PEAK Account

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

8 ก.ค. 2025

PEAK Account

3 min

Update Function PEAK 08/07/2025

🚀 Revamped User Permission System! Professional-level team control — more flexible and accurate than ever 📢 The latest user permission management system is designed for growing businesses that need clarity, flexibility, and maximum security in managing system users.This new permission system allows you to…✅ Systematically manage employee permissions in your organization✅ Precisely control each person’s role✅ Reduce errors when inviting users✅ Enhanced security with notifications via email and in-app alerts every time a user is added, a new permission is granted, or an existing permission is modified The system now includes the following updates: For existing users, don’t worry — PEAK will automatically migrate your roles to the new structure with clear naming, ensuring seamless operation and easier tracking. 📘 User permission setup guide:  ???‍🏫 User Rights Setup Training SeminarTuesday, July 15, 2025 | 10:00–11:00 AMJoin instantly — no pre-registration needed (passcode: peak)🔗 🚀 transforms your payment-side accounting experience — more accurate bookkeeping, even when payment is made before the document date 📢 The system now allows payment dates to be recorded earlier than the document issue date. This helps reduce accounting errors and ensures documents reflect actual transactions more accurately. Here’s how the system has been adjusted: Summary of the article Summary of the monthly function updates for July 2025, Round 1 with new features to allow users to experience accounting more conveniently and accurately. PEAK is ready to develop features to better meet your work needs in terms of accuracy, security, and flexibility so that every business can grow confidently in every step of accounting. You can follow the news and public relations information through the company’s channels. Try PEAK accounting program for free! 30 days, value 1,200 bahtClick  Call Center: 1485LINE: @peakaccountFor more information, click 

8 ก.ค. 2025

PEAK Account

5 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 08/07/2025

อัปเดต 2 ฟีเจอร์ใหม่ ช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้นกว่าเดิม 🚀 ยกเครื่องระบบสิทธิ์ผู้ใช้งานใหม่!  ควบคุมทีมได้ระดับโปร ยืดหยุ่น และแม่นยำยิ่งกว่าเดิม 📢การจัดการสิทธิ์การใช้งานใหม่ล่าสุด ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจที่เติบโต ต้องการความชัดเจน ยืดหยุ่น และปลอดภัยสูงสุดในการจัดการผู้ใช้งานในระบบ สิทธิ์การใช้งานรูปแบบใหม่นี้จะช่วยให้คุณ… ✅ จัดการสิทธิ์พนักงานในองค์กรอย่างเป็นระบบ✅ ควบคุมบทบาทแต่ละคนได้อย่างแม่นยำ✅ ลดข้อผิดพลาดในการเชิญผู้ใช้งาน✅ ปลอดภัยขึ้นด้วยระบบแจ้งเตือนที่อีเมลและกระดิ่งหน้าโปรแกรมทุกครั้ง เมื่อมีการเพิ่มผู้ใช้งาน เพิ่มสิทธิ์การใช้งานใหม่หรือแก้ไขสิทธิ์  โดยระบบได้มีการปรับ ดังนี้ สำหรับผู้ใช้งานเดิม ไม่ต้องกังวล โดย PEAK จะโอนย้ายสิทธิ์ของคุณให้อัตโนมัติตามโครงสร้างใหม่ พร้อมตั้งชื่อให้ชัดเจน เพื่อความต่อเนื่องในการทำงาน และง่ายต่อการตรวจสอบ คู่มือการตั้งค่าสิทธิ์ใช้งาน 🧑‍🏫 สัมมนาสอนการใช้งาน วันอังคารที่ 15 ก.ค. 68 เวลา 10.00-11.00 น.เข้าร่วมได้เลย ไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า (passcode: peak)Link nbsp; 🚀 อัปเกรด พลิกประสบการณ์การทำบัญชีฝั่งจ่าย บันทึกบัญชีแม่นยำขึ้น แม้ชำระเงินก่อนวันออกเอกสาร 📢 ระบบเปิดให้สามารถบันทึกวันที่จ่ายชำระเงินก่อนวันที่ออกเอกสารได้ เพื่อลดข้อผิดพลาดด้านบัญชี และทำให้เอกสารสอดคล้องกับธุรกรรมจริงมากยิ่งขึ้น โดยระบบปรับข้อมูล ดังนี้ สรุปท้ายบทความ สรุปการอัปเดตฟังก์ชันประจำเดือน กรกฎาคม 2568 รอบที่ 1 กับฟีเจอร์ใหม่เผื่อให้ผู้ใช้งานสามารถสัมผัสประสบการณ์การทำบัญชีได้อย่าง สะดวกแม่นยำขึ้น PEAK พร้อมพัฒนาฟีเจอร์ให้ตอบโจทย์การทำงานของคุณยิ่งขึ้น ทั้งด้านความแม่นยำ ความปลอดภัย และความยืดหยุ่น เพื่อให้ทุกธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างมั่นใจในทุกขั้นตอนการทำบัญชีสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางของบริษัท ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

6 ก.ค. 2025

PEAK Account

15 min

จดทะเบียนเพิ่มทุน เตรียมความพร้อมก่อนขยายธุรกิจ!

การดำเนินธุรกิจทุกธุรกิจมีเป้าหมายเพิ่มขยายการเติบโตให้ได้มากที่สุด และในเส้นทางการเติบโตของหลายองค์กร ก็มักจะมีการ จดทะเบียนเพิ่มทุน เข้ามาด้วยเสมอ เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งที่บริษัทมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้มากขึ้น เจ้าของธุรกิจหลายคนเลือกที่จะ จดทะเบียน เพิ่มทุน เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจต่อสำหรับรองรับการเติบโตในอนาคต สำหรับท่านไหนที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพิ่มทุน บทความนี้เรารวบรวมทุกเรื่องที่ควรรู้จะมีอะไรบ้าง มาหาคำตอบกัน จดทะเบียนเพิ่มทุน คืออะไร? การจดทะเบียนเพิ่มทุน คือ การที่บริษัทที่มีการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต้องการเพิ่มเงินทุนในการทำธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าในการจดทะเบียนครั้งแรกเริ่มจะต้องมีการแจ้งเงินทุนที่ใช้ในการจดทะเบียนอยู่แล้ว แต่สำหรับหลายธุรกิจที่ไม่ว่าจะต้องการขยายธุรกิจให้เติบโต หรือการเงินขาดสภาพคล่องก็มักที่จะต้องแจ้งจดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำเงินทุนเข้ามาใช้ขยายหรือแก้ปัญหาธุรกิจต่อไป ทำไมต้อง จดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องใช้เงินเพิ่มในการบริหารธุรกิจ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนเข้ามา เพื่อให้บริษัทมีเงินทุนสำหรับใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ นอกจากนี้สำหรับมองว่าการที่บริษัทของเราเงินทุนจดทะเบียนที่สูง จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือตามไปด้วย อย่างไรก็ตามกรณีนี้อาจไม่จำเป็นมากขนาดนั้น ควรวิเคราะห์เงินในการจดทะเบียนจากแผนธุรกิจ และรูปแบบของธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่มากกว่า หากจำเป็นต้องขยายธุรกิจจริง ๆ ค่อยจดทะเบียนเพิ่มทุนภายหลังได้  เมื่อไหร่ที่ควร จดทะเบียนเพิ่มทุน สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนก็มีจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการจดเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจใช้เงินได้อย่างคุ้มค่า ไม่ต้องรีบจดทะเบียนทุนสูงตั้งแต่แรก โดยปกติแล้วช่วงเวลาที่ควรจดทะเบียนเพิ่มทุนแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลัก ๆ  ดังนี้ 1. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำทุนมาขยายธุรกิจ จะเป็นช่วงที่บริษัทกำลังเติบโต จำเป็นต้องขยายธุรกิจ เพิ่มพนักงาน เพิ่มเครื่องจักร หรือสาขา เมื่อธุรกิจของเราดำเนินไปจนถึงจุดนั้นแล้ว ย่อมสามารถเพิ่มเงินทุนเข้าไปในการดำเนินธุรกิจต่อได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินใจจดทะเบียนเพิ่มแนะนำให้ลองคาดการณ์รายได้ จัดวางแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคต เงินทุนที่เพิ่มเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไรให้เรียบร้อยเพื่อการใช้เงินได้อย่างคุ้มค่านั่นเอง 2. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อเพิ่มหุ้นส่วนในองค์กร นอกจากนี้ในการเพิ่มทุนหลายครั้งไม่เพียงแค่เป็นการขยายธุรกิจแต่เป็นการรับหุ้นส่วนรายใหญ่เข้ามาเพิ่มเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นนั่นเอง โดยลักษณะนี้วัตถุประสงค์อาจไม่ใช่การนำเงินไปใช้ในการขยายเพียงอย่างเดียว แต่หลายครั้งได้คู่คิดด้านธุรกิจมาเพิ่มก็สามารถจดเข้ามาเพื่อช่วยกันดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคตได้ นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่หลายองค์กรใช้เพื่อขยายการเติบโต และนอกเหนือจากสองข้อที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ในบางครั้งบริษัทที่อาจไม่ได้ดำเนินธุรกิจไปได้ดีมากนัก ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติมในการช่วยกู้ธุรกิจให้อยู่รอดได้ และในกรณีที่ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ เจ้าของธุรกิจก็มักจะเป็นผู้ที่นำเงินของตัวเองอัดฉีดเข้ามาเพื่อเพิ่มเงินทุนให้บริษัท โดยต้องการให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปด้วย ทั้งนี้ก่อนที่จะเลือกใช้วิธีนี้ ขอแนะนำให้จัดทำแผนกู้วิกฤตให้เรียบร้อย เงินที่นำเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไร และความเป็นไปได้ในการฟื้นตัวของธุรกิจนั้นมีมากน้อยแค่ไหน เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้แม่นยำขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการเพิ่มทุน เช่น  บริษัท A เป็นบริษัท Tech Startup แอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่เพิ่งเริ่มต้นได้ปีกว่า เริ่มต้นจดบริษัทด้วยทุน 1 ล้านบาท แต่ด้วยแนวโน้มเทรนด์ของสุขภาพที่จากการวิเคราะห์ของเจ้าของธุรกิจแล้ว มองว่าน่าจะมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงยอดผู้ใช้งานแอปพลิเคชันต่อวันก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยด้านโอกาสทั้งในมุมของเทรนด์ภาพรวม และยอดการใช้งานในปัจจุบัน ทำให้บริษัท A ตัดสินใจที่จะเพิ่มเงินทุนเพื่อทำการพัฒนาแอปพลิเคชันให้สามารถรองรับการใช้งานที่มากขึ้น การทำการตลาดที่เจาะกลุ่มโดยใช้ตัวอย่าง Persona จากกลุ่มลูกค้าปัจจุบัน และมองหากลุ่มใหม่ รวมไปถึงการ พัฒนาฟีเจอร์ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าในใช้งานแอปพลิเคชัน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่บริษัท A ต้องการพัฒนาเป็นการนำเงินทุนที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเข้ามาใช้ในการจ้างพนักงาน งบการตลาด สวัสดิการเพื่อดึงดูดพนักงานมากฝีมือมาร่วมในโปรเจกต์นี้ โดยแนวโน้มของบริษัท A เป็นไปในทางที่ดี และการจดทะเบียนเพิ่มทุนครั้งนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตในอนาคต และเป็นบันไดไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้นขององค์กร เอกสารสำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุน ในส่วนถัดมาเราขอพาทุกท่านมาดูเอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนกันบ้าง โดยเอกสารที่ต้องใช้ทั้งหมดประกอบไปด้วยเอกสารดังนี้ 1. เอกสารคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (บอจ. 1) 2. แบบรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด 3. แบบจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ หรือ มติพิเศษ (บอจ. 4) 4. หนังสือบริคณหสนธิ ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว พร้อมจ่ายค่าอากรแสตมป์ 50 บาท 5. หลักฐานรับเงินค่าหุ้นเพิ่มทุน ที่บริษัทออกให้ผู้ถือหุ้น 6. คำสั่งศาลในกรณีที่ฟื้นฟูกิจการ 7. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการที่ลงชื่ออยู่ในคำขอจดทะเบียน 8. สำเนาหลักฐานรับรองลายมือชื่อ ถ้ามี 9. หนังสือมอบอำนาจ ถ้ามี 10. สำหรับธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเติมมากกว่า 5 ล้านบาท จำเป็นต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมตามคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนมีด้วยกัน 10 ฉบับข้างต้น นอกจากนี้เอกสารทุกฉบับที่เป็นสำเนา จำเป็นต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้อง ยกเว้นในส่วนของบัตรประชาชนที่เจ้าของบัตรต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องด้วยตัวเอง นอกจากนี้ในการจดทะเบียนเพิ่มทุนจะมีค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระดังนี้ ขั้นตอนการ จดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สำหรับขั้นตอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สามารถทำตาม 3 ขั้นตอนได้ดังนี้ 1. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ขั้นตอนแรกเป็นการออกหนังสือสำหรับการนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยสามารถทำได้ผ่านช่องทางการส่งไปรษณีย์ หรือการส่งหนังสือมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น นอกจากนี้บริษัทที่มีหุ้นผู้ถือ หรือมีข้อบังคับ จำเป็นที่จะต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ด้วย ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นต้องดำเนินการก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามแต่ข้อบังคับกำหนดไว้ 2. จัดการประชุมผู้ถือหุ้น ถัดมาเมื่อทำการออกหนังสือนัดประชุมเรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนของการจัดประชุมจริง โดยผู้ร่วมประชุมต้องมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คนขึ้นไป อีกทั้งเมื่อนับจำนวนหุ้นของผู้ร่วมประชุมแล้วต้องมากกว่า 1 ใน 4 ของหุ้นทุนทั้งหมด โดยในการประชุมจะเป็นวาระการอนุมัติการจดทะเบียนเพิ่มทุน ซึ่งคะแนนที่ได้รับต้องมากกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมดที่เข้าร่วมในการประชุม 3. ยื่นจดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อประชุมและได้รับการอนุมัติในการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมแล้ว เป็นขั้นตอนการยื่นเอกสารให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยต้องดำเนินการภายใน 14 วันหลังจากที่มีมติให้เพิ่มทุนในการจดทะเบียน เพียง 3 ขั้นตอนก็เสร็จเรียบร้อย อย่าลืมตรวจสอบเอกสารที่ต้องนำไปใช้ในการเพิ่มทุนให้เรียบร้อย เพื่อให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนได้อย่างรวดเร็ว ความสำคัญในการจดทะเบียนเพิ่มทุน คือการรู้ว่าต้องเพิ่มทุนเมื่อไหร่ การจดทะเบียนไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด จะมีขั้นตอนเอกสารที่น้อยกว่าในขั้นตอนจดทะเบียนบริษัทครั้งแรก ทั้งนี้สิ่งที่ควรให้ความสำคัญแท้จริงคือเหตุผลในการเพิ่มทุน และการวางแผนถึงอนาคตหลังจากที่ทำการเพิ่มทุนแล้ว เพื่อให้สามารถต่อยอดจากจำนวนทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจ สำหรับท่านไหนที่กำลังคิดตัดสินใจในการจดทะเบียนเพิ่มทุน และเตรียมความพร้อมในการขยายธุรกิจให้เติบโต PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ครบวงจร พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลระบบบัญชีของคุณให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงโปรแกรมอื่น ๆ อาทิ PEAK Payroll โปรแกรมเงินเดือน, PEAK Asset โปรแกรมจัดการสินทรัพย์, PEAK Board โปรแกรมวิเคราะห์ธุรกิจ, PEAK Tax โปรแกรมจัดการภาษี ซึ่งโปรแกรมทั้งหมดมาพร้อมคู่มือการใช้งาน ปรับใช้ในองค์กรได้อย่างง่ายดาย! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

