างจะเห็นว่า การสร้างคุณค่าของแบรนด์ให้ตรงใจลูกค้านั้น สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจที่เน้นการให้บริการอย่างสำนักงานบัญชีได้ อย่างไรก็ตามการสร้างคุณค่าของแบรนด์เป็นเพียงหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้ลูกค้าเข้าใจและจดจำแบรนด์ของคุณได้ โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจที่เน้นการให้บริการอย่างสำนักงานบัญชียังมีเทคนิคอีกมากมายที่จะช่วยให้นำเสนอแผนงานให้ชนะใจลูกค้าได้หากคุณต้องการพัฒนาและยกระดับการสร้างแบรนด์ของสำนักงานบัญชีไปอีกขั้น สามารถลงทะเบียนคอร์สเรียน การนำเสนอแผนงานเพื่อชนะใจลูกค้า กับเราได้ คอร์สนี้จะช่วยให้สำนักงานบัญชีพัฒนาทักษะการนำเสนอแผนงานที่มีประสิทธิภาพ โดยจะมุ่งเน้นที่ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

20 ก.ย. 2024

PEAK Account

10 min

4 เทคนิคการจัดการระบบบัญชีร้านค้าออนไลน์

ธุรกิจ e-commerce หรืการค้าขายออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย ซึ่งส่งผลให้สำนักงานบัญชีต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความซับซ้อนของรายการทางการเงินที่เกิดขึ้นจากธุรกิจร้านค้าออนไลน์ ที่มีจำนวนรายการซื้อขายมากมายในแต่ละวัน บทความนี้จะอธิบายตั้งแต่การทำความเข้าใจลักษณะธุรกิจร้านค้าออนไลน์ การจัดการภาษีที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ที่จะเข้ามาช่วยให้การทำบัญชีในกลุ่มธุรกิจนี้ง่ายขึ้น ร้านค้าออนไลน์ มีลักษณะที่แตกต่างจากธุรกิจแบบดั้งเดิมในหลายประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ รายการธุรกรรมจำนวนมาก ร้านค้าออนไลน์ มักมีปริมาณธุรกรรมรายวันจำนวนมากจากการขายสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ของตนเอง, แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ (Shopee, Lazada), และโซเชียลมีเดีย (Facebook, Instagram) สำนักงานบัญชีต้องสามารถบันทึกและจัดการกับธุรกรรมเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ การบันทึกด้วยมืออาจไม่เพียงพอและต้องใช้ระบบหรือโปรแกรมที่สามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากได้โดยอัตโนมัติ 1. ทำความเข้าใจกับลักษณะธุรกิจร้านค้าออนไลน์ หลายช่องทางการขาย ร้านค้าออนไลน์ ขายสินค้าผ่านหลายช่องทาง ทำให้การติดตามและรายงานรายได้ ค่าใช้จ่าย และต้นทุนต่าง ๆ ต้องถูกแยกตามแต่ละช่องทาง ตัวอย่างเช่น การขายผ่าน Shopee หรือ Lazada จะมีค่าธรรมเนียมการใช้แพลตฟอร์มและค่าจัดส่งที่ต่างจากการขายผ่านเว็บไซต์ของตนเอง การรับชำระเงินหลายรูปแบบ การรับชำระเงินในร้านค้าออนไลน์ มักมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การโอนเงินผ่านธนาคาร, การชำระด้วยบัตรเครดิต, e-wallet หรือการชำระเงินปลายทาง (COD) ซึ่งแต่ละรูปแบบอาจมีค่าธรรมเนียมต่างกัน การบันทึกรายการจึงต้องครอบคลุมช่องทางเหล่านี้ และจัดการค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง 2. ประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับร้านค้าออนไลน์ ในธุรกิจร้านค้าออนไลน์ ภาษีเป็นประเด็นสำคัญที่สำนักงานบัญชีต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เนื่องจากมีหลายรายการที่ต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย เช่น: ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับร้านค้าออนไลน์ จะมีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยอดขายของธุรกิจนั้นเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด (1.8 ล้านบาทต่อปี) การจัดการกับภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำอย่างรัดกุม ทั้งในเรื่องของการจัดทำเอกสารใบกำกับภาษี การบันทึกบัญชีรายได้ที่ต้องเสียภาษี และการยื่นแบบภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล การคำนวณและยื่นภาษีเงินได้สำหรับร้านค้าออนไลน์ นั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบธุรกิจที่จดทะเบียน หากเป็นบุคคลธรรมดาต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90/91) หากเป็นนิติบุคคลต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50) การจัดการบัญชีต้องคำนึงถึงการหักค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎหมายภาษี ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำนักงานบัญชีต้องจัดการกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจ่ายค่าบริการหรือค่าจ้างให้กับผู้ให้บริการภายนอก เช่น ค่าขนส่ง ค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม ซึ่งจะต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากร 3. รับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายจากรายการซื้อขาย การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายสำหรับร้านค้าออนไลน์ มีความสำคัญในการรายงานผลประกอบการที่ถูกต้องและการยื่นภาษี โดยต้องคำนึงถึง 4. วิธีการบันทึกบัญชีสำหรับร้านค้าออนไลน์ การบันทึกบัญชีสำหรับร้านค้าออนไลน์ ต้องจัดการกับข้อมูลที่มาจากหลายแหล่ง เช่น ระบบการขายออนไลน์ ระบบการจัดการสต็อก และข้อมูลการชำระเงิน ซึ่งจำเป็นต้องใช้วิธีการบันทึกที่เป็นระบบเพื่อลดความซับซ้อน สำนักงานบัญชีควรจัดทำรายได้และค่าใช้จ่ายให้แยกตามช่องทางการขาย เช่น การขายผ่าน Shopee, Lazada, หรือผ่านเว็บไซต์ของธุรกิจเอง เพื่อให้สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่ายขึ้น หรือการใช้โปรแกรมบัญชีที่สามารถนำเข้าข้อมูลจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ และบันทึกข้อมูลโดยอัตโนมัติจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลด้วยมือ ทั้งนี้การทำบัญชีสำหรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจร้านค้าออนไลน์ นั้นยังมีรายละเอียดและขั้นตอนในการบันทึกบัญชีอีกมาก สำหรับนักบัญชีหรือสำนักงานบัญชีที่ทำงานให้กับร้านค้าออนไลน์ และต้องการเจาะลึกเทคนิคและขั้นตอนการทำบัญชี สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากคอร์สเรียน การทำบัญชีสำหรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจ e-Commerce ซึ่งจะช่วยให้คุณพัฒนาทักษะและสามารถจัดการกับความซับซ้อนได้อย่างมืออาชีพ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ตัวช่วยจัดการร้านค้าออนไลน์ เพื่อช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถจัดการกับความซับซ้อนของการทำบัญชีในธุรกิจร้านค้าออนไลน์ ได้ง่ายขึ้น PEAK มีระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ด้วยฟีเจอร์ที่สามารถเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มการขายหลายช่องทาง เช่น Shopee, Lazada และ Facebook ทำให้การนำเข้ารายการซื้อขายและบันทึกข้อมูลในระบบทำได้อัตโนมัติ ช่วยลดเวลาและลดความซับซ้อนในการทำบัญชี ได้มากขึ้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องความซับซ้อนของรายการบัญชีที่เพิ่มขึ้น การทำบัญชีสำหรับร้านค้าออนไลน์ หรือ ธุรกิจ e-commerce จำเป็นต้องมีการจัดการที่ละเอียดและเป็นระบบ โดยต้องให้ความสำคัญกับการรับรู้รายได้ ค่าใช้จ่าย และภาษีที่เกี่ยวข้อง การใช้โปรแกรมบัญชีอย่าง PEAK จะเป็นตัวช่วยสำคัญในการทำให้กระบวนการบัญชีมีความง่ายดายและแม่นยำมากขึ้น สำนักงานบัญชีจึงสามารถขยายการให้บริการไปยังลูกค้ากลุ่มธุรกิจ e-commerce ได้อย่างมั่นใจ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

