Easy E-Receipt

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

18 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

11 min

e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice และ e-Tax Invoice by Time Stamp จากบทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice และ e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร กันมาแล้ว ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice อีกหนึ่งประเภทว่าคืออะไร และธุรกิจประเภทใดที่ควรเข้าร่วมโครงการ e-Tax Invoice ประเภทนี้ สำหรับคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ต่อ ผมเชื่อว่าธุรกิจของคุณมีความพร้อมทางด้านระบบงาน มีการออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินจำนวนมาก และพร้อมเปลี่ยนธุรกิจเข้าสู่โลกดิจิทัล นับจากนี้เรามาทำความรู้จักโครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ในเชิงลึกกันต่อเลยครับ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร? โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ  ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และมีหน้าที่นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร 5 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ e-Tax Invoice & e-Receipt ออกได้ ไม่เพียงแต่ใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้ กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ 1. ใบกำกับภาษี (เต็มรูป) ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร 2. ใบกำกับภาษี (อย่างย่อ) ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร 3. ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร 4. ใบลดหนี้ (Credit Note) ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร 5. ใบรับ (ใบเสร็จรับเงิน) ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice & e-Receipt มีดังต่อไปนี้ 1. เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่อยู่ภายใต้การรับรองของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NRCA) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) 3. มีระบบการควบคุมภายในที่ดี สามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำและนำส่งให้แก่ผู้รับมีความถูกต้องครบถ้วนโดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ 4. ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice by Time Stamp) ขั้นตอนการทำงานของระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1. จัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่กำหนดในรูปแบบ XML หรือรูปแบบอื่นที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล 2. ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 3. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ด้วยวิธีต่างๆ 3 วิธี ดังต่อไปนี้ 3.1 Web upload เป็นการส่งข้อมูลให้กับสรรพากร โดยการอัปโหลดเอกสารในรูปแบบ XML ให้แก่กรมสรรพากรผ่านทางเว็บไซต์ etax.rd.go.th 3.2 Service provider เป็นการเลือกใช้บริการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ให้บริการส่งข้อมูลที่กรมสรรพากรรับรอง 3.3 Host to host สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งข้อมูลจำนวนมาก (ไม่น้อยกว่า 500,000 ฉบับ/เดือน) และอยู่ในการกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ขั้นตอนการสมัคร e-Tax Invoice & e-Receipt 1. จัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) จากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ 2 ราย ได้แก่ บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จำกัด (www.thaidigitalid.com) และบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ( ) ทั้งนี้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดเก็บด้วยอุปกรณ์ USB Token หรือ HSM และการเลือกใช้อุปกรณ์ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และลักษณะการใช้งานของผู้ประกอบการแต่ละราย 2. ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม Ultimate Sign&View ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์  3. เชื่อมต่ออุปกรณ์ Token หรือ HSM ที่มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์และตั้งค่าโปรแกรม 4. ลงทะเบียน บ.อ.01 ผ่านโปรแกรมฯ โดยระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ระบบจะแสดงชื่อสถานประกอบการและที่ตั้งสำนักงาน ให้ตรวจสอบข้อมูล ระบุอีเมลที่ใช้ในการติดต่อกรมสรรพากร และลงลายมือชื่อเพื่อยืนยันการลงทะเบียน 5. ตรวจสอบอีเมล และสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภทผู้ประกอบการ (Corporate) และกำหนดรหัสผ่าน (Password) ด้วยตนเอง 6. เข้าสู่ระบบบริการสมาชิก ที่เว็บไซต์ 7. เมื่อได้รับอนุมัติตามคำขอ บ.อ.01 แล้วระบบจะสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภท ผู้ประกอบการ(Corporate) ในนามของสำนักงานใหญ่ ที่ขึ้นต้นด้วย CA ตามด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร13 หลัก ซึ่งผู้ประกอบการสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้งาน และกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานภายในองค์กรได้ตามประเภทผู้ใช้งาน 8. จากนั้น ท่านสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice & e-Receipt ได้แล้ว ซึ่งขั้นตอนการยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt สามารถสรุปเป็นแผนภาพง่ายๆ ได้ดังนี้ จากขั้นตอนการสมัครจะบางท่านจะคิดว่าขั้นตอนกระบวนการดูยุ่งยากและซับซ้อน แต่ในกรณีที่ผู้ประกอบการเลือกใช้บริการผ่าน Service provide ทาง Service provide จะมีบริการช่วยทำตั้งแต่ขั้นตอนการของการจัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Certificate) การสมัครเข้าโครงการ e-Tax Invoice และ e-Receipt ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องกังวลกับเรื่องเหล่านี้ และสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้เลยครับ ขั้นตอนการเชื่อมต่อ e-Tax Invoice & e-Receipt กับโปรแกรม PEAK ปัจจุบัน PEAK สามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ(Service provide) e-Tax Invoice & e-Receipt ถึง 2 ราย ได้แก่ 1) บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET), สนใจอ่านวิธีเชื่อมต่อกับ INET เพิ่มเติมได้ที่นี่ 2) บจ. ฟรีเวชั่น จำกัด (Leceipt), สนใจอ่านวิธีเชื่อมต่อกับ Leceipt เพิ่มเติมได้ที่นี่ นอกจากผู้ให้บริการ e-Tax Invoice & e-Receipt จะช่วยคุณตั้งแต่การสมัครและขอใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แล้ว PEAK ยังช่วยทำให้การส่งออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไปยังคู่ค้าได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิกครับ PEAK ขอเล่า : การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ทั้ง 2 รูปแบบ ทั้ง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt จะสร้างความสะดวก ลดปัญหาในการจัดเก็บเอกสารทั้งกับกิจการ ร้านค้า และผู้ซื้อ นอกจากนั้นยังรองรับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาครัฐในอนาคตอีกหลายๆ มาตรการ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลไม่ควรพลาด สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่เหลืออีกหนึ่งโครงการ นั่นคือ โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ตามไปอ่านกันต่อได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ขั้นตอนการสมัคร และการใช้งาน PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้วครับ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลยครับ ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