4 ก.ค. 2025

PEAK Account

5 min

สิทธิพิเศษลูกค้า PEAK เปิดเว็บกับ MakeWebEasy ลดสูงสุด 20%

สำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจที่ใช้ PEAK อยู่แล้ว และกำลังมองหาช่องทางออนไลน์ในการเริ่มโปรโมทธุรกิจ หรือขยายธุรกิจบนออนไลน์ การสร้างเว็บไซต์ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ยังคงมีประสิทธิภาพและสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจได้เป็นอย่างดี วันนี้ PEAK ได้ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ MakeWebEasy แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปของไทย ที่ทำให้ทุกธุรกิจเติบโตบนออนไลน์มามากกว่า 9,000 ธุรกิจ ขอมอบโปรโมชั่นสุดคุ้มที่ออกแบบมาให้ธุรกิจของคุณสามารถขยายตลาดบนออนไลน์ได้แบบครบครัน เลือกได้เลยตามความต้องการของคุณเอง 3 โปรโมชันเด็ด เฉพาะ สิทธิพิเศษลูกค้า PEAK เท่านั้น! สิทธิพิเศษแรก รับส่วนลด 10% เมื่อซื้อแพ็กเกจเว็บไซต์ของ MakeWebEasy เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการเริ่มต้นมีเว็บไซต์อย่างรวดเร็วด้วยเทมเพลตเว็บไซต์ที่เรามีให้ สร้างสรรค์เว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง พร้อมฟีเจอร์ที่ทุกธุรกิจต้องการ เช่น ระบบตะกร้าสินค้า ระบบบทความ รองรับโค้ดสำหรับการทำโฆษณาในทุกช่องทาง     อ่านรายละเอียดบริการ : www.makewebeasy.com/th/website-package  สิทธิพิเศษที่สอง รับส่วนลด 15% เมื่อซื้อแพ็กเกจเว็บไซต์ และบริการเสริมจาก MakeWebEasy เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการมากกว่าเว็บไซต์พื้นฐาน โดยคุณสามารถเลือกรับบริการเสริม 1 บริการ เพื่อเสริมประสิทธิภาพของเว็บไซต์ให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องการเว็บไซต์ที่มีดีไซน์เฉพาะตัว สวยงาม และใช้งานง่าย ทีมออกแบบมืออาชีพของ MakeWebEasy จะช่วยสร้างสรรค์เว็บไซต์ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของแบรนด์คุณได้อย่างโดดเด่น ทำให้เว็บไซต์ของคุณดูน่าเชื่อถือและดึงดูดลูกค้ามากขึ้น อ่านรายละเอียดบริการ : www.makewebeasy.com/th/website-design  สำหรับผู้ที่ต้องการให้เว็บไซต์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นผ่านการทำการตลาด โดยโปรโมทเว็บไซต์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การทำ SEO (Search Engine Optimization) เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาบน Google หรือการทำโฆษณาออนไลน์อย่าง Google Ads เพื่อเพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์อย่างรวดเร็วและสร้างยอดขายได้ทันที อ่านรายละเอียดบริการ SEO : www.makewebeasy.com/th/seo-suggestion  อ่านรายละเอียดบริการ Google : www.makewebeasy.com/th/google-adwords  สิทธิพิเศษที่สาม รับส่วนลด 20% เมื่อซื้อแพ็กเกจเว็บไซต์ บริการออกแบบเว็บไซต์ + การตลาดออนไลน์ จาก MakeWebEasy แพ็กเกจที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับธุรกิจที่ต้องการโซลูชั่นทางธุรกิจออนไลน์แบบครบวงจร  เริ่มตั้งแต่การมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง การออกแบบเว็บไซต์ที่เป็นเอกลักษณ์จากทีมดีไซน์เนอร์ ไปจนถึงการทำการตลาดออนไลน์ผ่านการวางโครงสร้างที่ถูกหลัก SEO และยิงโฆษณาให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักและสร้างยอดขายด้วย Google Ads  ________________________________ สิทธิพิเศษลูกค้า PEAK จาก MakeWebEasy หากคุณกำลังจะสร้างเว็บไซต์ใหม่ เวลานี้คุ้มที่สุด เพราะเราพร้อมมอบสิทธิพิเศษในการใช้บริการเว็บไซต์ของ MakeWebEasy ในราคาที่พิเศษกว่าใคร วันนี้ – 31 สิงหาคม 2568 เท่านั้น สนใจลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ที่  ________________________________ สอบถามรายละเอียดบริการสร้างเว็บไซต์กับ MakeWebEasy Facebook Page : www.facebook.com/makewebeasy  Add Line : 40xsm5339b  Call : 022177999 

27 มิ.ย. 2025

PEAK Account

13 min

ใบสั่งซื้อ Purchase Order (PO) คืออะไร พร้อมตัวอย่าง

ใบสั่งซื้อ PO (Purchase Order): หัวใจสำคัญของการควบคุมต้นทุนและสร้างระบบให้ธุรกิจคุณ ในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ที่การแข่งขันสูง การบริหารจัดการต้นทุนและการควบคุมการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีระบบเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเอกสารสำคัญอย่าง ใบสั่งซื้อ (Purchase Order หรือ PO) ที่เป็นมากกว่าแค่กระดาษ แต่คือกลไกสำคัญในการบริหารจัดการการเงินและสร้างความโปร่งใสให้ธุรกิจของคุณ มาดูกันว่าทำไมใบ PO ถึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทุกกิจการไม่ควรมองข้าม ใบสั่งซื้อ PO สำคัญอย่างไรกับธุรกิจของคุณ? การใช้ใบสั่งซื้อ PO อย่างถูกวิธี ไม่เพียงช่วยให้คุณจัดการเรื่องการจัดซื้อได้ง่ายขึ้น แต่ยังเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานโดยรวม ใบสั่งซื้อ PO คืออะไร แตกต่างจากใบขอซื้อ PR อย่างไร? ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง มีเอกสารสำคัญสองประเภทที่มักสร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการ นั่นคือ ใบสั่งซื้อ (PO) และ ใบขอซื้อ (PR) แม้จะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่มีวัตถุประสงค์และการใช้งานที่แตกต่างกัน มาทำความเข้าใจความต่างนี้กัน ใบสั่งซื้อ (Purchase Order – PO) คือ ใบสั่งซื้อ (PO) เป็นเอกสารทางธุรกิจที่ออกโดย ฝ่ายจัดซื้อขององค์กร (ผู้ซื้อ) เพื่อ สั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขาย (Supplier) อย่างเป็นทางการ เปรียบเสมือนสัญญาซื้อขายที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเมื่อผู้ขายตอบรับ ใบสั่งซื้อ PO จะถูกจัดทำขึ้น หลังจากที่ใบขอซื้อ (PR) ได้รับการอนุมัติแล้ว โดยจะมีรายละเอียดครบถ้วน เช่น: ใบขอซื้อ (Purchase Requisition – PR) คือ ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสาร ภายในองค์กร ที่แผนกต่าง ๆ (เช่น แผนกผลิต, แผนกการตลาด) ใช้แจ้งความต้องการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการไปยัง ฝ่ายจัดซื้อ โดยระบุรายละเอียดสินค้าที่ต้องการ เหตุผลที่ต้องใช้ และงบประมาณที่เกี่ยวข้อง เอกสาร PR ต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจากหัวหน้าแผนกหรือผู้มีอำนาจก่อนที่จะส่งต่อไปยังฝ่ายจัดซื้อ เพื่อยืนยันความจำเป็นและความเหมาะสมของการจัดซื้อ ระบบ PR ช่วยควบคุมการใช้จ่าย ป้องกันการสั่งซื้อที่ไม่จำเป็น รวมถึงป้องกันการทุจริตของพนักงานและผู้ขาย สรุปความแตกต่างง่ายๆ: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีใน ใบสั่งซื้อ PO ใบสั่งซื้อ PO ที่สมบูรณ์และถูกต้อง ควรประกอบด้วยข้อมูลสำคัญเหล่านี้ เพื่อลดข้อผิดพลาดและข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีในใบขอซื้อ PR ใบขอซื้อ (PR) แม้จะเป็นเอกสารภายใน แต่ก็มีความสำคัญไม่แพ้ใบสั่งซื้อ โดยข้อมูลที่ครบถ้วนในใบ PR จะช่วยให้ฝ่ายจัดซื้อดำเนินการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว: ตัวอย่างใบสั่งซื้อ PO และ ใบขอซื้อ PR เพื่อให้เข้าใจรูปแบบและองค์ประกอบของเอกสารทั้งสองประเภทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองจินตนาการถึงโครงสร้างพื้นฐานดังนี้: ตัวอย่างโครงสร้างใบขอซื้อ PR ตัวอย่างใบขอซื้อ PO สรุปท้ายบทความ การมีระบบเอกสารการสั่งซื้อที่แข็งแกร่ง ไม่เพียงช่วยควบคุมค่าใช้จ่าย ป้องกันการทุจริต และสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อขององค์กรได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการบริหารจัดการธุรกิจในภาพรวม เจ้าของธุรกิจจึงควรเข้าใจและใช้ประโยชน์จากใบสั่งซื้อ PO อย่างเต็มที่ สำหรับธุรกิจยุคใหม่ การพึ่งพาระบบมือหรือเอกสารกระดาษอาจไม่เพียงพออีกต่อไป PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยฟังก์ชันที่รองรับการสร้างใบสั่งซื้อ (PO) ได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถจัดการคำสั่งซื้อจากผู้จัดจำหน่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ PEAK ช่วยให้คุณบันทึกและติดตามข้อมูลการสั่งซื้อ สินค้า บันทึกซื้อสินค้า และเงื่อนไขการชำระเงินได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งสามารถ เชื่อมโยงข้อมูลกับใบส่งสินค้าและใบแจ้งหนี้ได้ทันที ทำให้การจัดการบัญชีตั้งแต่การสั่งซื้อ การรับสินค้า ไปจนถึงการชำระเงินเป็นไปอย่างราบรื่น มีระบบ และแม่นยำมากยิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาด ประหยัดเวลา และช่วยให้คุณมีข้อมูลเชิงลึกสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจที่ดีขึ้นเสมอ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 มิ.ย. 2025