19 ก.ย. 2024

PEAK Account

10 min

3 เคล็บลับสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าสำนักงานบัญชี

การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า (Brand Trust) ให้กับสำนักงานบัญชีเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้าไว้วางใจและเลือกใช้บริการอย่างต่อเนื่อง นอกจากการให้บริการที่มีคุณภาพแล้ว การเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพและการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ในบทความนี้จะมาดู 3 เคล็ดลับในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสำนักงานบัญชี เพื่อเพิ่มความไว้วางใจและความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้า 1. สร้างความเชื่อมั่นให้ผลิตภัณฑ์ (Product) สิ่งแรกที่สำนักงานบัญชีต้องทำคือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน ซึ่งหมายถึงการสื่อสารถึงคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับจากการใช้บริการ การทำให้ลูกค้าเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร และเพราะเหตุใดพวกเขาจึงควรเลือกใช้บริการของสำนักงานบัญชีของคุณ การสร้าง Brand Stories หนึ่งในวิธีที่ได้ผลดีคือการสร้างเรื่องราวของแบรนด์ (Brand Story) เรื่องราวนี้ควรสะท้อนถึงความเป็นมาของสำนักงานบัญชี มูลค่าที่คุณมุ่งมั่นให้กับลูกค้า และปรัชญาในการทำงาน การเล่าเรื่องราวในแบบที่ทำให้แบรนด์ดูเป็นมนุษย์หนึ่งคนจะช่วยให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกเชื่อมโยงทางอารมณ์กับแบรนด์ ทำให้แบรนด์ของคุณไม่ใช่แค่เพียงผู้ให้บริการทางการเงิน แต่ยังเป็นคู่คิดที่มีความหมายและเชื่อถือได้ การสร้าง Brand Awareness ในลักษณะนี้ยังช่วยส่งเสริมการเติบโตของรายได้ในระยะยาว และเพิ่มความภักดีของลูกค้าอีกด้วย การสร้าง Brand Content การเผยแพร่เนื้อหาที่มีคุณค่าก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ การสร้างบทความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบัญชี การเงิน ภาษี หรือการวางแผนการเงินในระยะยาว จะช่วยแสดงถึงความเชี่ยวชาญของสำนักงานบัญชีในด้านต่างๆ ผ่านเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ การที่ลูกค้าสามารถหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากแหล่งที่เชื่อถือได้จะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ ทำให้สำนักงานบัญชีของคุณเป็นแหล่งข้อมูลที่พวกเขาสามารถพึ่งพาได้ 2. สร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ (Brand) การสร้างแบรนด์ที่น่าเชื่อถือไม่ได้เกิดขึ้นแค่จากการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ดี แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสื่อสารและการให้บริการที่ตรงไปตรงมา โปร่งใส และมีความเชี่ยวชาญในสายงานของตนเอง ให้บริการด้วยความเชี่ยวชาญ ลูกค้ามักคาดหวังว่าสำนักงานบัญชีจะมีความเชี่ยวชาญในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับบัญชี การเงิน และภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองจากใบอนุญาตหรือประกาศนียบัตรต่างๆ การมีบุคลากรที่มีความรู้และสามารถให้คำปรึกษาได้ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ จนถึงการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนจะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจในความสามารถของสำนักงานบัญชี อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าในการใช้บริการในอนาคต ให้บริการอย่างโปร่งใสและตรงไปตรงมา ความโปร่งใสเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือ สำนักงานบัญชีควรให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับบริการ ราคา ขั้นตอนการทำงาน และระยะเวลาในการดำเนินงาน หากลูกค้าได้รับข้อมูลที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น พวกเขาจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นในการตัดสินใจเลือกใช้บริการ นอกจากนี้ การสื่อสารที่ตรงไปตรงมายังช่วยลดความกังวลและความสับสนที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง 3. สร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้า การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในระยะสั้น แต่ยังช่วยสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งในระยะยาวด้วย การดูแลลูกค้าอย่างใส่ใจ หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าคือการดูแลและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างใส่ใจ การตอบคำถามหรือแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการดูแลอย่างดี และเป็นการสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า สำนักงานบัญชีที่ให้บริการด้วยความใส่ใจสามารถสร้างความภักดีจากลูกค้าได้อย่างมาก โดยเฉพาะในธุรกิจที่เน้นการให้บริการที่ต้องการความเชี่ยวชาญสูง เช่น สำนักงานบัญชี สร้างความไว้วางใจผ่านการบริการที่ดี นอกจากการให้บริการที่ตรงตามมาตรฐานแล้ว การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าควรเน้นที่การให้บริการหลังการขาย ไม่ว่าจะเป็นการติดตามผล การสอบถามความพึงพอใจ หรือการให้คำปรึกษาเพิ่มเติม การสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะนี้จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุณใส่ใจในความสำเร็จของพวกเขา และพร้อมที่จะช่วยเหลือเมื่อต้องการ เคล็ดลับทั้ง 3 ข้อนี้ คือหัวใจสำคัญของการสร้างความน่าเชื่อถือและความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าในธุรกิจบัญชี เมื่อสำนักงานบัญชีสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผลิตภัณฑ์ แสดงถึงความเชี่ยวชาญและความโปร่งใส และดูแลลูกค้าอย่างใส่ใจ คุณจะสามารถสร้างฐานลูกค้าที่มั่นคงและเพิ่มโอกาสในการดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานในสำนักงานบัญชีต้องเผชิญกับขั้นตอนและกระบวนการที่ซับซ้อนมากมาย การจัดการงานให้เป็นระบบจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าสำนักงานบัญชีของคุณมีเครื่องมือช่วยจัดการระบบการทำงานและเอกสารอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากลงได้ พร้อมกับสร้างความเป็นมืออาชีพให้กับสำนักงานของคุณมากยิ่งขึ้น PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ คือตัวช่วยที่สำนักงานบัญชีต้องมี ด้วยฟังก์ชันการจัดการงานที่ครอบคลุม ช่วยจัดการเอกสารต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำบัญชี การออกใบกำกับภาษี การบริหารรายรับรายจ่าย หรือการทำงบการเงินทุกประเภท PEAK ช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้น ลดความซับซ้อนและข้อผิดพลาดในการทำงาน นอกจากนี้ ระบบยังมีการจัดเก็บเอกสารออนไลน์อย่างปลอดภัยและเข้าถึงได้ง่าย ทำให้สามารถบริหารงานบัญชีได้ทุกที่ทุกเวลา ยกระดับประสิทธิภาพสำนักงานบัญชีของคุณด้วย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสำนักงานบัญชีโดยเฉพาะ ลดความซับซ้อนในการจัดการงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