17 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

9 min

e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร

จากบทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice ผู้ประกอบการคงรู้กันแล้วว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ก็คือ การเปลี่ยนใบกำกับภาษีแบบกระดาษมาเป็นแบบออนไลน์ผ่านวิธีที่กรมสรรพากรรองรับ แต่สำหรับใครที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการนี้ก็ต้องเลือกต่อว่าโครงการใดที่เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจของเรา ระหว่าง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt สำหรับในบทความนี้ เราจะมาพูดถึง e-Tax Invoice by Time Stamp กันครับว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไร และมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร? e-Tax Invoice by Time Stamp (ชื่อเดิม e-Tax Invoice by Email) เป็นการจัดทำใบกำกับภาษีโดยการส่งอีเมลถึงผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ พร้อมสำเนา CC ไปยังระบบของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.หรือ ETDA) เพื่อให้ระบบประทับรับรองเวลา (Time Stamp) และระบบจะส่งใบกำกับภาษีที่ประทับรับรองเวลาแล้วให้กับผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรม 3 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ออก e-Tax Invoice by Time Stamp ได้ นอกจากใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้แล้ว กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp ผู้ประกอบการที่ต้องการขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการทำงานระบบ e-Tax Invoice by Time Stamp การยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice by Time Stamp ขั้นตอนการเชื่อมต่อ e-Tax Invoice by Time Stamp กับโปรแกรม PEAK หลังจากที่ผู้ประกอบการได้รับอีเมลที่ได้ลงทะเบียนกับทางกรมสรรพากรแล้ว สามารถใช้อีเมลดังกล่าวมากรอกและกดเชื่อมต่อการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) กับ PEAK ได้ทันทีง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก ซึ่งสามารถติดตามขั้นตอนการเชื่อมต่อและจัดส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมได้ที่บทความ การเชื่อมต่อและวิธีจัดส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แบบ e-Tax Invoice by Time Stamp PEAK ขอเล่า : สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่เหลืออีกหนึ่งโครงการ นั่นคือ โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ตามไปอ่านกันต่อได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้วครับ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลยครับ ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