PEAK Account

24 min

เริ่มธุรกิจให้ถูกต้อง! จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การเริ่มต้นธุรกิจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและท้าทาบ แต่หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่หลายคนอาจมองข้าม คือ การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ จดทะเบียนการค้า ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียว หรือกำลังจะจัดตั้งนิติบุคคล การทำความเข้าใจขั้นตอนและประเภทของการจดทะเบียนจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย บทความนี้จะพาคุณรู้จักการจดทะเบียนแต่ละประเภทมากขึ้น  จดทะเบียนพาณิชย์ คืออะไร ทำไมต้องจด? การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การแจ้งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบว่าคุณกำลังดำเนินกิจการค้า ซึ่งมีประโยชน์ต่อธุรกิจในหลายประการ เช่น: ประเภทการ จดทะเบียนพาณิชย์: บุคคลธรรมดา vs. นิติบุคคล ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จดทะเบียนพาณิชย์ หรีอ จดทะเบียนการค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะของกิจการ ดังนี้ 1. จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินธุรกิจในนามส่วนตัว (กิจการเจ้าของคนเดียว) ไม่ได้มีการแยกนิติบุคคลออกจากเจ้าของกิจการ การจดทะเบียนประเภทนี้จะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ข้อดีคือขั้นตอนไม่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายน้อย ความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจะครอบคลุมไปถึงทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าของด้วย สรุปง่ายๆ: หากคุณเป็นบุคคลธรรมดาที่เปิดร้าน มีหน้าร้าน มีการซื้อมาขายไป หรือให้บริการที่มีลักษณะเป็นการค้าอย่างสม่ำเสมอ และมีรายได้ในระดับหนึ่ง คุณมีหน้าที่ต้อง จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา  ใครบ้างที่ “ได้รับการยกเว้น” ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์? 2. จดทะเบียนนิติบุคคล การเลือกรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีผลต่อทั้งความรับผิดชอบทางกฎหมาย ภาระภาษี และความน่าเชื่อถือในสายตาคู่ค้าและลูกค้า โดยหลักๆ แล้ว รูปแบบนิติบุคคลที่นิยมจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจในประเทศไทยมี 3 รูปแบบดังนี้ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) เป็นสัญญาที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อประกอบกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันกำไร สถานะทางกฎหมาย: ห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล หรือ ไม่จดทะเบียน ก็ได้ ความรับผิดชอบ: หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวน หมายความว่า หากห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินของกิจการ หุ้นส่วนแต่ละคนจะต้องนำทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ชำระหนี้ด้วย ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นได้ การบริหารจัดการ: หุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการได้ เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น ข้อดี: จัดตั้งง่าย มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีหุ้นส่วนไว้วางใจซึ่งกันและกันสูง ข้อเสีย: ความรับผิดชอบไม่จำกัด ทำให้ทรัพย์สินส่วนตัวมีความเสี่ยง 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) นิยาม: เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภทขึ้นไป สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคล แยกจากตัวบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วน ความรับผิดชอบ: มีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน หรือทรัพย์สินมาลงหุ้นได้ (ห้ามนำแรงงานมาลงหุ้นในส่วนของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด) การบริหารจัดการ: ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ข้อดี: หุ้นส่วนบางคนสามารถจำกัดความรับผิดชอบได้ ทำให้ดึงดูดผู้ร่วมลงทุนได้ง่ายขึ้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน ข้อเสีย: การบริหารจัดการถูกจำกัดโดยหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น 3. บริษัทจำกัด (Limited Company) นิยาม: องค์การธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นอย่างสิ้นเชิง ความรับผิดชอบ: ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังชำระไม่ครบ (หากชำระเต็มจำนวนแล้ว ก็ไม่มีความรับผิดเพิ่มเติม) ทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจะไม่ถูกนำมาใช้ชำระหนี้ของบริษัท ทุนจดทะเบียน: ปัจจุบันกฎหมายกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำเพียง 10 บาท โดยหุ้นสามัญต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท และต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (ข้อมูลอัปเดต ณ ปัจจุบัน) แม้ไม่มีขั้นต่ำสูง แต่โดยทั่วไปนิยมจดทะเบียนทุนสูงขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือ การบริหารจัดการ: ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น มีการประชุมผู้ถือหุ้นและปฏิบัติตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด การระดมทุน: สามารถระดมทุนได้ง่ายกว่าผ่านการออกหุ้นเพิ่ม ข้อดี: ความรับผิดชอบจำกัด ทำให้ความเสี่ยงส่วนตัวของผู้ลงทุนต่ำ มีความน่าเชื่อถือสูง เหมาะสำหรับการขยายธุรกิจและระดมทุน มีโครงสร้างที่เป็นระบบ ข้อเสีย: มีขั้นตอนการจัดตั้งและบริหารจัดการที่ซับซ้อนกว่า มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดกว่า จดทะเบียนบริษัท ต่างจากแบบอื่นอย่างไร? การจดทะเบียนบริษัทแตกต่างจากการประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนตรงที่ บริษัทจำกัดมี สถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้น โดยสิ้นเชิง นี่คือหัวใจสำคัญที่ทำให้การจดทะเบียนบริษัทเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ จดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ที่ไหน? หลังจากที่ทำตามขั้นตอนการขอจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการได้ที่: หลัง “จดทะเบียนบริษัท” ต้องทำอะไรต่อ? เมื่อบริษัทของคุณได้รับการจดทะเบียนอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังมีขั้นตอนสำคัญอื่นๆ ที่ต้องดำเนินการต่อเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย: การจดทะเบียนบริษัทเป็นก้าวแรกที่สำคัญสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน การศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จในระยะยาว ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) เมื่อธุรกิจของคุณเติบโตและถึงจุดที่ต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax – VAT) การทำความเข้าใจเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ VAT ไม่ใช่แค่หน้าที่ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการการเงินที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาขายสินค้าหรือบริการของคุณโดยตรง การทำความเข้าใจ VAT อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และใช้ประโยชน์จากระบบภาษีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร? ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT คือภาษีทางอ้อมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ โดยเก็บจากมูลค่าส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตและจำหน่าย ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยปัจจุบันอยู่ที่ 7% สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ VAT ไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการโดยตรง แต่เป็นภาระของผู้บริโภคคนสุดท้าย ผู้ประกอบการมีหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเรียกเก็บ VAT จากลูกค้า แล้วนำส่งให้กรมสรรพากร ใครมีหน้าที่ “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่: ข้อยกเว้น: กิจการบางประเภทได้รับการยกเว้น VAT เช่น กิจการขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร การให้บริการทางการแพทย์ การประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การจัดส่งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน รวมถึงกิจการขนาดเล็กที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (และไม่ได้เลือกจดทะเบียนโดยความสมัครใจ) ทำไมต้อง “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? นอกเหนือจากเป็นข้อบังคับตามกฎหมายเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การจดทะเบียน VAT ยังมีประโยชน์ในบางแง่มุม: สรุปท้ายบทความ การเริ่มต้นธุรกิจต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ตั้งแต่ การจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา ที่ง่ายและเหมาะกับคนเดียว ไปจนถึง ห้างหุ้นส่วน ที่มีหุ้นส่วนหลายคนแต่ความรับผิดชอบต่างกัน และ บริษัทจำกัด ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น การเลือกรูปแบบที่ใช่ตั้งแต่แรกจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างมั่นคง และอย่าลืมว่าเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำตามกฎหมาย เพื่อความสะดวกและแม่นยำในการจัดการบัญชี ภาษี และเตรียมพร้อมสำหรับ VAT โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จะเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่ทำให้การทำบัญชีเป็นเรื่องง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะเลือกรูปแบบธุรกิจใด PEAK ก็พร้อมสนับสนุนให้การเงินของคุณเป็นระบบ ตรวจสอบได้ ด้วยฟีเจอร์ที่ครบครัน เช่น การออกใบกำกับภาษี, และ การสร้างแบบยื่น ภ.พ.30 เพื่อให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นในยุคดิจิทัล  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