13 ก.ย. 2024

PEAK Account

9 min

สูตร(ไม่)ลับ ตรวจวัดสถานะทางการเงินของธุรกิจ

การเข้าใจสถานะทางการเงินของธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในเรื่องการลงทุน การขยายกิจการ หรือแม้กระทั่งการวางแผนการเงินในระยะยาว ในบทความนี้ เราจะมาเปิดเผย “สูตร(ไม่)ลับ” ที่จะช่วยให้คุณสามารถตรวจวัดสถานะทางการเงินของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8 สูตรอัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ที่ผู้ประกอบการควรรู้ อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) คือ ตัวชี้วัดที่ใช้ในการวิเคราะห์สถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของธุรกิจ โดยอัตราส่วนเหล่านี้จะถูกคำนวณจากข้อมูลทางการเงินที่ปรากฏในงบการเงินของบริษัท เช่น งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) และงบกระแสเงินสด อัตราส่วนทางการเงินเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการ เพราะสามารถช่วยให้เข้าใจถึงความสามารถของธุรกิจในการสร้างรายได้, การบริหารสินทรัพย์, และการจัดการหนี้สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถคำนวณได้การสูตรดังต่อไปนี้ การวัดความสามารถในการจัดการหนี้สินของบริษัท 1. หนี้สินรวมต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Total Debt to Equity Ratio) หนี้สินรวมต่อส่วนผู้ถือหุ้น = หนี้สินรวม/ส่วนผู้ถือหุ้น หนี้สินรวมต่อส่วนผู้ถือหุ้น เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทโดยการเปรียบเทียบระหว่างหนี้สินทั้งหมดของบริษัทกับส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนนี้จะแสดงให้เห็นว่าบริษัทใช้หนี้สินเท่าไหร่ในการระดมทุนเมื่อเทียบกับการใช้ทุนจากผู้ถือหุ้น 2. อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนสภาพคล่อง เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถของบริษัทในการจ่ายหนี้ระยะสั้นโดยใช้สินทรัพย์หมุนเวียน อัตราส่วนนี้ใช้ในการวัดความสามารถของบริษัทในการจัดการกับหนี้สินที่มีการชำระภายในระยะเวลา 1 ปี เป็นการดูว่าบริษัทมีเงินหรือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้เร็วพอที่จะจ่ายหนี้ระยะสั้นหรือไม่ช่วยให้เรารู้ว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายหนี้ระยะสั้น (เช่น หนี้ที่ต้องจ่ายภายใน 1 ปี) มากน้อยแค่ไหน ถ้าอัตราส่วนนี้สูง แปลว่าบริษัทมีเงินพอจ่ายหนี้ แต่ถ้าต่ำ แปลว่าบริษัทอาจเจอปัญหาในการจ่ายหนี้ได้ การวัดประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์และทุนของบริษัท 3. ROE (Return on Equity) หรือ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ROE (%) = กำไรสุทธิ/ส่วนผู้ถือหุ้น ROE ใช้วัดว่าบริษัทสามารถทำกำไรได้เท่าไหร่จากเงินที่เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นลงทุนไว้ บ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัท โดยทั่วไป ถ้า ROE สูง หมายความว่าบริษัทสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น 4. ROA (Return on Assets) หรือ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม ROA (%) = กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี/สินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ย ROA ใช้วัดว่าบริษัทสามารถทำกำไรได้เท่าไหร่จากสินทรัพย์ทั้งหมดที่มี ช่วยให้เห็นว่าบริษัทใช้ทรัพยากรทั้งหมดที่มีอย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน ถ้า ROA สูง แปลว่าบริษัทใช้สินทรัพย์ได้ดีในการสร้างกำไร 5. อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์รวม (Total Asset Turnover Ratio) อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์รวม = รายได้/สินทรัพย์รวม อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์รวม ใช้วัดว่าบริษัทใช้สินทรัพย์ทั้งหมดที่มีในการสร้างรายได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าอัตรานี้สูง แสดงว่าบริษัทสามารถใช้สินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างรายได้ แต่ถ้าต่ำ อาจแปลว่าบริษัทใช้สินทรัพย์ไม่เต็มประสิทธิภาพ การวัดและวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของบริษัท 6. อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) อัตรากำไรขั้นต้น (%) = กำไรขั้นต้น/รายได้จากการขาย อัตรากำไรขั้นต้น ใช้วัดว่าบริษัททำกำไรได้เท่าไหร่หลังจากหักต้นทุนขาย (เช่น ค่าวัตถุดิบและค่าแรงในการผลิต) ออกแล้ว ช่วยให้เราเห็นว่าบริษัทมีประสิทธิภาพในการผลิตและขายสินค้า/บริการเพียงใด ถ้าอัตรานี้สูง แปลว่าบริษัทควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดี และยังคงทำกำไรได้มากเมื่อเทียบกับรายได้ 7. อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit Margin) อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (%) = กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี/รายได้รวม อัตรากำไรจากการดำเนินงาน วัดว่าบริษัททำกำไรได้เท่าไหร่จากการดำเนินงานหลักของธุรกิจหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (ยกเว้นดอกเบี้ยและภาษี) บอกให้รู้ถึงความสามารถในการจัดการค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจหลัก ถ้าอัตรานี้สูง แปลว่าบริษัทมีการจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ 8. อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) อัตรากำไรสุทธิ (%) = กำไรสุทธิ/รายได้รวม อัตรากำไรสุทธิ  วัดว่าบริษัททำกำไรได้เท่าไหร่หลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงดอกเบี้ยและภาษีออกจากรายได้ทั้งหมด แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรสุทธิของบริษัท อัตรานี้บอกให้เรารู้ว่าในทุก 100 บาทของรายได้ บริษัทมีกำไรสุทธิเหลืออยู่เท่าไหร่ ถ้าอัตรานี้สูง แปลว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรที่ดี โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

20 พ.ย. 2024

จักรพงษ์

7 min

ธุรกิจควรมีเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน ถึงจะเรียกว่าปลอดภัย