17 ม.ค. 2024

PEAK Account

2 min

ส่งใบลดหนี้/ใบกำกับภาษี ผ่านระบบ e-Tax Invoice

ถ้าทางกิจการมีการเชื่อมต่อการส่ง e-Tax Invoice ที่โปรแกรม PEAK เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้งานสามารถที่จะส่งเอกสาร ใบลดหนี้ ผ่านระบบ e-Tax Invoice ได้โดยเอกสารใบลดหนี้ที่สามารถส่ง e-Tax Invoice ได้นั้น จะต้องเป็น ใบลดหนี้/ใบกำกับภาษีผู้ใช้งานสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1: ไปที่เอกสารใบลดหนี้/ใบกำกับภาษี ที่ต้องการส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กดคลิกเครื่องหมาย Drop Down ที่ปุ่ม ส่งเอกสาร >> เลือก e-Tax Invoice ขั้นตอนที่ 2: ขั้นตอนการส่งใบกำกับภาษีอิเล็กจะแบ่งเป็น 2 แบบ แบบที่ 1: ใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ผ่าน INET แบบที่ 2: ใช้ระบบ e-Tax Invoice by Email หมายเหตุ: เอกสารใบลดหนี้ที่ต้องการส่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องเป็นเอกสารฉบับใบลดหนี้แบบอ้างอิงเท่านั้น – จบขั้นตอนการส่งเอกสารใบลดหนี้ e-Tax invoice –

16 ม.ค. 2024

PEAK Account

7 min

วิธีการออกใบแทนใบกำกับภาษี กรณีที่ต้องการยกเลิก e-Tax invoice by email

เนื่องจากประกาศกรมสรรพากรว่าในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 สิ้นสุดลง ทางกรมสรรพากรจึงประกาศเกี่ยวกับการจัดทำ ส่งหรือเก็บรักษาใบกำกับภาษีโดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) กรณีที่ผู้ใช้งานได้มีการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์พร้อมส่งเอกสารเรียบร้อย แต่ในภายหลังพบข้อมูลในเอกสารไม่ถูกต้อง ให้ผู้ใช้งานจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้องขึ้นมาโดยไม่จำต้องเรียกคืนใบกำกับภาษีฉบับเดิม พร้อมทั้งระบุข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้ 1. กำหนดเลขที่ใบกำกับภาษีฉบับใหม่เป็นเลขที่ใหม่ และระบุ วัน เดือน ปี ที่ได้จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ 2. จัดทำข้อความที่แสดงว่า เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเลขที่ … ลงวันที่ .. หรือข้อความอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน และหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ โดยประกาศนี้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566อ้างอิง การจัดทำ ส่งหรือเก็บรักษาใบกำกับภาษีโดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ในการใช้งาน หากผู้ใช้งานตรวจสอบพบว่าข้อมูลในใบกำกับภาษีฉบับเดิมนั้นผิด ผู้ใช้งานสามารถยกเลิกและออกเอกสารใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมได้โดยกด “ยกเลิก e-Tax