20 มิ.ย. 2025

PEAK Account

15 min

ทำความรู้จัก! 3 คำศัพท์บัญชี จากซีรีส์สงครามส่งด่วน

ซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ไม่เพียงแต่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจด้วยการแข่งขันในวงการขนส่ง แต่ตัวละครอย่าง “สันติ” ยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนจำนวนปลุกไฟในการเริ่มต้นทำธุรกิจ ในวงการบัญชีการเงินตัวละครที่สำคัญไม่แพ้กันอย่าง “เสี่ยวหยู” CFO สาวสวยสุดเก่งก็ให้มุมมองทางการเงินที่จำเป็นว่าการทำธุรกิจสมัยใหม่ต้องเข้าใจตัวเลขให้ลึกซึ้ง สำหรับผู้ที่อยากเข้าใจเบื้องหลังการบริหารธุรกิจในซีรีส์นี้ เรามาทำความรู้จักกับ 3 คำศัพท์ทางบัญชี ที่สำคัญ ได้แก่ ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) กระแสเงินสด (Cash Flow) และระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ผ่านบริบทที่เกิดขึ้นในซีรีส์เรื่องนี้ ศัพท์บัญชี ตัวแรก : ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) ทุนจดทะเบียน คือ จำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นจะต้องนำมาลงทุนในบริษัท โดยทั่วไปจะนิยมทุนจดทะเบียนที่ 1 ล้าน – 5 ล้านบาท โดยกฎหมายไม่ได้จำกัดเพดานสูงสุด จำนวนเงินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ต้องใช้หมุนเวียนในบริษัทของเรา   ข้อสังเกต: ทุนจดทะเบียน ≠ ทุนที่ชำระแล้ว เนื่องจากผู้ถือหุ้นสามารถชำระเงินทุนขั้นต่ำที่ 25% ได้ เช่น ทุนจดทะเบียน 100 ล้าน ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะมีเงินที่ 100 ล้าน เพราะถ้าผู้ถือหุ้นชำระเงินขั้นต่ำ 25% บริษัทจะมีเงินใช้ได้เพียง 25 ล้านบาทเท่านั้น เพื่อให้เห็นความสำคัญของการถือหุ้น จากซีรีส์เราจะเห็นว่า Easy Express มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านและมีโครงสร้างการถือหุ้น ดังนี้ แต่พอบริษัท Easy Express เพิ่มทุนจาก 100 ล้านเป็น 1,000 ล้านบาท และสันติไม่มีเงินมาลงเพิ่มทำให้สันติเสียสัดส่วนหุ้น(Dilution) จากที่ถือ 19% เหลือเพียง 1.9% ซึ่งทำให้อำนาจในการออกเสียงลดลงเสมือนไม่มีตัวตนในบริษัทแล้ว ที่เหตุการณ์เป็นแบบนี้ เพราะการเพิ่มทุนต้องขอมติจากผู้ถือหุ้น 3 ใน 4 (75%) พูดง่ายๆ คือ ถ้ามีกลุ่มผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นตั้งแต่ 75% เห็นด้วยกับมติก็สามารถเพิ่มทุนได้ทันที ซึ่งในเคสนี้หุ้นของ Easy China และคณิน กรุ๊ป รวมกันก็ 81% แล้ว ทำให้สันติที่หุ้นเพียง 19% ไม่เสียงเพียงพอที่จะคัดค้าน จึงต้องยอมรับชะตากรรมนั้นไป วิธีที่ใช้ป้องกันปัญหานี้ได้ เช่น สันติต้องถือหุ้นมากกว่า 25% หรือทำสัญญาผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) และระบุข้อกำหนดเพิ่มเติม อาทิ การเพิ่มทุนต้องให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อก่อน หรือการเพิ่มทุนต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นรายย่อยด้วย ศัพท์บัญชี ตัวที่สอง : กระแสเงินสด (Cash Flow) กระแสเงินสด คือ การเคลื่อนไหวของเงินสดเข้า – ออกกิจการ โดยธุรกิจมีความคาดหวังที่อยากทำให้เงินสดรับมีมากกว่าเงินสดที่จ่ายออกไป (รับ > จ่าย) โดยเฉพาะในบริบทของซีรีส์ ธุรกิจขนส่งด่วนต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงและต้องบริหารจัดการต้นทุนและรายได้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโต มีตัวอย่างของการบริหารกระแสเงินสดเพื่อให้เงินสดจ่ายออกเท่าที่จำเป็นให้เราได้เห็นกัน เช่น เพื่อทำความเข้าใจการเข้า – ออกเงินของธุรกิจของตัวเอง เราสามารถอ่านงบกระแสเงินสด(Cash flow statement) ซึ่งจะแบ่งการเคลื่อนไหวของเงินเป็น 3 กิจกรรม ให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเงินเราที่จ่ายออกไปอยู่ที่กิจกรรมไหนมากที่สุด ดังนี้ 1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Cash Flow) เงินสดที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจหลัก เช่น รับเงิน: รับเงินจากการขาย, รับชำระหนี้จากลูกค้า จ่ายเงิน: จ่ายค่าสินค้า, จ่ายเงินเดือน, จ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ 2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Investing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในธุรกิจ เช่น  รับเงิน: รับเงินปันผล, รับเงินจากการขายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ จ่ายเงิน: ซื้อเงินลงทุน, ซื้อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ 3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน (Financing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจ เช่น รับเงิน: รับเงินจากการกู้ยืม, รับเงินจากการเพิ่มทุน จ่ายเงิน: ชำระคืนเงินกู้, จ่ายเงินปันผล โดยกิจกรรมที่สำคัญมากๆ ที่ธุรกิจควรมีกระแสเงินสดรับมากกว่าจ่าย คือ กิจกรรมดำเนินงาน(Operating Cash Flow) เพราะเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ การขายหรือให้บริการต้องได้รับเงินมากว่าต้นทุนที่จ่ายออกไปนั่นเอง ในซีรีส์มีตอนที่เสี่ยวหยูพูดกับสันติว่า “80% ของบริษัทเจ๊งเพราะบริหารกระแสเงินสดไม่เป็น” ซึ่งสอดคล้องกับการอยู่รอดของธุรกิจที่ “กระแสเงินสด” โครตสำคัญกว่า “กำไร” ทำไม “กระแสเงินสด” สำคัญกว่า “กำไร” ในตลาดไทย เราเห็นกันมาหลายเคสที่บริษัทสร้างยอดขายและกำไรได้หลักร้อยล้านหรือพันล้านแต่ก็มีปัญหาในธุรกิจ เช่น ไม่มีเงินคืนเงินกู้ยืมตามกำหนดเวลา ซึ่งฟังดูก็คงแปลก ยอดขายสูงปรี๊ด กำไรมหาศาล แต่ดันไม่มีเงินคืนเจ้าหนี้ นั่นก็เพราะว่า กำไร ไม่ได้สะท้อนการมีเงินสด เช่น ดังนั้นการมี “กำไร” ที่สูง ไม่ได้บ่งบอกว่าจะมี “เงิน” ที่สูงตาม แม้ธุรกิจของเราจะยังขาดทุน แต่ถ้ายังมีกระแสเงินสดที่เพียงพอในการหมุนเวียนก็ทำให้เราขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปเพื่อให้กลับมาสร้างกำไรในอนาคตได้  คำถามสำคัญถัดไป คือ แล้วธุรกิจต้องมีเงินมากแค่ไหน เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด?? ศัพท์บัญชี ตัวที่สาม : ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Runway คือ เงินที่มีจะพอใช้ได้อีกกี่เดือน ในวันที่ธุรกิจมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หรือไม่มีรายรับเข้ามาเลย ธุรกิจต้องรู้ให้ได้ว่าเงินที่มีตอนนี้จะใช้จ่ายเงินเดือนพนักงาน ไปซื้อสินค้าได้อีกกี่เดือน ถ้าในระหว่างนี้เราไม่สามารถหาเงินเข้ามาในบริษัทได้ เตรียมเจ๊งทันที! ตัวอย่างจากซีรีส์ ในช่วงที่ Easy Express ให้บริการขั้นส่งที่ 25 บาท/ชิ้น จะมีเงินเหลือเพียงพอจ่ายค่าใช้จ่าย 12 เดือน แต่เมื่อมีการปรับกลยุทธ์เพื่อตัดราคาคู่แข่งโดยลดค่าบริการที่ 19 บาท/ชิ้น ทำให้กระแสเงินสดที่จะเข้ามาในบริษัทลดลง ส่งผลมีเงินจ่ายค่าใช้จ่ายจาก 12 เดือน ลดลงเหลือเพียง 4 เดือน  สิ่งที่สันติต้องภาวนาให้เกิดขึ้นหลังจากนี้ คือ การลดราคาจะทำให้จำนวนมากลูกค้าหันมาใช้บริการของ Easy Express ส่งผลให้กระแสเงินสดรับพุ่งเข้ามาอย่างมหาศาลและทำให้มีเงินเพียงทำธุรกิจได้อีกหลายปี แต่ถ้าการลดราคาไม่ได้ส่งผลให้คนมาใช้บริการมากพอ สันติต้องออกไปหาเงินทุนหรือเงินกู้มาให้ได้เท่านั้น วิธีการคำนวณ Cash Runway Cash Runway = เงินที่มีอยู่ / ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ตัวอย่างเช่น กิจการมีเงินคงเหลืออยู่ 10 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท แสดงว่าจะมีเงินใช้เพียงพออีก 10 เดือน(10ล้าน/1ล้าน)  แต่ความในเป็นจริงธุรกิจอาจมีรายได้เข้ามาบ้าง เพื่อให้การคำนวณแม่นยำมากขึ้นเราอาจใช้ “เงินสดจ่ายสุทธิ” มาเป็นตัวหารแทน โดยนำยอดรายจ่ายหักรายรับ เช่น รายจ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท มีรายรับต่อเดือน 5 แสนบาท จะมีเงินสดจ่ายสุทธิที่ 5 แสน ถ้าคำนวณ Cash runway ใหม่จะมีเงินเพียงพออีก 20 เดือน ดังนั้นการติดตาม Cash runway อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ธุรกิจได้ทราบสถานการณ์ล่วงหน้าว่าจะหาทางรับมือกับเงินสดที่จะหมดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าได้อย่างไรบ้าง จากซีรีส์จะเห็นว่าผู้บริหารไม่รับเงินเดือน ลดเงินเดือนพนักงาน สวัสดิการและโอทีต่างๆ เพื่อยืด runway ให้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อทำทุกอย่างแล้วเงินยังไม่พอ ต้องรีบหาคนที่จะให้เรากู้ยืมเงินหรือมาลงทุนกับเราเพิ่ม จะเห็นได้จากการที่เสี่ยวหยูต้องสละขายหุ้นของตัวเองและนำมาให้บริษัทกู้เพื่อหยุงธุรกิจให้ไปต่อได้ สรุปท้ายบทความ 3 คำศัพท์นี้ไม่เพียงแต่เป็นพื้นฐานทางบัญชีและการเงินที่สำคัญ แต่ยังสะท้อนความท้าทายและกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจจริงๆ ที่ปรากฏในซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของการจัดการธุรกิจได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น หวังว่าบทความนี้จะช่วยคุณเข้าใจศัพท์เหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤต และทั้งหมดนี้คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตในตลาดที่มีการแข่งขันสูง เหมือนกับ “สงคราม ส่งด่วน” ที่เราได้ชมกัน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

18 มิ.ย. 2025

PEAK Account

3 min

Update Function PEAK 18/06/2025

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ———————————————- ✨ 1. Start using the program more easily with PEAK Guide — understand the system in just a few clicks. 📢 For new users, the system combines PEAK Mission into “PEAK Guide” in one place, with a launch button on the homepage and in the “User Manual” menu. The system will start counting missions once the user accesses PEAK Guide and follows the recommended actions, making learning to use PEAK easier and more organized. For existing users who have completed all missions, the system will automatically show the status as “Completed.” Example of PEAK Guide ✨ 2. Add AI to analyze your Profit and Loss Statement — like having a personal CFO. 📢 For business owners who want to understand their Profit and Loss Statement easily and quickly, the system adds AI to the Profit and Loss page, allowing users to ask questions immediately—about revenue, profit, or expenses. The AI will respond based on the selected time period. Examples of questions AI can help with: The system does not save chat history. To use AI for a different time range, users can simply start a new chat. This helps business owners analyze their business easily and conveniently. ✨ 3. Support for creating bulk bank transfer files via Krungsri Bank (BAY), for easier, more accurate transfers and fewer data entry errors. 📢 For Premium package users using Krungsri Bank transfers, the system now supports creating Krungsri CashLink transfer files. Users can select expense documents, asset purchase entries, or consolidated payment notes in “Pending Payment” status to transfer multiple payments easily, improving accuracy and reducing input errors. ✨ 4. Specify classification groups in asset entries (PEAK Asset) for more detailed reports and asset accounting. 📢 For PEAK Asset users, the system now allows assigning classification groups to each asset. At month-end, the system will automatically calculate and post depreciation, with journal entries referencing the classification group attached to each asset. This helps users allocate depreciation expenses by department or project more conveniently. Users can assign classification groups to assets from the following: ✨ 5. “Create Document” button in LINE@PEAKConnect will now redirect to the PEAK application automatically, for easier and faster document creation. 📢 For users creating documents via LINE@PEAKConnect, when clicking the “Create Document” button in LINE, the system will now redirect to the PEAK mobile application automatically. This makes it easier and more convenient for customers to use PEAK on mobile devices.

18 มิ.ย. 2025

PEAK Account

7 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 18/06/2025

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ———————————————- ✨ 1. เริ่มต้นใช้งานโปรแกรมได้ง่ายกว่าเดิมด้วย PEAK Guide เข้าใจโปรแกรมในไม่กี่คลิก 📢สำหรับผู้ใช้งานใหม่ ระบบรวม PEAK Mission เข้ากับ “PEAK Guide” ไว้ในที่เดียว พร้อมปุ่มเปิดใช้งานจากหน้าแรกของระบบและจากเมนู “สมุดคู่มือการใช้งาน”  ระบบจะเริ่มนับภารกิจเมื่อกดเข้าใช้งาน PEAK Guide และทำ Action ต่างๆ ตามที่แนะนำ ช่วยให้เรียนรู้การใช้งาน PEAK ได้สะดวกและเป็นระบบมากขึ้น สำหรับผู้ใช้งานเดิมที่ทำ Mission ครบแล้ว ระบบจะแสดงสถานะว่า “เสร็จแล้ว” โดยอัตโนมัติ  ตัวอย่าง PEAK Guide ✨ 2. เพิ่ม AI ช่วยวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนของกิจการ เหมือนมี CFO ส่วนตัว 📢สำหรับเจ้าของกิจการที่อยากเข้าใจงบกำไรขาดทุนของตัวเองแบบง่ายและเร็ว ระบบเพิ่ม AI เข้าไปในงบกำไรขาดทุนให้ถามข้อมูลได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย กำไร หรือค่าใช้จ่าย โดย AI จะตอบตามข้อมูลของกิจการในช่วงเวลาที่เลือก ตัวอย่างคำถามที่ AI ช่วยเหลือได้ เช่น  ทั้งนี้ระบบยังไม่เก็บประวัติการสนทนา หากต้องการใช้งานตามช่วงเวลาใหม่ สามารถกดสร้างแช็ตใหม่ได้ทันที ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถวิเคราะห์ธุรกิจได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ✨ 3. รองรับการสร้างไฟล์โอนเงินหลายรายการผ่านธนาคารกรุงศรี ฯ (BAY) ช่วยให้โอนเงินสะดวก แม่นยำยิ่งขึ้น และลดข้อผิดพลาดจากการกรอกข้อมูล 📢สำหรับกิจการแพ็กเกจ Premium ที่ใช้ระบบโอนเงินผ่านธนาคารกรุงศรี ฯ (BAY) ระบบเพิ่มการรองรับสร้างไฟล์โอนเงิน Krungsri CashLink ผู้ใช้งานสามารถเลือกเอกสารค่าใช้จ่าย บันทึกซื้อสินค้าหรือใบรวมจ่ายที่อยู่ในสถานะ “รอชำระ” เพื่อโอนเงินหลายรายการได้อย่างสะดวก เพิ่มความแม่นยำและลดข้อผิดพลาดในการทำข้อมูล ✨ 4. ระบุกลุ่มจัดประเภทในการบันทึกสินทรัพย์ (PEAK Asset) ช่วยให้รายงานและบัญชีสินทรัพย์ละเอียดยิ่งขึ้น  📢สำหรับผู้ใช้งาน PEAK Asset ระบบเพิ่มการรองรับระบุกลุ่มจัดประเภทให้กับสินทรัพย์แต่ละรายการได้แล้ว เมื่อสิ้นเดือนระบบจะทำการคิดค่าเสื่อมราคาและบันทึกค่าเสื่อมราคาให้อัตโนมัติ โดยในสมุดรายวันที่บันทึกค่าเสื่อมราคา ระบบจะอ้างอิงกลุ่มจัดประเภทที่ติดไว้ในสินทรัพย์นั้นๆให้อัตโนมัติ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแบ่งค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเสื่อมราคา ตามแต่ละแผนก หรือตามแต่ละโปรเจคได้สะดวกมากขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถติดกลุ่มจัดประเภทในสินทรัพย์ได้ ดังนี้ ✨5. ปุ่ม “สร้างเอกสาร” ใน LINE@PEAKConnect ระบบจะพาเข้าสู่แอปพลิเคชัน PEAK ให้อัตโนมัติ ช่วยให้สร้างเอกสารได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น 📢สำหรับผู้ใช้งานที่สร้างเอกสารผ่าน LINE@PEAKConnect เมื่อกดปุ่ม “สร้างเอกสาร” ใน LINE  ระบบจะปรับให้ผู้ใช้งานไปสร้างเอกสารในแอปพลิเคชัน PEAK อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ลูกค้าใช้งาน PEAK ผ่านมือถือได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