เคยสงสัยกันไหมว่า ธุรกิจควรมีเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยกี่บาท จึงจะปลอดภัย? คำว่า ‘ปลอดภัย’ ในที่นี้ หมายถึง มีเงินเพียงต่อการซื้อของมาสต๊อกเพื่อขาย เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายดำเนินงาน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า รวมถึง เงินเดือนพนักงานที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน ถ้าเรามีเงินเยอะมากๆ เราจะไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องว่าธุรกิจจะขาดสภาพคล่องไหม จะมีเงินจ่ายเจ้าหนี้ไหม แต่ในความเป็นจริงธุรกิจส่วนใหญ่หาเงินมาหมุนในธุรกิจได้ยากและไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราควรรู้ว่าควรมีเงินหมุนเวียนอยู่ในธุรกิจขั้นต่ำกี่เดือนจึงจะปลอดภัย ธุรกิจควรถือเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน นักธุรกิจหลายๆคน เชื่อกันว่าธุรกิจควรมีเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือน การมีเงินสำรองอย่างน้อย 3-6 เดือนจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อได้ในกรณีที่มีปัญหาขาดรายได้ รายได้เข้ามาน้อยลงหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอื่น ๆ หลายคนอาจสงสัยต่อว่า ควรสำรองเงินไว้ 3 เดือน 4 เดือน 5 เดือน หรือ 6 เดือนกันแน่ ทำไมไม่บอกให้ชัดๆ ไปเลย นั่นก็เพราะแต่ละธุรกิจมีเป้าหมายและความเสี่ยงไม่เหมือนกัน เงินสดสำรองที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย การคำนวณเงินสดสำรองขั้นต่ำ ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่าธุรกิจควรมีเงินสดสำรองขั้นต่ำอย่างน้อย 3-6 เดือน แต่คำถามถัดไปคือ แล้วต้องคำนวณอย่างไร? คิดเป็นมูลค่าตัวเงินคือกี่บาท? มาหาคำตอบกันต่อได้เลย เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ขอกำหนดว่าธุรกิจที่จะนำมาเป็นตัวอย่างนี้มีความเสี่ยงต่ำจึงสำรองเงินขั้นต่ำที่ 3 เดือน หรือ 90 วันเท่านั้น วิธีคิดก็คือ ต้องหาว่าในแต่ละวันเรามีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยวันละกี่บาท โดยใช้สูตร (ค่าใช้จ่ายทั้งเดือน/30วัน)จากนั้น จากนั้นให้นำค่าใช้จ่ายต่อวันคูณด้วย 90 วัน (3เดือน) ก็จะได้จำนวนที่ควรสำรองขั้นต่ำ 3 เดือนทันที จำนวนที่ควรสำรอง 3 เดือน = (ค่าใช้จ่ายต่อเดือน) x 3 เดือ ตัวอย่างการคำนวณเงินสดสำรองขั้นต่ำ บริษัท A มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ 30,000 บาท ต้องการมีสำรองเงินสดอย่างน้อย 3 เดือน บริษัท A ควรมีเงินสดสำรองกี่บาท(1) เริ่มจากหาค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวัน ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวัน = 30,000 /30 วัน จะได้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันที่ 1,000 บาท (2) คำนวณเงินสดสำรอง 3 เดือน หรือ 90 วัน จำนวนที่ควรสำรอง 3 เดือน = 1,000 x 90 วัน                                      = 90,000 บาทดังนั้นจึงสรุปได้ว่าบริษัท A ควรมีเงินสดสำรองใน 3 เดือน 90,000 บาท ธุรกิจควรสำรองเงินขั้นต่ำอย่างน้อย 3-6 เดือน ซึ่งคำนวณง่ายๆ โดยนำค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่จ่ายต่อวันคูณด้วย 90 วัน (3 เดือน) ซึ่งถ้าใครอยากปลอดภัยมากกว่าก็เปลี่ยนจำนวนวันที่สำรองจาก 90 วัน ไปเป็น 180 วันหรือมากกว่านั้นก็ได้ อย่างไรก็ตามการสำรองเงินที่เหมาะสมควรพิจารณาตามลักษณะและความเสี่ยงของแต่ละธุรกิจและควรวางแผนการบริหารจัดการเงินทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมายของธุรกิจนั้นๆ ดังนั้นการมีเครื่องมือจัดการข้อมูลบัญชีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจรับรู้ค่าใช้จ่ายได้อย่างครบถ้วน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จะช่วยให้การจัดการบัญชีของคุณง่ายขึ้น ด้วยระบบบัญชีที่ครบครันและตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจ ตั้งแต่การบันทึกบัญชี การออกเอกสาร ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนการเติบโตและเพิ่มโอกาสสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

19 พ.ย. 2024

PEAK Account

9 min

ขายออนไลน์แบบไหนต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง

การขายออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุคดิจิทัล ธุรกิจหลายประเภทสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่างไรก็ตามหากการดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับ “การตลาดแบบตรง” (Direct Marketing) กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ประกอบการบางรายต้องดำเนินการจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อป้องกันความเสียหายต่อผู้บริโภคและส่งเสริมความโปร่งใสในธุรกิจ การตลาดแบบตรงคืออะไร “ตลาดแบบตรง” หมายความว่า การทําตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูล เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละราย ตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้นที่มา: พูดง่ายๆก็คือ การเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์, อีเมล, ข้อความ SMS, หรือการโฆษณาทางสื่อออนไลน์ที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคตอบสนองทันที โดยไม่ผ่านหน้าร้านค้าหรือช่องทางตัวแทนจำหน่าย ขายออนไลน์แบบไหนต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง วิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนการตลาดแบบตรงกับ สคบ. ธุรกิจที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่ สคบ. กำหนดนั้น ต้องทำการยื่นคำขอจดทะเบียนการตลาดแบบตรง โดยมีข้อกำหนดดังนี้ อย่างไรก็ตาม บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จะทำการตลาดแบบตรง จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มิฉะนั้น จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ที่มา : ? ธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นการขึ้นทะเบียนการตลาดแบบตรง การจดทะเบียนการตลาดแบบตรงกับ สคบ. ไม่เพียงแต่เป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย แต่ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจในสายตาผู้บริโภคอีกด้วย  การขายออนไลน์ในรูปแบบการตลาดแบบตรงมีโอกาสสูงในการสร้างรายได้ แต่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงหากร้านค้าออนไลน์ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน การทำบัญชีที่ถูกต้องและเป็นระบบคือกุญแจสำคัญในการบริหารร้านค้าออนไลน์ การเลือกใช้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถจัดการบัญชีได้ง่ายดายเพียงแค่การเชื่อมต่อ API ให้บันทึกข้อมูลบัญชี สร้างเอกสารอัตโนมัติ ครบถ้วนทุกรายการขาย เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดขั้นตอนและลดต้นทุนในการทำงาน  เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่นและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