Invoice” (ดังภาพระกอบด้านล่าง) จากนั้นระบบจะแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการออกให้เบื้องต้น และให้กดยืนยัน หลังจากนั้นให้ผู้ใช้งานทำการออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ (ตามข้อ 1.) โดยใช้เลขที่ใหม่และอ้างอิงเลขที่ใบกำกับภาษีเดิม (ตามข้อ 2.) แทน โดยวิธีการออกใบกำกับภาษีใบใหม่มีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1: ไปที่หน้าเอกสารเดิมที่กดยกเลิก e-Tax invoice ไป จากนั้นกดตัวเลือก > คัดลอก ขั้นตอนที่ 2: ในช่องอ้างอิง ให้ระบุเลขที่เอกสารฉบับเดิม เพื่อที่จะทราบว่าใบกำกับภาษีฉบับนี้เป็นการออกแทนใบกำกับภาษีฉบับเดิม ขั้นตอนที่ 3: ช่องหมายเหตุ ให้ระบบข้อความตามข้อ 2. ที่สรรพากรกำหนด คือ เดิม: ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี เลขที่ IV-2023050007 วันที่ 31/05/2023ใหม่: ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี เลขที่ IV-2023050008 วันที่ 31/05/2023หมายเหตุเอกสารระบุ: เป็นการยกเลิกและใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเลขที่ IV-20230500007 ลงวันที่ 31/05/2023 เนื่องจากที่อยู่ผิด ขั้นตอนที่ 4: ขั้นตอนการดาวน์โหลดไฟล์ PDF/A-3 ของเอกสารใบกำกับภาษีฉบับใหม่เพื่อนำไฟล์ไปส่งอีเมล ขั้นตอนที่ 5: ในการส่งเอกสาร e-Tax invoice จากเดิมเมื่อกดส่งทางอีเมล ระบบจะขึ้นหัวข้อให้อัตโนมัติแต่เนื่องจากประกาศจากสรรพากร กรณีเป็นการออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ หัวข้อให้ระบุดังนี้ ทำให้ไม่สามารถส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรม PEAK ได้ รายละเอียดในการระบุอีเมล ส่ง (To) : ให้ระบุเป็นอีเมลของลูกค้า​สำเนา (Cc) : ให้ระบุอีเมลของ Etda (ต้องระบุทุกครั้ง): [email protected]​หัวข้ออีเมล (Subject) : ให้ระบุ [วันเดือนปีที่ออกใบกำกับภาษีใหม่][INV][เลขที่ใบกำกับภาษีใหม่][เลขที่ใบกำกับภาษีเดิม]ยกตัวอย่างเช่น ใบกำกับภาษีฉบับใหม่เลขที่ [IV-2023050008] ออกวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ใบกำกับภาษีฉบับใหม่เลขที่ [IV-2023050007] หัวข้ออีเมลจะได้ว่า [31052565][INV][IV-2023050008][IV-2023050007] และทำการแนบไฟล์ใบกำกับภาษี ที่ดาวน์โหลด PDF-A3 จากโปรแกรม ตัวอย่างอีเมลที่ส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ ข้อจำกัดในการทำใบกำกับภาษีออกแทน1. ค่อนข้างซับซ้อน อาจทำผิดได้2. ระบบจะยังไม่มีการล็อกข้อมูลหรือแจ้งเตือนข้อมูลว่าใบกำกับภาษีฉบับใหม่ได้นำส่งแล้ว นอกจากผู้ใช้งานจะทำการตรวจสอบเองที่อีเมล (ข้อจำกัดนี้แก้ไขได้ด้วยการระบุความคิดเห็น (Comment) ใต้เอกสารว่ามีการส่งเรียบร้อย) – จบขั้นตอนวิธีการออกใบแทน –