18 มิ.ย. 2025

PEAK Account

29 min

กำหนดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้ถูกใจพนักงาน? พร้อมข้อควรรู้ที่ห้ามพลาด!

พนักงานขายเป็นตำแหน่งหัวใจสำคัญของหลายองค์กร เพราะเป็นตำแหน่งที่หารายได้เข้าบริษัทชัดเจน หากพนักงานขายมีแรงจูงใจที่ดีอย่าง ค่าคอมมิชชั่น ส่วนใหญ่ก็จะส่งผลที่ดีต่อองค์กรได้โดยตรง แต่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจสงสัยกันบ้างว่า ต้องคิดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้น่าสนใจ หรือมีวิธีคิดอย่างไรบ้าง รวมไปถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่ต้องรู้เพื่อให้การจัดการเงินในแต่ละเดือนเป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดเราก็รวบรวมไว้ให้ในบทความนี้แล้ว ผู้ประกอบการสามารถศึกษากฎหมายแรงงานเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน โดยการคิดค่าคอมมิชชั่นจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เรามาติดตามกันได้เลย ค่าคอมมิชชั่น คืออะไร? ค่าคอมมิชชั่น (Commission) คือหนึ่งในประเภทค่าตอบแทนที่ลูกจ้างจะได้รับจากบริษัทเมื่อทำยอดขายได้ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยส่วนใหญ่คำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายตามที่แต่ละบริษัทกำหนด และมักจะมีการคำนวณปัจจัยอื่น ๆ เช่น ตำแหน่งของพนักงาน สินค้าที่ขาย ไปจนถึงโปรโมชั่นพิเศษ โดยปกติตำแหน่งพนักงานขายในทุกองค์กรจะมีค่าคอมมิชชั่นเป็นค่าตอบแทน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานขายได้มากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ขายเป็นได้ทั้งสินค้าและบริการขึ้นอยู่กับช่องทางหลักในการสร้างรายได้ขององค์กรนั้น ๆ ค่าคอมมิชชั่นมีกี่ประเภท พร้อมตัวอย่างการคำนวณ  ค่าคอมมิชชั่นก็ไม่ได้มีเพียงการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีประเภทอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถนำมาใช้ในการคิดค่าคอมมิชชั่นตอบแทนพนักงานได้ โดยแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป สามารถเลือกได้จากแนวทางการดำเนินธุรกิจ หรือกลยุทธ์ขององค์กรที่จะใช้ในการเพิ่มยอดขายให้เติบโต ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการคิดค่าคอมมิชชั่นถึง 11 ประเภท แต่ละรูปแบบจะเป็นอย่างไรบ้างเรามาดูกัน 1. ค่าคอมมิชชั่น แบบขั้นบันได สำหรับค่าคอมมิชชั่นประเภทแรกเป็นในรูปแบบขั้นบันได เป็นรูปแบบที่เรามักเห็นกันในองค์กรที่มีการแข่งขันสูงภายในองค์กร เพราะค่าคอมมิชชั่นประเภทนี้พนักงานจะได้ค่าคอมมิชชั่นสูงขึ้นตามจำนวนของยอดขายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่กระตุ้นพนักงานขายได้เป็นอย่างดี เพราะว่าจะได้เงินมาหรือน้อยขึ้นอยู่กับความขยันของตัวพนักงานนั่นเอง  ตัวอย่างเช่น บริษัทกำหนดค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันไดไว้ 3 ระดับดังนี้– รับอัตราคอมมิชชั่น 5% เมื่อทำยอดขายได้ถึง 100,000 – 300,000 บาท – รับอัตราคอมมิชชั่น 15% เมื่อทำยอดขายได้ถึง 300,001 – 500,000 บาท – รับอัตราคอมมิชชั่น 25% เมื่อทำยอดขายได้ 500,001 – 1,000,000 บาท หมายความว่าหากพนักงานทำยอดได้อยู่ในช่วงไหน ให้นำเปอร์เซ็นต์ในช่วงนั้นเข้ามาคำนวณ เช่น  พนักงาน A ทำยอดขายได้ 650,000 บาท ต้องคิดคอมมิชชั่น 25% 650,000 x 25% = 162,500 บาท พนักงาน A ก็จะได้รับค่าคอมทั้งหมด 162,500 บาทนั่นเอง ด้วยตัวเลขคอมมิชชั่นที่สูงขึ้นตามผลงานของพนักงาน จึงช่วยกระตุ้นพนักงานได้ดี แต่ด้วยรูปแบบที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ทำให้พนักงานบางคนที่ได้น้อยต่อเนื่องอาจถอดใจได้ ด้วยเหตุนี้หากองค์กรต้องการใช้รูปแบบนี้แนะนำให้หาแนวทางในการช่วยเหลือพนักงานที่อาจทำผลงานไม่ดีมากนัก เช่น จัดคอร์สพัฒนาด้านการขาย หรือมีการพูดคุยเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและร่วมกันหาทางออกเพื่อเพิ่มผลงานให้พนักงาน 2. ค่าคอมมิชชั่น จากกำไร ถัดมาเป็นค่าคอมมิชชั่นจากกำไร ซึ่งเป็นประเภทของค่าคอมมิชชั่นที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีการขายสินค้าหลายรูปแบบ หรือขายสินค้าแบบทำตามคำสั่งจากลูกค้า เพราะระบบคอมมิชชั่นแบบนี้จะคำนวณจากกำไรในออร์เดอร์นั้น ๆ ไม่ได้คำนวณจากยอดขายพนักงานตรง หมายความว่า หากพนักงานเลือกขายสินค้าที่มีกำไรต่อคำสั่งซื้อสูงก็จะได้รับคอมมิชชั่นเป็นเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดโดยองค์กร ซึ่งรูปแบบคอมมิชชั่นนี้จะช่วยกระตุ้นให้พนักงานเลือกขายสินค้าหรือบริการที่มีกำไรสูง ส่งผลดีต่อบริษัท  ตัวอย่างเช่น : สินค้า A ราคา 500 บาท ต้นทุน 400 บาท ซึ่งมีกำไรต่อชิ้น 100 บาท 100 x 10% = 10 บาท หมายความว่าหากพนักงานขายสินค้า A ก็จะได้รับค่าคอมมชั่น 10 บาทนั่นเอง โดยรูปแบบการคำนวณ อัตราที่ใช้คำนวณขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทที่กำหนด 3. ค่าคอมมิชชั่น จากสินค้า เป็นระบบคอมมิชชั่นที่ได้รับความนิยมและเข้าใจง่ายมากที่สุด เพราะเป็นการตั้งจากสินค้าโดยตรง เช่น รองเท้าวิ่ง B หากขายได้จะมีค่าคอมมิชชั่น 10% นับเป็นอีกหนึ่งวิธีในการกระตุ้นการขายได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การตั้งอัตราคอมมิชชั่นจากสินค้าต้องมีการวางแผนพอสมควร เพราะหากตั้งเท่ากันหมด บริษัทอาจเสียมากกว่าได้ เพราะกำไรของสินค้าแต่ละชิ้นไม่เท่ากัน เบื้องต้นอาจเริ่มต้นตั้งอัตราคำนวณคอมมิชชั่นจากประเภทของสินค้า เช่น หากเป็นสินค้าเก่าค้างสต๊อก 5 ปี อาจตั้งไว้ 10% แต่ถ้าเป็นสินค้าใหม่ที่กำลังเป็นที่ต้องการ อาจตั้งไว้ 5% ได้เช่นกัน เป็นการกระตุ้นให้พนักงานอยากขายสินค้าที่ค้างสต๊อกได้ด้วย นับว่าเป็นข้อดีเพราะองค์กรสามารถปรับให้เข้ากับกลยุทธ์ในแต่ละช่วงได้ การคำนวณค่อนข้างตรงตัวสามารถนำราคาสินค้าคำนวณกับอัตราคอมมิชชั่นที่บริษัทกำหนด ตัวอย่างเช่น : โทรทัศน์ A ราคา 35,000 บาท ตั้งค่าคอมมิชชั่นไว้ที่ 10% 35,000 x 10% = 3,500 บาท หากพนักงานขายโทรทัศน์ A ได้ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นไป 3,500 บาทนั่นเอง 4. ค่าคอมมิชชั่น ตามพื้นที่ อีกหนึ่งกลยุทธ์คอมมิชชั่นที่น่าสนใจเพราะการคำนวณคอมมิชชั่นจะแบ่งตามแต่ละพื้นที่ เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการขายในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มีการแบ่งพนักงานขายตามแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน ซึ่งวิธีการจัดระบบคอมมิชชั่นรูปแบบนี้พนักงานจะสามารถโฟกัสกับพื้นที่ของตัวเองได้ดี มีการแบ่งชัดเจน ไม่มีการแย่งลูกค้ากันเองภายในองค์กร อีกทั้งองค์กรยังสามารถปรับกลยุทธ์เพิ่มคอมมิชชั่นตามพื้นที่ที่ต้องการรุกตลาดให้มากขึ้นได้อีกด้วย โดยวิธีการคิดคอมมิชชั่นจากเดิมที่ส่วนมากคิดว่ายอดขาย หรือกำไร จะเพิ่มเงื่อนไขโดยแบ่งเป็นตามเขต หรือพื้นที่ เช่น โซนภาคเหนือ 5% โซนภาคใต้ 10%  ตัวอย่างเช่น : พนักงาน A ดูแลโซนภาคเหนือทั้งหมด 15 จังหวัดอัตราคอมมิชชั่น 10% และมียอดขายเกิดขึ้นในภาคเหนือทั้งหมด 500,000 บาท 500,000 x 10% = 50,000 บาท เท่ากับว่าพนักงาน A ผู้ดูแลโซนภาคเหนือจะได้รับค่าคอมมิชชั่นทั้งหมด 500,000 บาท ซึ่งหากพนักงาน A อยากได้ค่าคอมมิชชั่นมากกว่าเดิมก็ต้องเร่งหายอดขาย ไม่ว่าจะลูกค้าใหม่ หรือลูกค้าเก่าในโซนภาคเหนือให้มากขึ้นนั่นเอง 5. ค่าคอมมิชชั่น ต่อเนื่อง เพราะหลายองค์กรเชื่อว่าการรักษาลูกค้าเดิมให้ซื้อต่อเรื่อย ๆ ย่อมดีกว่าการออกไปหาลูกค้าใหม่เสมอ ทำให้ระบบคอมมิชชั่นต่อเนื่องกำเนิดขึ้น โดยเป็นคอมมิชชั่นที่พนักงานจะได้รับก็ต่อเมื่อลูกค้าเดิมซื้อสินค้าหรือบริการอีกครั้ง โดยคิดยอดขายตามรอบ และทางบริษัทจะเป็นผู้กำหนดอัตราคอมมิชชั่นและนำไปคำนวณตามยอดแต่ละรอบบิล เป็นระบบที่เหมาะกับองค์กรที่ขายบริการที่ค่อนข้างเฉพาะในอุตสาหกรรม โอกาสหาลูกค้าใหม่ยาก จึงจำเป็นต้องรักษาสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเดิมไว้อย่างต่อเนื่อง หรือเป็นองค์กรที่เก็บเงินลูกค้าเป็นรอบทุกเดือน และด้วยรูปแบบค่าคอมมิชชั่นประเภทนี้ จะเป็นการกระตุ้นพนักงานขายให้ดูแลลูกค้าในระยะยาวมากกว่า ตัวอย่างเช่น : บริษัท A ให้บริการซอฟต์แวร์ที่ต้องจ่ายค่าดูแลเป็นรายเดือนทุกเดือน ด้วยความที่ต้องการรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ จึงตั้งอัตราคอมมิชชั่น 10% สำหรับยอดขายที่ลูกค้าจ่ายเพื่อต่ออายุใช้บริการในแต่ละเดือน โดยพนักงาน B มีลูกค้าเป็นองค์กร C ที่ต่อสัญญากันทุกเดือนเป็นลูกค้าเก่า โดยค่าต่อสัญญาในแต่ละเดือนอยู่ที่ 50,000 บาท 50,000 x 10% = 5,000 บาท เท่ากับว่าพนักงาน B จะได้รับค่าคอมมิชชั่น 5,000 บาททุกเดือนหากองค์กร C ยังคงใช้บริการซอฟต์แวร์ของบริษัท A อยู่ ทำให้นอกจากที่พนักงาน B จะหาลูกค้าใหม่แล้ว ยังคงกลับไปพูดคุยรักษาความสัมพันธ์กับองค์กร C อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาลูกค้าไว้นั่นเอง 6. ค่าคอมมิชชั่น ตามผลงาน ในองค์กรที่มี KPI อื่น ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากยอดขายเพียงอย่างเดียว การกำหนดคอมมิชชั่นตามผลงาน ก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งจะเป็นการที่องค์กรตั้งเป้าหมายขึ้นมา หากพนักงานทำได้ถึงเป้าหมายที่กำหนดก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นในส่วนนี้ โดยอาจเป็นส่วนเพิ่มเติมจากคอมมิชชั่นเดิมที่มีอยู่เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงานบรรลุเป้าหมายบางอย่างได้  ตัวอย่างเช่น : องค์กร A ใช้ระบบคอมมิชชั่นจากสินค้าอยู่แล้วที่ 5% แต่ต้องการกระตุ้นในเรื่องการซื้อซ้ำ จึงตั้งคอมมิชชั่นตามผลงานเพิ่มเติม หากพนักงานสามารถให้ลูกค้าซื้อซ้ำได้มากกว่า 5 ครั้ง จะเพิ่มค่าคอมมิชชั่นในยอดขายหลังจากครบกำหนดเป็น 10% หมายความว่าหากพนักงาน A ขายกระเป๋ามูลค่า 20,000 บาท จากเดิมที่ได้รับอัตราคอมมิชชั่น 5% เมื่อพนักงาน A ขายกระเป๋ามูลค่า 20,000 ใบที่ 5 