7 พ.ย. 2024

PEAK Account

7 min

EBITDA คืออะไร? ทำไมนักลงทุนถึงให้ความสำคัญ

EBITDA คือเครื่องมือสำคัญสำหรับนักลงทุนในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ เพื่อการตัดสินใจลงทุนที่รอบคอบ นักลงทุนควรเข้าใจทั้งข้อดีและข้อจำกัดของ EBITDA เพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม EBITDA คืออะไร? EBITDA ย่อมาจาก Earnings Before Interest Taxes Depreciation Amortization หมายถึง กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ซึ่งเป็นกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท EBITDA เป็นตัววัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท โดย วิธีคำนวณ EBITDA จากงบกำไรขาดทุน เมื่อเราพิจารณาผลประกอบการของบริษัท กำไรสุทธิ (Net Profit) อาจเป็นตัวเลขแรกที่เราให้ความสนใจ แต่ตัวเลขนี้ไม่ได้บอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดของธุรกิจเสมอไป เนื่องจากกำไรสุทธิไรสุทธินั้นรวมปัจจัยอื่นๆ เช่น ดอกเบี้ย ภาษี และค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานหลักของธุรกิจ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้นเราควรดู EBITDA ด้วย เนื่องจาก EBITDA คือเครื่องมือวิเคราะห์ที่จะช่วยให้คุณเห็นภาพความสามารถในการทำกำไรอย่างแท้จริง  สูตรการคำนวณ (1) รายได้จากการขาย – ต้นทุนขาย = กำไรขั้นต้น(2) กำไรขั้นต้น – ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร = กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT)(3) กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT) + ค่าเสื่อมราคา (D)+ ค่าตัดจำหน่าย (A) = EBITDA กำไรขั้นต้น (Gross Profit) เปรียบเสมือนการตรวจสอบว่าธุรกิจสามารถขายสินค้าได้กำไรมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม ต้นทุนของธุรกิจ ยังมีส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เพื่อแสดงกำไรที่แท้จริง จึงต้องมีการคำนวณกำไรโดยหักต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารออกแล้ว เรียกว่า “กำไรจากการดำเนินงาน” หรือ EBIT EBIT เป็นกำไรที่หักค่าเสื่อมราคา (Depreciation) และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (Amortization) ซึ่งไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่ทั้งหมดเสียเงินจริงๆ โดยค่าเสื่อมราคา (Depreciation) และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (Amortization) ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเป็นเพียงภาระทางบัญชี ซึ่งในความเป็นจริงค่าใช้จ่ายดังกล่าวบริษัทได้จ่ายเงินซื้อไปตั้งแต่ต้นแล้ว ดังนั้น EBIT + ค่าเสื่อมราคา (D) +ค่าตัดจำหน่าย (A) = EBITDA นั่นเอง การบวกกลับ ค่าเสื่อมราคา (D)+ ค่าตัดจำหน่าย (A) เข้าไป จะทำให้เห็นกำไรจากการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัท โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อกระแสเงินสดจริง และหากนำกำไรจากการดำเนินงาน หักลบด้วย ค่าเสื่อมราคา (D) และ ค่าตัดจำหน่าย (A) จะได้ กำไรสุทธิ (Net Profit) EBITDA เป็นกำไรจากการดำเนินงานจริงๆ เนื่องจากทั้ง I, T, D และ A นั้น ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปกติ เมื่อตัดทั้ง 4 ตัวดังกล่าวออกไป จะทำให้เห็น “ภาพที่แท้จริง” ของการประกอบธุรกิจของบริษัท แต่อย่างไรก็ตาม EBIDA เป็นกำไรแบบหนึ่งในงบกำไรขาดทุน ควรดูกำไรระดับอื่นๆ ประกอบด้วย ทำไม EBITDA จึงสำคัญสำหรับนักลงทุน? แสดงความสามารถในการทำกำไรที่แท้จริง ใช้ในการประเมินมูลค่ากิจการ EBITDA เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ ช่วยให้นักลงทุนและเจ้าของกิจการเห็นภาพรวมการดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้น แต่ธุรกิจควรใช้ EBITDA ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ เพื่อการตัดสินใจที่รอบคอบ การเข้าใจทั้งข้อดีและข้อจำกัดของ EBITDA จะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม การที่เราจะนำตัวเลขดังกล่าวมาคำนวณได้อย่างถูกต้องนั้น ธุรกิจควรมีระบบจัดการบัญชีที่ดี เพื่อให้มั่นใจในข้อมูลทางการเงินของคุณ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สามารถช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ บันทึกข้อมูลทางการเงินได้อย่างครบถ้วน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