18 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

11 min

e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice และ e-Tax Invoice by Time Stamp จากบทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice และ e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร กันมาแล้ว ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice อีกหนึ่งประเภทว่าคืออะไร และธุรกิจประเภทใดที่ควรเข้าร่วมโครงการ e-Tax Invoice ประเภทนี้ สำหรับคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ต่อ ผมเชื่อว่าธุรกิจของคุณมีความพร้อมทางด้านระบบงาน มีการออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินจำนวนมาก และพร้อมเปลี่ยนธุรกิจเข้าสู่โลกดิจิทัล นับจากนี้เรามาทำความรู้จักโครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ในเชิงลึกกันต่อเลยครับ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร? โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ  ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และมีหน้าที่นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร 5 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ e-Tax Invoice & e-Receipt ออกได้ ไม่เพียงแต่ใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้ กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ 1. ใบกำกับภาษี (เต็มรูป) ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร 2. ใบกำกับภาษี (อย่างย่อ) ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร 3. ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร 4. ใบลดหนี้ (Credit Note) ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร 5. ใบรับ (ใบเสร็จรับเงิน) ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice & e-Receipt มีดังต่อไปนี้ 1. เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่อยู่ภายใต้การรับรองของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NRCA) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) 3. มีระบบการควบคุมภายในที่ดี สามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำและนำส่งให้แก่ผู้รับมีความถูกต้องครบถ้วนโดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ 4. ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice by Time Stamp) ขั้นตอนการทำงานของระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1. จัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่กำหนดในรูปแบบ XML หรือรูปแบบอื่นที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล 2. ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 3. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ด้วยวิธีต่างๆ 3 วิธี ดังต่อไปนี้ 3.1 Web upload เป็นการส่งข้อมูลให้กับสรรพากร โดยการอัปโหลดเอกสารในรูปแบบ XML ให้แก่กรมสรรพากรผ่านทางเว็บไซต์ etax.rd.go.th 3.2 Service provider เป็นการเลือกใช้บริการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ให้บริการส่งข้อมูลที่กรมสรรพากรรับรอง 3.3 Host to host สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งข้อมูลจำนวนมาก (ไม่น้อยกว่า 500,000 ฉบับ/เดือน) และอยู่ในการกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ขั้นตอนการสมัคร e-Tax Invoice & e-Receipt 1. จัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) จากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ 2 ราย ได้แก่ บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จำกัด (www.thaidigitalid.com) และบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ( ) ทั้งนี้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดเก็บด้วยอุปกรณ์ USB Token หรือ HSM และการเลือกใช้อุปกรณ์ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และลักษณะการใช้งานของผู้ประกอบการแต่ละราย 2. ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม Ultimate Sign&View ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์  3. เชื่อมต่ออุปกรณ์ Token หรือ HSM ที่มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์และตั้งค่าโปรแกรม 4. ลงทะเบียน บ.อ.01 ผ่านโปรแกรมฯ โดยระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ระบบจะแสดงชื่อสถานประกอบการและที่ตั้งสำนักงาน ให้ตรวจสอบข้อมูล ระบุอีเมลที่ใช้ในการติดต่อกรมสรรพากร และลงลายมือชื่อเพื่อยืนยันการลงทะเบียน 5. ตรวจสอบอีเมล และสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภทผู้ประกอบการ (Corporate) และกำหนดรหัสผ่าน (Password) ด้วยตนเอง 6. เข้าสู่ระบบบริการสมาชิก ที่เว็บไซต์ 7. เมื่อได้รับอนุมัติตามคำขอ บ.อ.01 แล้วระบบจะสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภท ผู้ประกอบการ(Corporate) ในนามของสำนักงานใหญ่ ที่ขึ้นต้นด้วย CA ตามด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร13 หลัก ซึ่งผู้ประกอบการสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้งาน และกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานภายในองค์กรได้ตามประเภทผู้ใช้งาน 8. จากนั้น ท่านสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice & e-Receipt ได้แล้ว ซึ่งขั้นตอนการยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt สามารถสรุปเป็นแผนภาพง่ายๆ ได้ดังนี้ จากขั้นตอนการสมัครจะบางท่านจะคิดว่าขั้นตอนกระบวนการดูยุ่งยากและซับซ้อน แต่ในกรณีที่ผู้ประกอบการเลือกใช้บริการผ่าน Service provide ทาง Service provide จะมีบริการช่วยทำตั้งแต่ขั้นตอนการของการจัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Certificate) การสมัครเข้าโครงการ e-Tax Invoice และ e-Receipt ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องกังวลกับเรื่องเหล่านี้ และสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้เลยครับ ขั้นตอนการเชื่อมต่อ e-Tax Invoice & e-Receipt กับโปรแกรม PEAK ปัจจุบัน PEAK สามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ(Service provide) e-Tax Invoice & e-Receipt ถึง 2 ราย ได้แก่ 1) บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET), สนใจอ่านวิธีเชื่อมต่อกับ INET เพิ่มเติมได้ที่นี่ 2) บจ. ฟรีเวชั่น จำกัด (Leceipt), สนใจอ่านวิธีเชื่อมต่อกับ Leceipt เพิ่มเติมได้ที่นี่ นอกจากผู้ให้บริการ e-Tax Invoice & e-Receipt จะช่วยคุณตั้งแต่การสมัครและขอใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แล้ว PEAK ยังช่วยทำให้การส่งออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไปยังคู่ค้าได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิกครับ PEAK ขอเล่า : การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ทั้ง 2 รูปแบบ ทั้ง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt จะสร้างความสะดวก ลดปัญหาในการจัดเก็บเอกสารทั้งกับกิจการ ร้านค้า และผู้ซื้อ นอกจากนั้นยังรองรับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาครัฐในอนาคตอีกหลายๆ มาตรการ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลไม่ควรพลาด สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่เหลืออีกหนึ่งโครงการ นั่นคือ โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ตามไปอ่านกันต่อได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ขั้นตอนการสมัคร และการใช้งาน PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้วครับ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลยครับ ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