ให้ลูกค้าท่านเดิมได้ ก็จะได้เพิ่มอัตราคอมมิชชั่นเป็น 10% นั่นเอง อัตราคอมมิชชั่นแรก2,000 x 5% = 1,000 บาทอัตราคอมมิชชั่นเมื่อขายใบที่ 5 ได้20,000 x 10% = 2,000 บาท ดังนั้นเมื่อพนักงาน A รักษาความสัมพันธ์และขายกระเป๋าใบที่ 5 ได้สำเร็จก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้นจาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท ช่วยกระตุ้นเรื่องการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า เพิ่มโอกาสการซื้อซ้ำได้เป็นอย่างดีตามเป้าหมาย โดยข้อดีของกลยุทธ์นี้ช่วยให้องค์กรสามารถปรับแผนตามเป้าหมายเพิ่มเติมนอกจากยอดขายได้ 7. ค่าคอมมิชชั่น จากส่วนต่างกำไร สำหรับข้อที่ 7 หรือค่าคอมมิชชั่นจากส่วนต่างกำไร จะค่อนข้างคล้ายกับในส่วนของคอมมิชชั่นจากกำไร แต่เปลี่ยนจากการคิดกำไรโดยตรงเป็นการคำนวณจาก Gross Margin หรือส่วนต่างกำไรนั่นเอง ซึ่งข้อดีจะคล้ายกันกับรูปแบบกำไรธรรมดา ต่างกันที่วิธีคำนวณ ซึ่งองค์กรที่เหมาะส่วนใหญ่จะมีสินค้าหลากหลายประเภทและมี Margin ต่อชิ้นที่แตกต่างกัน ซึ่งการตั้งระบบรูปแบบนี้ยังช่วยกระตุ้นยอดขายสินค้าที่มีส่วนต่างกำไรสูงได้อีกด้วย เพราะพนักงานขายก็จะมุ่งเน้นขายสินค้าที่มีส่วนต่างเยอะเป็นพิเศษนั่นเอง ตัวอย่างเช่น : รองเท้า A มีส่วนต่างกำไร 5,000 บาท มีการตั้งอัตราคอมมิชชั่นจากส่วนต่างกำไร 10% หากพนักงาน B ขายสินค้าได้จะได้กำไรดังนี้5,000 x 10% = 500 บาท พนักงาน B จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการขายรองเท้า A ทั้งสิ้น 500 บาท ซึ่งหากมีสินค้าที่มีส่วนต่างกำไรมากกว่านี้พนักงานก็จะโฟกัสไปที่การขายสินค้าชิ้นนั้นเป็นพิเศษ  8. ค่าคอมมิชชั่น และเงินเดือน  เป็นรูปแบบคอมมิชชั่นที่เรามักพบในองค์กรที่ใช้เวลาในการขายสินค้าแต่ละชิ้นค่อนข้างนาน เช่น องค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจแบบ B2B เพราะกว่าที่จะขายสินค้าหรือบริการได้นั้นพนักงานขายต้องใช้เวลาในการแนะนำ โน้มน้าวนานเป็นพิเศษ ระบบคอมมิชชั่นและเงินเดือนจึงเป็นรูปแบบที่พนักงานได้รับเงินเดือนอยู่แล้ว แต่จะได้รับอัตราคอมมิชชั่นเพิ่มตามยอดขายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนด้วย ซึ่งส่วนมากฐานเงินเดือนจะไม่ค่อยสูงมาก เพื่อกระตุ้นให้พนักงานรีบขายสินค้าเพื่อมาเพิ่มรายได้ของตัวเองในแต่ละเดือน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่จะมีเงินเดือนให้พนักงานขายและสมทบเพิ่มเป็นคอมมิชชั่นในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มเติมตามแต่ละกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์กร ตัวอย่างเช่น : พนักงาน A มีเงินเดือน 25,000 บาท มีอัตราอัตราคอมมิชชั่น 5% จากยอดขาย ในเดือนนี้พนักงาน A มียอดขายตลอดทั้งเดือน 320,000 บาท จะได้รับเงินทั้งหมด[320,000 x 5%] + 25,000 = 41,000 บาท พนักงาน A จะได้รับเงิน 41,000 บาท ซึ่งในแต่ละเดือนส่วนใหญ่จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความขยันของพนักงาน 9. คอมมิชชั่นพิเศษ สำหรับสินค้าโปรโมชัน ระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้จะพบส่วนมากในองค์กรที่ต้องการเคลียร์สต๊อกสินค้าและมักจะออกโปรโมชั่นออกมา และเพื่อกระตุ้นการขายให้มากขึ้นก็จะมีการจัดคอมมิชชั่นพิเศษสำหรับโปรโมชั่นดังกล่าวโดยเฉพาะ เพื่อโน้มน้าวให้พนักงานเร่งขายมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น : องค์กร A ต้องการเคลียร์สต๊อกของสินค้า B จึงจัดโปรโมชั่นขายในราคา 500 บาทขึ้นมา และหากพนักงานขายสินค้าดังกล่าวได้จะได้รับอัตราคอมมิชชั่น 10 %500 x 10% = 50 บาท หากพนักงานขายสินค้าในโปรโมชั่นนี้ได้ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมอีก 50 บาทนั่นเอง นับเป็นวิธีที่ช่วยเคลียร์สต๊อก หรือช่วยเร่งยอดขายสินค้าชิ้นดังกล่าวได้ดีมาก ๆ เพราะนอกจากมีโปรโมชั่นเข้ามาช่วยส่งเสริมการขายแล้ว พนักงานขายยังต้องการที่จะขายสินค้าชิ้นนั้นเพราะได้ค่าคอมอีกด้วย 10. ค่าคอมมิชชั่น ตามระยะเวลาการทำงาน หลายองค์กรมักจะมีการใช้ระบบคอมมิชชั่นตามระยะเวลาการทำงานเข้ามาใช้ด้วยเพื่อที่จะดึงดูดให้พนักงานที่มีประสบการณ์อยู่กับองค์กรให้นานยิ่งขึ้น เพราะยิ่งอายุงานอัตราคอมมิชชั่นที่พวกเขาจะได้รับก็สูงตาม องค์กรอาจคิดจากการเพิ่ม 5% เมื่อทำงานครบทุก ๆ 3 ปี ส่วนวิธีการคิดคอมมิชชั่นอาจคิดจากราคาสินค้าหรือกำไรก็ได้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กร ตัวอย่างเช่น : องค์กร A เริ่มต้นอัตราคอมมิชชั่นที่ 5% และจะเพิ่มให้อีก 5% เมื่อทำงานครบ 5 ปี นั่นหมายความว่าหากพนักงานมียอดขาย 50,000 บาทจะได้รับค่าคอมมิชชั่นดังนี้ พนักงานอายุงาน 1 – 4 ปี50,000 x 5% = 2,500 บาทพนักงานอายุงาน 5 ปีขึ้นไป50,000 x 10% = 5,000 บาท จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้เลยว่าพนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 5 ปีได้รับค่าคอมมิชชั่นมากกว่าเดิมหนึ่งเท่าตัว ซึ่งเป็นวิธีการโน้มน้าวพนักงานฝีมือดีให้อยู่กับองค์กรของเราได้นานยิ่งขึ้น 11. ค่าคอมมิชชั่นล้วน สำหรับระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้อาจฟังดูโหดสำหรับพนักงานพอสมควรเพราะเงินเดือนทั้งหมดจะมาจากค่าคอมมิชชั่นเท่านั้น ซึ่งส่วนมากจะมีอัตราคอมมิชชั่นที่สูง ส่วนวิธีการคิดค่าคอมมิชชั่นก็ขึ้นอยู่กับองค์กรเพราะบางที่อาจคำนวณจากราคาสินค้าหรือกำไรก็ได้เช่นกัน แต่สุดท้ายข้อดีของคอมมิชชั่นประเภทนี้คือพนักงานจะต้องทุ่มเทขยันอย่างแท้จริง เพราะรายรับทั้งหมดขึ้นอยู่กับการขายเท่านั้น ส่วนองค์กรที่เหมาะกับระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้จะต้องเป็นองค์กรที่มีราคาสินค้าหรือค่าใช้จ่ายในการให้บริการที่สูง และส่วนมากมักจะเป็นธุรกิจประเภท B2B เคล็ดลับกำหนดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้พนักงานขยัน! การกำหนดระบบคอมมิชชั่นไม่ได้มีสูตรตายตัว แต่ข้อคำนึงสำคัญที่สุดคือควรที่จะกำหนดให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร โดยเป้าหมายต้องกำหนดชัดเจน และพร้อมที่จะพาพนักงานทุกคนมุ่งไปในจุดหมายเดียวกัน นอกเหนือจากการคิดค่าคอมมิชชั่นให้ตรงกับเป้าหมายแล้วยังมีเคล็ดลับอื่น ๆ ที่อาจช่วยให้คุณกำหนดได้ถูกใจพนักงานมากยิ่งขึ้น! 1. ทำความเข้าใจธุรกิจของตนเองกับระบบคอมมิชชั่นแต่ละประเภท สำคัญไม่แพ้กับการกำหนดให้ตรงกับเป้าหมาย เพราะถ้ารูปแบบการทำธุรกิจไม่เหมาะกับระบบคอมมิชชั่นก็อาจทำให้พนักงานถอดใจและไม่มีมีแรงใจที่จะขายสินค้าของเราต่อได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสินค้าที่ขายราคา 50 บาท แต่กำหนดเป้าหมายคอมมิชชั่นแบบขั้นบันได 500,000 บาท การที่พนักงานจะไปถึงจุดนั้นได้ต้องใช้เวลาพอสมควร และดูเป็นเป้าหมายที่เกินเอื้อมจนเกินไป 2. ชัดเจนและเข้าใจง่าย เมื่อเป็นเรื่องเงินเรื่องทองรายละเอียดต่าง ๆ ต้องชัดเจน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความสับสนหรือมีช่องโหว่จนเกิดการเอาเปรียบกันได้ เพราะฉะนั้นองค์กรควรที่จะเขียนชี้แจงรายละเอียดให้ชัดเจนเพื่อความเข้าใจตรงกัน และต้องดำเนินการตามข้อกำหนดนั้นอย่างถูกต้อง ที่สำคัญควรจะเข้าใจง่าย พนักงานขายเห็นเป้าหมายชัดเจน ไม่ได้มีการใช้ระบบซับซ้อนหลายระบบพร้อมกัน เพราะอาจทำให้เป้าหมายของพวกเขาดูคลุมเครือและท้อแท้กันก่อนได้ เช่น กำหนดค่าคอมมิชชั่นจากกำไร แต่ไม่แจ้งพนักงานขายว่าสินค้าแต่ละชิ้นมีกำไรเท่าไหร่บ้าง ทำให้พนักงานไม่รู้สึกถึงเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะไม่รู้ตัวเลขที่แน่ชัดว่าขายสินค้าชิ้นนี้ไปแล้วจะได้ค่าคอมมิชชั่นกลับมาเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้จึงควรระบุรายละเอียดทุกอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น 3. รับฟังและพูดคุยกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ตำแหน่งพนักงานขายมีแรงกดดันค่อนข้างสูง หากองค์กรของเรายังไม่ได้มีพนักงานที่เยอะมากนัก การที่พูดคุยกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับระบบการขายหรือคอมมิชชั่น เพื่อให้สามารถออกแบบระบบที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง พนักงานเห็นเป้าหมายเดียวกัน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กร วิธีนี้นอกจากจะช่วยในการวางแผนคอมมิชชั่นได้อย่างถูกจุด ยังช่วยให้เราทราบถึงปัญหา จุดแข็งของพนักงานขายแต่ละคน นำไปสู่วลี “Put the right man on the right job” ที่พิสูจน์มาหลายครั้งแล้วว่าช่วยเพิ่มศักยภาพของพนักงานแต่ละคนได้อย่างแท้จริง ค่าคอมมิชชั่นนับเป็นเงินค่าจ้างที่ต้องคำนวณในเงินสมทบประกันสังคมหรือไม่? เกร็ดเล็ก ๆ อีกหนึ่งข้อเกี่ยวกับด้านกฎหมายค่าคอมมิชชั่น ที่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจสงสัยว่าค่าคอมนั้นนับเป็นค่าจ้างหรือไม่ แล้วจำเป็นต้องนำเงินรายได้ส่วนนี้มาใช้ในการคำนวณเงินสมทบประกันสังคมหรือไหม ซึ่งคำตอบก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของค่าคอมมิชชั่นนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด 2 ประเภท โดยคอมมิชชั่นในรูปแบบที่เป็นการสร้างแรงจูงใจในการขายนั้นจะเป็นไม่ถือว่าเป็นเงินค่าจ้าง ดังนั้นจึงไม่ต้องนำไปคำนวณในเงินสมทบประกันสังคม แต่หากเป็นคอมมิชชั่นที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานก็จำเป็นต้องนำไปคิดรวมในเงินสมทบประกันสังคม คิดค่าคอมมิชชั่นให้ถูกต้องแม่นยำด้วยโปรแกรม Payroll ในองค์กรที่มีพนักงานขายเยอะ การคิดค่าคอมมิชชั่นอาจเป็นเรื่องปวดหัวในบางครั้ง เราขอแนะนำให้ลองใช้โปรแกรม Payroll เป็นตัวช่วยในการคำนวณ เพื่อลดโอกาสผิดพลาดลง ซึ่ง PEAK ก็มีโปรแกรม PEAK Payroll ที่พร้อมให้การบริหารเงินเดือนพนักงานกลายเป็นเรื่องง่าย ด้วยฟีเจอร์ที่ออกแบบมาอย่างครอบคลุมเพื่อตอบโจทย์การใช้งานในทุกขนาดองค์กร อีกทั้งยังมีคู่มือครบเข้าใจง่ายแน่นอน! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