18 ต.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME EP.2

ในการบริหารธุรกิจ SME อย่างมีประสิทธิภาพ การวัดผลความสำเร็จด้วยตัวชี้วัด (KPI) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถติดตามผลการดำเนินงานและพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จากบทความ 12 ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME (EP.1) ที่ช่วยให้เห็นภาพชัดเจนถึงสถานะและการเติบโตของธุรกิจขึ้น ใน EP.2 นี้ จะมานำเสนอตัวชี้วัดเพิ่มเติมอีก 7 ตัว ที่มีความสำคัญในการประเมินทั้งด้านการเงิน ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อให้คุณสามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่สำคัญ ดังนี้ 1. Churn Rate (อัตราการยกเลิกการใช้บริการ) อัตราการยกเลิกการใช้บริการ คือ เปอร์เซ็นต์ลูกค้าที่ยกเลิกการใช้บริการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยตัวชี้วัดนี้ช่วยวัดความพึงพอใจของลูกค้าและความสามารถในการรักษาลูกค้า อัตราการยกเลิกการใช้บริการที่มีค่าน้อยหมายถึงว่าอัตราการยกเลิกการใช้บริการต่ำ แสดงว่าลูกค้าพึงพอใจและมีแนวโน้มที่จะใช้บริการของธุรกิจต่อ Churn Rate = ((จำนวนลูกค้าที่สูญเสีย + จำนวนลูกค้าที่กลับมา) ÷ จำนวนลูกค้าทั้งหมด) -1 หน่วย : % 2. Cash Burn (การใช้เงินทุน) การใช้เงินทุน หมายถึงจำนวนเงินสดที่ธุรกิจใช้จ่ายในช่วงเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปจะใช้คำนี้เมื่อพูดถึงธุรกิจที่กำลังเติบโตหรือสตาร์ทอัพที่ยังไม่มีกำไรและจำเป็นต้องใช้เงินทุนที่ได้รับมาเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน คำว่า “Burn” หรือ “เผาผลาญ” สื่อถึงการใช้เงินทุนเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะถึงจุดที่สามารถทำกำไรได้ การใช้เงินทุนค่าน้อย แสดงว่า ธุรกิจใช้เงินน้อยหรือสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี การคำนวณ Cash Burn มักจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก Gross Burn = เงินสดคงเหลือในช่วงต้นเดือน − เงินสดคงเหลือในช่วงสิ้นเดือน ÷ จำนวนเดือน Net Burn = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อเดือน − รายรับทั้งหมดต่อเดือน หน่วย : บาท 3. Cash Out Date (วันหมดเงินสด) วันหมดเงินสด หมายถึง วันที่บริษัทคาดว่าจะใช้เงินสดทั้งหมดที่มีอยู่จนหมด โดยใช้การวิเคราะห์จากการใช้เงินทุนปัจจุบัน เป็นตัวชี้วัดสำคัญในการจัดการกระแสเงินสดและการ วันหมดเงินสด ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อได้โดยไม่ต้องการเงินทุนเพิ่มเติมในทันทีพยากรณ์ทางการเงินสำหรับธุรกิจเริ่มต้น จำนวนวันที่เหลือก่อนหมดเงินสด = เงินสดคงเหลือ ÷ ค่าใช้จ่ายสุทธิต่อเดือน หน่วย : บาท 4. Runway (ระยะเวลาที่สามารถดำเนินธุรกิจได้) Runway หมายถึง ระยะเวลาที่ธุรกิจสามารถดำเนินการได้จนกว่าเงินสดจะหมด ซึ่งคำนวณจากจำนวนเงินสดคงเหลือที่ธุรกิจมีและอัตราการใช้เงินสดต่อเดือน (Burn Rate) เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการจัดการกระแสเงินสดของธุรกิจ โดยเฉพาะสำหรับสตาร์ทอัพหรือธุรกิจที่ยังไม่มีกำไร Runway ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ธุรกิจสามารถดำเนินการได้เป็นระยะเวลานานจนกว่าเงินสดจะหมด Runway = เงินสดคงเหลือ ÷ อัตราการใช้เงินสดต่อเดือน หน่วย : เดือน 5. Operating Expenses (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน) Operating Expenses (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของธุรกิจ เช่น ค่าเช่าสำนักงาน เงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ ค่าไฟ) โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการโดยตรง แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทั้งหมดของธุรกิจ 6. Budget Attainment (การบรรลุเป้าหมายงบประมาณ) การบรรลุเป้าหมายงบประมาณหมายถึงเปอร์เซ็นต์ที่บริษัทสามารถทำรายได้ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายในงบประมาณที่วางไว้ การบรรลุเป้าหมายงบประมาณ ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า สามารถสร้างรายได้ตามหรือเกินกว่างบประมาณที่กำหนดไว้ การบรรลุเป้าหมายงบประมาณ = รายได้จริง ×100 รายได้ที่ตั้งไว้ หน่วย : % 7. Sales Attainment (การบรรลุเป้าหมายการขาย) การบรรลุเป้าหมายการขาย คือเปอร์เซ็นต์ที่ทีมขายสามารถทำรายได้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงเวลาหนึ่ง การบรรลุเป้าหมายการขายยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ทีมขายสามารถทำยอดขายได้ตามหรือเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ การบรรลุเป้าหมายการขาย = ยอดขายจริง÷ เป้าหมายยอดขาย​ ×100 หน่วย : % แหล่งที่มา : อย่างไรก็ตามการจะนำข้อมูลต่างๆ ในธุรกิจมาวิเคราะห์หรือหาค่าจากตัวชี้วัดได้นั้น ควรต้องมีระบบข้อมูลที่แข็งแรง อย่าง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยให้ผู้ประกอบการ SME จัดการงานบัญชีที่ซับซ้อนให้เป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การติดตามรายงานทางการเงิน เช่น ต้นทุนขายและกำไร-ขาดทุน เป็นเรื่องง่ายและชัดเจน การใช้งาน PEAK ยังช่วยให้คุณเห็นรายงานสำคัญ เช่น งบกำไรขาดทุนและงบฐานะการเงินแบบ Real-Time ซึ่งสอดคล้องกับตัวชี้วัดสำคัญที่กล่าวถึงในบทความด้านบน ไม่ว่าจะเป็น การบริหารจัดการต้นทุน และ การวัดกำไรขาดทุน ที่มีบทบาทสำคัญในการประเมินความสำเร็จของธุรกิจ SME ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