17 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

9 min

e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร

จากบทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice ผู้ประกอบการคงรู้กันแล้วว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ก็คือ การเปลี่ยนใบกำกับภาษีแบบกระดาษมาเป็นแบบออนไลน์ผ่านวิธีที่กรมสรรพากรรองรับ แต่สำหรับใครที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการนี้ก็ต้องเลือกต่อว่าโครงการใดที่เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจของเรา ระหว่าง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt สำหรับในบทความนี้ เราจะมาพูดถึง e-Tax Invoice by Time Stamp กันครับว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไร และมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร? e-Tax Invoice by Time Stamp (ชื่อเดิม e-Tax Invoice by Email) เป็นการจัดทำใบกำกับภาษีโดยการส่งอีเมลถึงผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ พร้อมสำเนา CC ไปยังระบบของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.หรือ ETDA) เพื่อให้ระบบประทับรับรองเวลา (Time Stamp) และระบบจะส่งใบกำกับภาษีที่ประทับรับรองเวลาแล้วให้กับผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรม 3 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ออก e-Tax Invoice by Time Stamp ได้ นอกจากใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้แล้ว กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp ผู้ประกอบการที่ต้องการขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการทำงานระบบ e-Tax Invoice by Time Stamp การยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice by Time Stamp ขั้นตอนการเชื่อมต่อ e-Tax Invoice by Time Stamp กับโปรแกรม PEAK หลังจากที่ผู้ประกอบการได้รับอีเมลที่ได้ลงทะเบียนกับทางกรมสรรพากรแล้ว สามารถใช้อีเมลดังกล่าวมากรอกและกดเชื่อมต่อการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) กับ PEAK ได้ทันทีง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก ซึ่งสามารถติดตามขั้นตอนการเชื่อมต่อและจัดส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมได้ที่บทความ การเชื่อมต่อและวิธีจัดส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แบบ e-Tax Invoice by Time Stamp PEAK ขอเล่า : สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่เหลืออีกหนึ่งโครงการ นั่นคือ โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ตามไปอ่านกันต่อได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้วครับ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลยครับ ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

17 ม.ค. 2024

PEAK Account

2 min

ส่งใบลดหนี้/ใบกำกับภาษี ผ่านระบบ e-Tax Invoice

ถ้าทางกิจการมีการเชื่อมต่อการส่ง e-Tax Invoice ที่โปรแกรม PEAK เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้งานสามารถที่จะส่งเอกสาร ใบลดหนี้ ผ่านระบบ e-Tax Invoice ได้โดยเอกสารใบลดหนี้ที่สามารถส่ง e-Tax Invoice ได้นั้น จะต้องเป็น ใบลดหนี้/ใบกำกับภาษีผู้ใช้งานสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1: ไปที่เอกสารใบลดหนี้/ใบกำกับภาษี ที่ต้องการส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กดคลิกเครื่องหมาย Drop Down ที่ปุ่ม ส่งเอกสาร >> เลือก e-Tax Invoice ขั้นตอนที่ 2: ขั้นตอนการส่งใบกำกับภาษีอิเล็กจะแบ่งเป็น 2 แบบ แบบที่ 1: ใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ผ่าน INET แบบที่ 2: ใช้ระบบ e-Tax Invoice by Email หมายเหตุ: เอกสารใบลดหนี้ที่ต้องการส่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องเป็นเอกสารฉบับใบลดหนี้แบบอ้างอิงเท่านั้น – จบขั้นตอนการส่งเอกสารใบลดหนี้ e-Tax invoice –