8 ก.ค. 2025

PEAK Account

3 min

Update Function PEAK 08/07/2025

🚀 Revamped User Permission System! Professional-level team control — more flexible and accurate than ever 📢 The latest user permission management system is designed for growing businesses that need clarity, flexibility, and maximum security in managing system users.This new permission system allows you to…✅ Systematically manage employee permissions in your organization✅ Precisely control each person’s role✅ Reduce errors when inviting users✅ Enhanced security with notifications via email and in-app alerts every time a user is added, a new permission is granted, or an existing permission is modified The system now includes the following updates: For existing users, don’t worry — PEAK will automatically migrate your roles to the new structure with clear naming, ensuring seamless operation and easier tracking. 📘 User permission setup guide:  ???‍🏫 User Rights Setup Training SeminarTuesday, July 15, 2025 | 10:00–11:00 AMJoin instantly — no pre-registration needed (passcode: peak)🔗 🚀 transforms your payment-side accounting experience — more accurate bookkeeping, even when payment is made before the document date 📢 The system now allows payment dates to be recorded earlier than the document issue date. This helps reduce accounting errors and ensures documents reflect actual transactions more accurately. Here’s how the system has been adjusted: Summary of the article Summary of the monthly function updates for July 2025, Round 1 with new features to allow users to experience accounting more conveniently and accurately. PEAK is ready to develop features to better meet your work needs in terms of accuracy, security, and flexibility so that every business can grow confidently in every step of accounting. You can follow the news and public relations information through the company’s channels. Try PEAK accounting program for free! 30 days, value 1,200 bahtClick  Call Center: 1485LINE: @peakaccountFor more information, click 

8 ก.ค. 2025

PEAK Account

5 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 08/07/2025

อัปเดต 2 ฟีเจอร์ใหม่ ช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้นกว่าเดิม 🚀 ยกเครื่องระบบสิทธิ์ผู้ใช้งานใหม่!  ควบคุมทีมได้ระดับโปร ยืดหยุ่น และแม่นยำยิ่งกว่าเดิม 📢การจัดการสิทธิ์การใช้งานใหม่ล่าสุด ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจที่เติบโต ต้องการความชัดเจน ยืดหยุ่น และปลอดภัยสูงสุดในการจัดการผู้ใช้งานในระบบ สิทธิ์การใช้งานรูปแบบใหม่นี้จะช่วยให้คุณ… ✅ จัดการสิทธิ์พนักงานในองค์กรอย่างเป็นระบบ✅ ควบคุมบทบาทแต่ละคนได้อย่างแม่นยำ✅ ลดข้อผิดพลาดในการเชิญผู้ใช้งาน✅ ปลอดภัยขึ้นด้วยระบบแจ้งเตือนที่อีเมลและกระดิ่งหน้าโปรแกรมทุกครั้ง เมื่อมีการเพิ่มผู้ใช้งาน เพิ่มสิทธิ์การใช้งานใหม่หรือแก้ไขสิทธิ์  โดยระบบได้มีการปรับ ดังนี้ สำหรับผู้ใช้งานเดิม ไม่ต้องกังวล โดย PEAK จะโอนย้ายสิทธิ์ของคุณให้อัตโนมัติตามโครงสร้างใหม่ พร้อมตั้งชื่อให้ชัดเจน เพื่อความต่อเนื่องในการทำงาน และง่ายต่อการตรวจสอบ คู่มือการตั้งค่าสิทธิ์ใช้งาน 🧑‍🏫 สัมมนาสอนการใช้งาน วันอังคารที่ 15 ก.ค. 68 เวลา 10.00-11.00 น.เข้าร่วมได้เลย ไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า (passcode: peak)Link nbsp; 🚀 อัปเกรด พลิกประสบการณ์การทำบัญชีฝั่งจ่าย บันทึกบัญชีแม่นยำขึ้น แม้ชำระเงินก่อนวันออกเอกสาร 📢 ระบบเปิดให้สามารถบันทึกวันที่จ่ายชำระเงินก่อนวันที่ออกเอกสารได้ เพื่อลดข้อผิดพลาดด้านบัญชี และทำให้เอกสารสอดคล้องกับธุรกรรมจริงมากยิ่งขึ้น โดยระบบปรับข้อมูล ดังนี้ สรุปท้ายบทความ สรุปการอัปเดตฟังก์ชันประจำเดือน กรกฎาคม 2568 รอบที่ 1 กับฟีเจอร์ใหม่เผื่อให้ผู้ใช้งานสามารถสัมผัสประสบการณ์การทำบัญชีได้อย่าง สะดวกแม่นยำขึ้น PEAK พร้อมพัฒนาฟีเจอร์ให้ตอบโจทย์การทำงานของคุณยิ่งขึ้น ทั้งด้านความแม่นยำ ความปลอดภัย และความยืดหยุ่น เพื่อให้ทุกธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างมั่นใจในทุกขั้นตอนการทำบัญชีสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางของบริษัท ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

6 ก.ค. 2025

PEAK Account

15 min

จดทะเบียนเพิ่มทุน เตรียมความพร้อมก่อนขยายธุรกิจ!