11 ต.ค. 2024

PEAK Account

12 min

9 เคล็ดลับการเทรนพนักงานในองค์กรให้เป็นพนักงานมืออาชีพ

การฝึกพนักงานให้กลายเป็นมืออาชีพเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถเสริมสร้างความสำเร็จและความยั่งยืนให้กับธุรกิจ การฝึกฝนไม่ได้เน้นเพียงแค่ทักษะในการทำงาน แต่ยังครอบคลุมถึงการพัฒนาทัศนคติและคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ส่งเสริมประสิทธิภาพและความเป็นผู้นำในระยะยาว ต่อไปนี้คือ 9 เคล็ดลับสำคัญที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ในการเทรนพนักงาน 1. ฝึกนิสัยทำงานให้สำเร็จ ก่อนจะเริ่มต้นฝึกฝนพนักงาน เราต้องเข้าใจก่อนว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้พนักงานทำงานไม่เสร็จตามเป้าหมาย อาจเป็นเพราะขาดทักษะในการจัดการเวลา, ขาดแรงจูงใจ, หรือมีอุปสรรคในการทำงานที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เมื่อทราบสาเหตุแล้วจึงจะสามารถวางแผนการฝึกอบรมที่ตรงจุดได้ การฝึกให้พนักงานมีนิสัยในการทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่กำหนดเป็นสิ่งสำคัญมาก การสอนให้พนักงานรู้จักตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและมีความรับผิดชอบต่อผลงานของตนเองช่วยเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเวลาและงานอย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมให้พนักงานทำงานด้วยความมุ่งมั่นจนงานสำเร็จจะช่วยสร้างแรงผลักดันให้พนักงานมีความภาคภูมิใจในผลงานที่ทำได้ และทำให้องค์กรได้งานที่มีคุณภาพ เนื่องจากมีการวางแผนและติดตามอย่างเป็นระบบ 2. พัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง การตระหนักรู้ในตนเองหรือ Self-awareness เป็นทักษะที่ช่วยให้พนักงานเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน และรู้ว่าตนเองต้องพัฒนาหรือปรับปรุงอะไร การมีความตระหนักรู้ในตนเองสูงทำให้พนักงานสามารถปรับตัวได้ดีต่อสถานการณ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งรับฟังคำแนะนำหรือคำวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ การสอนพนักงานให้ตระหนักรู้ในตนเองจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การให้ Feedback อย่างตรงไปตรงมา ช่วยให้พนักงานทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และสิ่งที่ควรปรับปรุงของตนเอง ส่งผลให้พนักงานสามารถพัฒนาและปรับปรุงข้อบกพร่องได้อย่างตรงจุด ทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. สร้างความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การมีความเห็นอกเห็นใจหรือ Empathy เป็นทักษะที่ช่วยให้พนักงานเข้าใจและเห็นคุณค่าของเพื่อนร่วมงานและลูกค้า การส่งเสริมให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นและแสดงความเข้าใจต่อความรู้สึกหรือปัญหาของคนรอบข้างจะทำให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การทำงานร่วมกันในทีมที่มีความเข้าใจกันเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการทำงาน เจ้าของธุรกิจที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน การฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างตั้งใจ เพื่อให้พนักงานเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น จะทำให้เกิดความร่วมมือในองค์กรและสภาพแวดล้อมการทำงานมีความเป็นมิตรมากขึ้น 4. พัฒนาทักษะการสื่อสาร การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในทุกองค์กร พนักงานควรได้รับการฝึกฝนในการสื่อสารให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย ทั้งการพูด การเขียน และการฟัง เช่น การใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การใช้คำถามเพื่อสร้างความเข้าใจ เป็นต้น ซึ่งช่วยลดความเข้าใจผิดและส่งเสริมการทำงานเป็นทีมที่ดี  จัดกิจกรรมนำเสนองานต่างๆ เพื่อให้พนักงานได้ฝึกพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จะทำให้เกิดดการสื่อสารในองค์กรที่ดีขึ้น และการสื่อสารที่ดียังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ส่งผลให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ 5. สอนวิธีการนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น การนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนควรทำให้เข้าใจง่าย โดยการสอนเทคนิคต่างๆ เช่น การใช้กราฟ การสรุปเนื้อหาให้กระชับ และการใช้ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น สามารถเริ่มจากการสอนให้เข้าใจระดับความรู้ของผู้ฟัง เพื่อเลือกใช้ภาษาและเนื้อหาที่เหมาะสมในการนำเสนอ โดยเฉพาะเมื่อพูดคุยกับฝ่ายงานอื่น การพัฒนาทักษะนี้ช่วยให้พนักงานสามารถถ่ายทอดความรู้และข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพพนักงานเข้าใจตรงกันและนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ทำให้ลดความผิดพลาดในการทำงาน ส่งผลให้การทำงานราบรื่นขึ้น 6. ฝึกการจัดการอารมณ์ การจัดการอารมณ์เป็นทักษะที่สำคัญในที่ทำงาน พนักงานควรได้รับการสอนให้รู้จักการระบุและจัดการกับอารมณ์ของตนเอง เช่น การหาวิธีผ่อนคลาย การตั้งเป้าหมายเพื่อจัดการกับความเครียด ซึ่งเมื่อพนักงานจัดการกับความเครียดและความกดดันได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี ทั้งยังช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิและลดความขัดแย้งในทีม 7. ฝึกให้กล้าแสดงความคิดเห็น การส่งเสริมให้พนักงานกล้าแสดงความคิดเห็นช่วยสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างและส่งเสริมการเรียนรู้ การเปิดช่องทางให้แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ เช่น มีกล่องสำหรับรับข้อเสนอแนะให้พนักงานเขียนความคิดเห็น แล้วนำความคิดเห็นที่ดีไปปรับใช้ เพื่อให้พนักงานเข้าใจว่าความคิดเห็นของพวกเขามีค่าต่อองค์กร  เพราะความคิดเห็นจากคนทำงานจะช่วยให้องค์กรปรับปรุงกระบวนการทำงานได้ตรงจุด หรืออาจได้ไอเดียใหม่ๆจากพนักงาน ที่นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ 8. พัฒนาทักษะบริหารเวลา ทักษะการบริหารเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พนักงานควรได้รับการสอนวิธีการวางแผนและจัดการเวลาให้มีประสิทธิภาพ การสอนให้จัดลำดับความสำคัญของงานและวางกำหนดการที่ชัดเจนการตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว การใช้เครื่องมือช่วยในการบริหารเวลา อย่างเช่นปฏิทินหรือแอปพลิเคชันที่ช่วยติดตามงาน จะทำให้พนักงานรู้ว่างานไหนควรทำก่อน ทำให้สามารถส่งมอบงานได้ตรงเวลา 9. ฝึกให้ยอมรับความผิดพลาดได้ การยอมรับความผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ พนักงานควรได้รับการฝึกฝนให้เห็นคุณค่าของการเรียนรู้จากความผิดพลาด และเข้าใจว่ามันเป็นโอกาสในการพัฒนาตนเอง แทนที่จะมองว่าความผิดพลาดเป็นความล้มเหลว การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดใจรับฟังและให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากความผิดพลาดจะทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยที่จะยอมรับความผิดพลาด ช่วยให้พนักงานมีความมั่นใจมากขึ้นในการทำงาน พร้อมหาทางแก้ไขปัญหาและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก แหล่งที่มา : การพัฒนาเหล่านี้จะช่วยสร้างพนักงานที่มีคุณภาพ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรในระยะยาวได้ นอกจากนี้ การใช้โปรแกรมบัญชี PEAK ในการจัดการข้อมูลทางการเงินและบัญชี ก็สามารถช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยระบบที่ใช้งานง่ายและครอบคลุมทุกขั้นตอนทางการเงินและบัญชี ช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงาน เพิ่มความแม่นยำในการ และทำให้สามารถมุ่งเน้นไปที่การวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังรองรับการทำงานแบบออนไลน์ ทำให้การทำงานร่วมกันภายในทีมเป็นไปอย่างราบรื่น  ทั้งนี้ การใช้งานโปรแกรมบัญชีที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงาน แต่ยังเป็นการส่งเสริมให้พนักงานสามารถใช้ทักษะและความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

9 ต.ค. 2024

PEAK Account

10 min

12 ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME (EP.1)