16 ม.ค. 2024

PEAK Account

7 min

วิธีการออกใบแทนใบกำกับภาษี กรณีที่ต้องการยกเลิก e-Tax invoice by email

เนื่องจากประกาศกรมสรรพากรว่าในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 สิ้นสุดลง ทางกรมสรรพากรจึงประกาศเกี่ยวกับการจัดทำ ส่งหรือเก็บรักษาใบกำกับภาษีโดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) กรณีที่ผู้ใช้งานได้มีการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์พร้อมส่งเอกสารเรียบร้อย แต่ในภายหลังพบข้อมูลในเอกสารไม่ถูกต้อง ให้ผู้ใช้งานจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้องขึ้นมาโดยไม่จำต้องเรียกคืนใบกำกับภาษีฉบับเดิม พร้อมทั้งระบุข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้ 1. กำหนดเลขที่ใบกำกับภาษีฉบับใหม่เป็นเลขที่ใหม่ และระบุ วัน เดือน ปี ที่ได้จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ 2. จัดทำข้อความที่แสดงว่า เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเลขที่ … ลงวันที่ .. หรือข้อความอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน และหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ โดยประกาศนี้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566อ้างอิง การจัดทำ ส่งหรือเก็บรักษาใบกำกับภาษีโดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ในการใช้งาน หากผู้ใช้งานตรวจสอบพบว่าข้อมูลในใบกำกับภาษีฉบับเดิมนั้นผิด ผู้ใช้งานสามารถยกเลิกและออกเอกสารใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมได้โดยกด “ยกเลิก e-Tax Invoice” (ดังภาพระกอบด้านล่าง) จากนั้นระบบจะแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการออกให้เบื้องต้น และให้กดยืนยัน หลังจากนั้นให้ผู้ใช้งานทำการออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ (ตามข้อ 1.) โดยใช้เลขที่ใหม่และอ้างอิงเลขที่ใบกำกับภาษีเดิม (ตามข้อ 2.) แทน โดยวิธีการออกใบกำกับภาษีใบใหม่มีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1: ไปที่หน้าเอกสารเดิมที่กดยกเลิก e-Tax invoice ไป จากนั้นกดตัวเลือก > คัดลอก ขั้นตอนที่ 2: ในช่องอ้างอิง ให้ระบุเลขที่เอกสารฉบับเดิม เพื่อที่จะทราบว่าใบกำกับภาษีฉบับนี้เป็นการออกแทนใบกำกับภาษีฉบับเดิม ขั้นตอนที่ 3: ช่องหมายเหตุ ให้ระบบข้อความตามข้อ 2. ที่สรรพากรกำหนด คือ เดิม: ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี เลขที่ IV-2023050007 วันที่ 31/05/2023ใหม่: ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี เลขที่ IV-2023050008 วันที่ 31/05/2023หมายเหตุเอกสารระบุ: เป็นการยกเลิกและใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเลขที่ IV-20230500007 ลงวันที่ 31/05/2023 เนื่องจากที่อยู่ผิด ขั้นตอนที่ 4: ขั้นตอนการดาวน์โหลดไฟล์ PDF/A-3 ของเอกสารใบกำกับภาษีฉบับใหม่เพื่อนำไฟล์ไปส่งอีเมล ขั้นตอนที่ 5: ในการส่งเอกสาร e-Tax invoice จากเดิมเมื่อกดส่งทางอีเมล ระบบจะขึ้นหัวข้อให้อัตโนมัติแต่เนื่องจากประกาศจากสรรพากร กรณีเป็นการออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ หัวข้อให้ระบุดังนี้ ทำให้ไม่สามารถส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรม PEAK ได้ รายละเอียดในการระบุอีเมล ส่ง (To) : ให้ระบุเป็นอีเมลของลูกค้า​สำเนา (Cc) : ให้ระบุอีเมลของ Etda (ต้องระบุทุกครั้ง): [email protected]​หัวข้ออีเมล (Subject) : ให้ระบุ [วันเดือนปีที่ออกใบกำกับภาษีใหม่][INV][เลขที่ใบกำกับภาษีใหม่][เลขที่ใบกำกับภาษีเดิม]ยกตัวอย่างเช่น ใบกำกับภาษีฉบับใหม่เลขที่ [IV-2023050008] ออกวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ใบกำกับภาษีฉบับใหม่เลขที่ [IV-2023050007] หัวข้ออีเมลจะได้ว่า [31052565][INV][IV-2023050008][IV-2023050007] และทำการแนบไฟล์ใบกำกับภาษี ที่ดาวน์โหลด PDF-A3 จากโปรแกรม ตัวอย่างอีเมลที่ส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ ข้อจำกัดในการทำใบกำกับภาษีออกแทน1. ค่อนข้างซับซ้อน อาจทำผิดได้2. ระบบจะยังไม่มีการล็อกข้อมูลหรือแจ้งเตือนข้อมูลว่าใบกำกับภาษีฉบับใหม่ได้นำส่งแล้ว นอกจากผู้ใช้งานจะทำการตรวจสอบเองที่อีเมล (ข้อจำกัดนี้แก้ไขได้ด้วยการระบุความคิดเห็น (Comment) ใต้เอกสารว่ามีการส่งเรียบร้อย) – จบขั้นตอนวิธีการออกใบแทน –