การดำเนินธุรกิจทุกธุรกิจมีเป้าหมายเพิ่มขยายการเติบโตให้ได้มากที่สุด และในเส้นทางการเติบโตของหลายองค์กร ก็มักจะมีการ จดทะเบียนเพิ่มทุน เข้ามาด้วยเสมอ เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งที่บริษัทมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้มากขึ้น เจ้าของธุรกิจหลายคนเลือกที่จะ จดทะเบียน เพิ่มทุน เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจต่อสำหรับรองรับการเติบโตในอนาคต สำหรับท่านไหนที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพิ่มทุน บทความนี้เรารวบรวมทุกเรื่องที่ควรรู้จะมีอะไรบ้าง มาหาคำตอบกัน จดทะเบียนเพิ่มทุน คืออะไร? การจดทะเบียนเพิ่มทุน คือ การที่บริษัทที่มีการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต้องการเพิ่มเงินทุนในการทำธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าในการจดทะเบียนครั้งแรกเริ่มจะต้องมีการแจ้งเงินทุนที่ใช้ในการจดทะเบียนอยู่แล้ว แต่สำหรับหลายธุรกิจที่ไม่ว่าจะต้องการขยายธุรกิจให้เติบโต หรือการเงินขาดสภาพคล่องก็มักที่จะต้องแจ้งจดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำเงินทุนเข้ามาใช้ขยายหรือแก้ปัญหาธุรกิจต่อไป ทำไมต้อง จดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องใช้เงินเพิ่มในการบริหารธุรกิจ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนเข้ามา เพื่อให้บริษัทมีเงินทุนสำหรับใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ นอกจากนี้สำหรับมองว่าการที่บริษัทของเราเงินทุนจดทะเบียนที่สูง จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือตามไปด้วย อย่างไรก็ตามกรณีนี้อาจไม่จำเป็นมากขนาดนั้น ควรวิเคราะห์เงินในการจดทะเบียนจากแผนธุรกิจ และรูปแบบของธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่มากกว่า หากจำเป็นต้องขยายธุรกิจจริง ๆ ค่อยจดทะเบียนเพิ่มทุนภายหลังได้  เมื่อไหร่ที่ควร จดทะเบียนเพิ่มทุน สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนก็มีจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการจดเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจใช้เงินได้อย่างคุ้มค่า ไม่ต้องรีบจดทะเบียนทุนสูงตั้งแต่แรก โดยปกติแล้วช่วงเวลาที่ควรจดทะเบียนเพิ่มทุนแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลัก ๆ  ดังนี้ 1. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำทุนมาขยายธุรกิจ จะเป็นช่วงที่บริษัทกำลังเติบโต จำเป็นต้องขยายธุรกิจ เพิ่มพนักงาน เพิ่มเครื่องจักร หรือสาขา เมื่อธุรกิจของเราดำเนินไปจนถึงจุดนั้นแล้ว ย่อมสามารถเพิ่มเงินทุนเข้าไปในการดำเนินธุรกิจต่อได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินใจจดทะเบียนเพิ่มแนะนำให้ลองคาดการณ์รายได้ จัดวางแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคต เงินทุนที่เพิ่มเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไรให้เรียบร้อยเพื่อการใช้เงินได้อย่างคุ้มค่านั่นเอง 2. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อเพิ่มหุ้นส่วนในองค์กร นอกจากนี้ในการเพิ่มทุนหลายครั้งไม่เพียงแค่เป็นการขยายธุรกิจแต่เป็นการรับหุ้นส่วนรายใหญ่เข้ามาเพิ่มเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นนั่นเอง โดยลักษณะนี้วัตถุประสงค์อาจไม่ใช่การนำเงินไปใช้ในการขยายเพียงอย่างเดียว แต่หลายครั้งได้คู่คิดด้านธุรกิจมาเพิ่มก็สามารถจดเข้ามาเพื่อช่วยกันดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคตได้ นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่หลายองค์กรใช้เพื่อขยายการเติบโต และนอกเหนือจากสองข้อที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ในบางครั้งบริษัทที่อาจไม่ได้ดำเนินธุรกิจไปได้ดีมากนัก ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติมในการช่วยกู้ธุรกิจให้อยู่รอดได้ และในกรณีที่ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ เจ้าของธุรกิจก็มักจะเป็นผู้ที่นำเงินของตัวเองอัดฉีดเข้ามาเพื่อเพิ่มเงินทุนให้บริษัท โดยต้องการให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปด้วย ทั้งนี้ก่อนที่จะเลือกใช้วิธีนี้ ขอแนะนำให้จัดทำแผนกู้วิกฤตให้เรียบร้อย เงินที่นำเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไร และความเป็นไปได้ในการฟื้นตัวของธุรกิจนั้นมีมากน้อยแค่ไหน เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้แม่นยำขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการเพิ่มทุน เช่น  บริษัท A เป็นบริษัท Tech Startup แอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่เพิ่งเริ่มต้นได้ปีกว่า เริ่มต้นจดบริษัทด้วยทุน 1 ล้านบาท แต่ด้วยแนวโน้มเทรนด์ของสุขภาพที่จากการวิเคราะห์ของเจ้าของธุรกิจแล้ว มองว่าน่าจะมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงยอดผู้ใช้งานแอปพลิเคชันต่อวันก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยด้านโอกาสทั้งในมุมของเทรนด์ภาพรวม และยอดการใช้งานในปัจจุบัน ทำให้บริษัท A ตัดสินใจที่จะเพิ่มเงินทุนเพื่อทำการพัฒนาแอปพลิเคชันให้สามารถรองรับการใช้งานที่มากขึ้น การทำการตลาดที่เจาะกลุ่มโดยใช้ตัวอย่าง Persona จากกลุ่มลูกค้าปัจจุบัน และมองหากลุ่มใหม่ รวมไปถึงการ พัฒนาฟีเจอร์ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าในใช้งานแอปพลิเคชัน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่บริษัท A ต้องการพัฒนาเป็นการนำเงินทุนที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเข้ามาใช้ในการจ้างพนักงาน งบการตลาด สวัสดิการเพื่อดึงดูดพนักงานมากฝีมือมาร่วมในโปรเจกต์นี้ โดยแนวโน้มของบริษัท A เป็นไปในทางที่ดี และการจดทะเบียนเพิ่มทุนครั้งนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตในอนาคต และเป็นบันไดไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้นขององค์กร เอกสารสำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุน ในส่วนถัดมาเราขอพาทุกท่านมาดูเอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนกันบ้าง โดยเอกสารที่ต้องใช้ทั้งหมดประกอบไปด้วยเอกสารดังนี้ 1. เอกสารคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (บอจ. 1) 2. แบบรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด 3. แบบจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ หรือ มติพิเศษ (บอจ. 4) 4. หนังสือบริคณหสนธิ ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว พร้อมจ่ายค่าอากรแสตมป์ 50 บาท 5. หลักฐานรับเงินค่าหุ้นเพิ่มทุน ที่บริษัทออกให้ผู้ถือหุ้น 6. คำสั่งศาลในกรณีที่ฟื้นฟูกิจการ 7. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการที่ลงชื่ออยู่ในคำขอจดทะเบียน 8. สำเนาหลักฐานรับรองลายมือชื่อ ถ้ามี 9. หนังสือมอบอำนาจ ถ้ามี 10. สำหรับธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเติมมากกว่า 5 ล้านบาท จำเป็นต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมตามคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนมีด้วยกัน 10 ฉบับข้างต้น นอกจากนี้เอกสารทุกฉบับที่เป็นสำเนา จำเป็นต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้อง ยกเว้นในส่วนของบัตรประชาชนที่เจ้าของบัตรต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องด้วยตัวเอง นอกจากนี้ในการจดทะเบียนเพิ่มทุนจะมีค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระดังนี้ ขั้นตอนการ จดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สำหรับขั้นตอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สามารถทำตาม 3 ขั้นตอนได้ดังนี้ 1. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ขั้นตอนแรกเป็นการออกหนังสือสำหรับการนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยสามารถทำได้ผ่านช่องทางการส่งไปรษณีย์ หรือการส่งหนังสือมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น นอกจากนี้บริษัทที่มีหุ้นผู้ถือ หรือมีข้อบังคับ จำเป็นที่จะต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ด้วย ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นต้องดำเนินการก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามแต่ข้อบังคับกำหนดไว้ 2. จัดการประชุมผู้ถือหุ้น ถัดมาเมื่อทำการออกหนังสือนัดประชุมเรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนของการจัดประชุมจริง โดยผู้ร่วมประชุมต้องมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คนขึ้นไป อีกทั้งเมื่อนับจำนวนหุ้นของผู้ร่วมประชุมแล้วต้องมากกว่า 1 ใน 4 ของหุ้นทุนทั้งหมด โดยในการประชุมจะเป็นวาระการอนุมัติการจดทะเบียนเพิ่มทุน ซึ่งคะแนนที่ได้รับต้องมากกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมดที่เข้าร่วมในการประชุม 3. ยื่นจดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อประชุมและได้รับการอนุมัติในการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมแล้ว เป็นขั้นตอนการยื่นเอกสารให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยต้องดำเนินการภายใน 14 วันหลังจากที่มีมติให้เพิ่มทุนในการจดทะเบียน เพียง 3 ขั้นตอนก็เสร็จเรียบร้อย อย่าลืมตรวจสอบเอกสารที่ต้องนำไปใช้ในการเพิ่มทุนให้เรียบร้อย เพื่อให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนได้อย่างรวดเร็ว ความสำคัญในการจดทะเบียนเพิ่มทุน คือการรู้ว่าต้องเพิ่มทุนเมื่อไหร่ การจดทะเบียนไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด จะมีขั้นตอนเอกสารที่น้อยกว่าในขั้นตอนจดทะเบียนบริษัทครั้งแรก ทั้งนี้สิ่งที่ควรให้ความสำคัญแท้จริงคือเหตุผลในการเพิ่มทุน และการวางแผนถึงอนาคตหลังจากที่ทำการเพิ่มทุนแล้ว เพื่อให้สามารถต่อยอดจากจำนวนทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจ สำหรับท่านไหนที่กำลังคิดตัดสินใจในการจดทะเบียนเพิ่มทุน และเตรียมความพร้อมในการขยายธุรกิจให้เติบโต PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ครบวงจร พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลระบบบัญชีของคุณให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงโปรแกรมอื่น ๆ อาทิ PEAK Payroll โปรแกรมเงินเดือน, PEAK Asset โปรแกรมจัดการสินทรัพย์, PEAK Board โปรแกรมวิเคราะห์ธุรกิจ, PEAK Tax โปรแกรมจัดการภาษี ซึ่งโปรแกรมทั้งหมดมาพร้อมคู่มือการใช้งาน ปรับใช้ในองค์กรได้อย่างง่ายดาย! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

4 ก.ค. 2025

PEAK Account

5 min

สิทธิพิเศษลูกค้า PEAK เปิดเว็บกับ MakeWebEasy ลดสูงสุด 20%

สำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจที่ใช้ PEAK อยู่แล้ว และกำลังมองหาช่องทางออนไลน์ในการเริ่มโปรโมทธุรกิจ หรือขยายธุรกิจบนออนไลน์ การสร้างเว็บไซต์ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ยังคงมีประสิทธิภาพและสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจได้เป็นอย่างดี วันนี้ PEAK ได้ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ MakeWebEasy แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปของไทย ที่ทำให้ทุกธุรกิจเติบโตบนออนไลน์มามากกว่า 9,000 ธุรกิจ ขอมอบโปรโมชั่นสุดคุ้มที่ออกแบบมาให้ธุรกิจของคุณสามารถขยายตลาดบนออนไลน์ได้แบบครบครัน เลือกได้เลยตามความต้องการของคุณเอง 3 โปรโมชันเด็ด เฉพาะ สิทธิพิเศษลูกค้า PEAK เท่านั้น! สิทธิพิเศษแรก รับส่วนลด 10% เมื่อซื้อแพ็กเกจเว็บไซต์ของ MakeWebEasy เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการเริ่มต้นมีเว็บไซต์อย่างรวดเร็วด้วยเทมเพลตเว็บไซต์ที่เรามีให้ สร้างสรรค์เว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง พร้อมฟีเจอร์ที่ทุกธุรกิจต้องการ เช่น ระบบตะกร้าสินค้า ระบบบทความ รองรับโค้ดสำหรับการทำโฆษณาในทุกช่องทาง     อ่านรายละเอียดบริการ : www.makewebeasy.com/th/website-package  สิทธิพิเศษที่สอง รับส่วนลด 15% เมื่อซื้อแพ็กเกจเว็บไซต์ และบริการเสริมจาก MakeWebEasy เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการมากกว่าเว็บไซต์พื้นฐาน โดยคุณสามารถเลือกรับบริการเสริม 1 บริการ เพื่อเสริมประสิทธิภาพของเว็บไซต์ให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องการเว็บไซต์ที่มีดีไซน์เฉพาะตัว สวยงาม และใช้งานง่าย ทีมออกแบบมืออาชีพของ MakeWebEasy จะช่วยสร้างสรรค์เว็บไซต์ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของแบรนด์คุณได้อย่างโดดเด่น ทำให้เว็บไซต์ของคุณดูน่าเชื่อถือและดึงดูดลูกค้ามากขึ้น อ่านรายละเอียดบริการ : www.makewebeasy.com/th/website-design  สำหรับผู้ที่ต้องการให้เว็บไซต์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นผ่านการทำการตลาด โดยโปรโมทเว็บไซต์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การทำ SEO (Search Engine Optimization) เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาบน Google หรือการทำโฆษณาออนไลน์อย่าง Google Ads เพื่อเพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์อย่างรวดเร็วและสร้างยอดขายได้ทันที อ่านรายละเอียดบริการ SEO : www.makewebeasy.com/th/seo-suggestion  อ่านรายละเอียดบริการ Google : www.makewebeasy.com/th/google-adwords  สิทธิพิเศษที่สาม รับส่วนลด 20% เมื่อซื้อแพ็กเกจเว็บไซต์ บริการออกแบบเว็บไซต์ + การตลาดออนไลน์ จาก MakeWebEasy แพ็กเกจที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับธุรกิจที่ต้องการโซลูชั่นทางธุรกิจออนไลน์แบบครบวงจร  เริ่มตั้งแต่การมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง การออกแบบเว็บไซต์ที่เป็นเอกลักษณ์จากทีมดีไซน์เนอร์ ไปจนถึงการทำการตลาดออนไลน์ผ่านการวางโครงสร้างที่ถูกหลัก SEO และยิงโฆษณาให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักและสร้างยอดขายด้วย Google Ads  ________________________________ สิทธิพิเศษลูกค้า PEAK จาก MakeWebEasy หากคุณกำลังจะสร้างเว็บไซต์ใหม่ เวลานี้คุ้มที่สุด เพราะเราพร้อมมอบสิทธิพิเศษในการใช้บริการเว็บไซต์ของ MakeWebEasy ในราคาที่พิเศษกว่าใคร วันนี้ – 31 สิงหาคม 2568 เท่านั้น สนใจลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ที่  ________________________________ สอบถามรายละเอียดบริการสร้างเว็บไซต์กับ MakeWebEasy Facebook Page : www.facebook.com/makewebeasy  Add Line : 40xsm5339b  Call : 022177999