สำหรับธุรกิจ SME การวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจถือเป็นเรื่องสำคัญในการประเมินความสำเร็จและวางแผนการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วธุรกิจที่กำลังเติบโตมักจะมี Key Metrics หรือตัววัดต่างๆ ในการประเมินสถานการณ์ของธุรกิจ การใช้ตัววัดทางธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพได้แม่นยำ แต่ยังช่วยในการตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้อง ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ 12 KPI วัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME (EP.1) ดังนี้ 1. Gross Margin (อัตรากำไรขั้นต้น) อัตรากำไรขั้นต้น คือ อัตราส่วนเปรียบเทียบผลกำไรขั้นต้นกับยอดขาย บอกถึงความสามารถในการควบคุมต้นทุนสินค้า และการตั้งราคาขายสินค้า หากอัตรากำไรขั้นต้นยิ่งมากแสดงว่าเราขายสินค้าได้ราคาดี ในขณะที่ต้นทุนถูก สูตรคำนวณ อัตรากำไรขั้นต้น = (กำไรขั้นต้น ÷ ยอดขายหรือรายได้หลัก) x 100หน่วย : % 2. Gross Profit (กำไรขั้นต้น) กำไรขั้นต้น คือ กำไรที่เกิดจากรายได้ทั้งหมด หักด้วย ต้นทุนขาย คำนวณจากยอดขายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือบริการ กำไรขั้นต้น เป็นตัวช่วยบอกเราได้ว่า สินค้าและบริการของบริษัท สามารถตั้งราคาขายได้สูงกว่าต้นทุนมากน้อยเพียงใด กำไรขั้นต้นยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ธุรกิจสามารถทำกำไรได้มากจากยอดขายสุทธิ สูตรคำนวณ กำไรขั้นต้น = รายได้ – ต้นทุนขายหน่วย : บาท 3. Net Income (กำไรสุทธิ) กำไรสุทธิ คือ รายได้สุทธิหรือผลกำไรที่บริษัทได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงภาษีและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับความสามารถในการทำกำไรของบริษัท สูตรคำนวณ กำไรสุทธิ = รายได้รวม – ค่าใช้จ่ายรวมหน่วย : บาท 4. Customer Acquisition Cost (ต้นทุนในการหาลูกค้า) Customer Acquisition Cost (CAC) คือ ต้นทุนในการหาลูกค้า ซึ่งคำนวณมาจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดและการขายที่บริษัทใช้ในการหาลูกค้าในช่วงเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในการหาลูกค้าควรสัมพันธ์กับจำนวนลูกค้าที่ได้มา ต้นทุนในการหาลูกค้า = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดทางการตลาดและการขายหน่วย : บาท สูตรคำนวณ ต้นทุนในการหาลูกค้าต่อ 1 ราย = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดทางการตลาดและการขาย ÷ จำนวนลูกค้าใหม่ หน่วย : บาท/ราย 5. CAC Payback (ระยะเวลาคืนทุนจากการหาลูกค้า) CAC Payback เป็นระยะเวลาที่ใช้ในการคืนทุนจากการลงทุนในการหาลูกค้า โดยการคำนวณจากระยะเวลาที่ต้องใช้เพื่อให้ได้กำไรที่เท่ากับต้นทุนในการหาลูกค้า CAC Payback ยิ่งน้อยยิ่งดี แสดงว่าใช้ระยะเวลาคืนทุนน้อย สูตรคำนวณ ระยะเวลาคืนทุนจากการหาลูกค้า = (CAC ต่อ 1 ราย ÷ รายได้ที่ได้รับจากลูกค้าต่อ 1 รายต่อเดือน) x อัตรากำไรขั้นต้นหน่วย : เดือน 6. EBITDA Margin (อัตรากำไร EBITDA) อัตรากำไร EBITDA คือกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย คำนวณนำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทบวกกับ ค่าเสื่อมราคา และบวกกับ ค่าตัดจำหน่าย สูตรคำนวณ อัตรากำไร EBITDA = EBITDA ÷ รายได้ทั้งหมดหน่วย : % 7. EBITDA EBITDA คือ ตัววัดความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งเป็นกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ทำให้เห็นถึงผลการดำเนินงานโดยตรง ค่า EBITDA ยิ่งมาก แสดงว่าทำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทได้มาก สูตรคำนวณ EBITDA = กำไรก่อนหักดอกเบี้ย, ภาษี, ค่าเสื่อมราคา, และค่าตัดจำหน่ายหน่วย :บาท 8. Monthly Recurring Revenue (รายได้ที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเดือน) รายได้ที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเดือน เป็นจำนวนเงินที่บริษัทคาดว่าจะได้รับเป็นรายเดือนจากลูกค้าที่ใช้บริการแบบสมัครสมาชิกหรือบริการที่มีระยะเวลาสัญญา 9. Annual Recurring Revenue (รายได้ที่เกิดขึ้นซ้ำต่อปี) Annual Recurring Revenue คือ รายได้ที่เกิดขึ้นซ้ำต่อปี เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นซ้ำต่อปี เพื่อประเมินอัตราการเติบโต และผลกระทบจากกรณีลูกค้ายกเลิกการเป็นสมาชิก 10. Revenue Run Rate (อัตรารายได้) อัตรารายได้ คือการคาดการณ์รายได้ของธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต โดยอิงจากข้อมูลในปัจจุบัน ซึ่งใช้เพื่อคาดการณ์รายได้ประจำปี สูตรคำนวณ อัตรารายได้ = รายได้ในช่วงเวลาสั้น (เช่น หนึ่งเดือน) ×จำนวนช่วงเวลาในปีหน่วย : บาท 11. Expansion Revenue (รายได้จากการขยายตัว) รายได้จากการขยายตัว คือรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าและบริการเพิ่มเติมให้กับลูกค้าเดิม เช่น รายได้จากการอัปเกรดบริการ สูตรคำนวณ รายได้จากการขยายตัว = รายได้จากการเกิดจากการขายเพิ่มเติม−รายได้เดิมของลูกค้าเดิมหน่วย : บาท 12. Average Revenue per User (รายได้เฉลี่ยต่อลูกค้า 1 คน) Average Revenue Per User หรือ ARPU คือ รายได้เฉลี่ยของผู้ให้บริการต่อลูกค้า 1 คน ในช่วงเวลาหนึ่ง มักจะคิดเป็นรายเดือน ARPU เป็นตัววัดที่สำคัญสำหรับการประเมินมูลค่าของลูกค้าแต่ละราย ARPU ยิ่งมาก แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการสร้างรายได้ต่อหัวของลูกค้าสูง สูตรคำนวณ รายได้เฉลี่ยต่อลูกค้า 1 คน = รายได้จากการให้บริการต่อเดือน ÷ จำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมดหน่วย : บาท จะเห็นว่ามีตัวชี้วัดที่หลายหลากในการประเมินประสิทธิภาพของธุรกิจและการวางแผนเชิงกลยุทธ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละอุตสาหกรรมอาจมีตัวชี้วัดที่แตกต่างกัน แม้อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ตัววัดอาจเปลี่ยนไปตามช่วงการเติบโตของธุรกิจ การเลือกตัววัดที่เหมาะสม สามารถช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญในการตัดสินใจ ทั้งในด้านการปรับปรุงการดำเนินงานและการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ยังมีตัวชี้วัดความสำเร็จอีกหลายตัวที่น่าสนใจ ซึ่งเราจะนำมาแบ่งปันเพิ่มเติมใน EP.2 อย่าลืมติดตามเพื่อไม่พลาดข้อมูลสำคัญที่จะช่วยยกระดับธุรกิจของคุณ! แหล่งที่มา : PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ พร้อมช่วยจัดการงานบัญชีที่ยุ่งยากของคุณให้เป็นระบบ เพื่อให้คุณติดตามรายงานการเคลื่อนไหวทางการเงินรวมถึงต้นทุนขายได้ นอกจากนี้ยังสามารถรายงานสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รายงานสมุดบัญชีรายวัน รายงานแยกประเภท งบกำไรขาดทุน งบฐานะการเงิน ทำให้เห็นกำไร-ขาดทุน แบบ Real-Time ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก