โดยทั่วไปการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้วิธีดังนี้วิธีที่ 1 = [เงินได้ทั้งปี หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน] คูณ อัตราภาษีขั้นบันได 0% – 35% = ภาษีที่ต้องชำระนอกจากนี้กรณีมีเงินได้ประเภท 40(2)-(8) ตั้งแต่ 1.2 แสนบาทขึ้นไป ให้คำนวณวิธีที่ 2 เปรียบเทียบ แล้วเสียภาษีจากวิธีที่คำนวณภาษีได้มากกว่าวิธีที่ 2 = เงินได้ทั้งปี (ยกเว้นเงินได้ 40(1)) คูณ 0.5% = ภาษีที่ต้องชำระ การเสียภาษีถือเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนชาวไทยอย่างเราๆ แม้จะมีรายได้มากหรือน้อยก็ยังต้องเสียภาษีอยู่ดี เช่น พี่เอกเป็นพนักงานบริษัท PEAK เมื่อได้เงินเดือนเกินเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดก็ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี หรือแม้แต่ป้าชม้อยที่เป็นคนว่างงานเดินเข้าร้านสะดวกซื้อ ซื้อขนมซองละ 20 บาท ก็ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยที่คุณป้าก็ไม่รู้ตัว นอกจากนี้ยังมีภาษีอีกหลายประเภทที่เราต้องจ่ายในชีวิตประจำวัน วันนี้ผมจะพาผู้อ่านทุกคนมารู้จักกับภาษีจากรายได้ที่บุคคลอย่างเราๆ ต้องจ่ายให้รัฐหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันครับ บุคคลธรรมดา คือ ใคร? พอนึกถึงคำว่า “บุคคลธรรมดา” เราคงนึกถึงสิ่งมีชีวิตที่มีสองแขนสองขาที่เรียกว่ามนุษย์แบบเราใช่ไหมครับ แต่รู้หรือไม่ว่าในทางภาษี ไม่ได้หมายถึงแค่บุคคลที่มีชีวิตเท่านั้น แสดงว่าอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็ได้เหรอ? ใช่เลยครับ กรมสรรพากรได้กำหนดให้นิยามของ “บุคคลธรรมดา” ครอบคลุมถึง 5 กลุ่ม ดังนี้ เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี? ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ที่บุคคลหามาได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็ตาม เพื่อที่จะนำรายได้นั้นไปเป็นฐานเพื่อเสียภาษี ในทางภาษีจะเรียก “รายได้” ว่า “เงินได้” หรือเรียกชื่อเต็มๆ คือ “เงินได้พึงประเมิน” ได้แก่ จะเห็นได้ว่าเงินได้เพื่อเสียภาษีไม่ได้จำกัดว่าต้องรับเป็นเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งของ หรือผลประโยชน์อื่นๆ เช่น นายจ้างได้เช่าบ้านให้เป็นที่พักอาศัยของพนักงาน ค่าเช่าบ้านจึงถือเป็นเงินได้ของพนักงาน ถือเป็นผลประโยชน์ที่พนักงานได้รับทั้งสิ้น ซึ่งต้องนำมาเสียภาษีด้วย หรือแม้แต่ของที่มีคนเอาให้เราฟรีๆ ก็ยังถือเป็นเงินได้ด้วยนะครับ ก่อนคำนวณภาษี ต้องรู้จักเงินได้พึงประเมิน 8 ประเภทก่อน เนื่องจากแต่ละคนประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือมีต้นทุนที่มากน้อยไม่เท่ากัน เพื่อความเป็นธรรม ในกฎหมายภาษีจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้ (พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความยากง่ายของงาน และจำนวนเงินที่จ่ายค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนเพื่อกำหนดวิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด เพราะงานที่ใช้ต้นทุนสูงก็ควรหักค่าใช้จ่ายได้เยอะ ถ้าต้นทุนน้อยก็ควรหักค่าใช้จ่ายได้น้อย ตัวอย่างเช่น เงินได้ประเภทที่ 1 เงินเดือน กำหนดค่าใช้จ่ายให้หักเหมา 50% สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท เพราะค่าใช้จ่ายในการทำงานของมนุษย์เงินเดือนไม่ได้สูงมากนัก หรือ เงินได้ประเภทที่ 7 ค่ารับเหมาก่อสร้างจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงถึง 60% เพราะการรับเหมาต้องมีค่าแรงงานและซื้อค่าวัสดุก่อสร้างซึ่งมีมูลค่าที่สูง ถ้าอยากเข้าใจเงินได้ทั้ง 8 ประเภทมากขึ้น ผมขอแนะนำให้อ่านบทความ ต้องรู้ก่อนเสียภาษี เงินได้ 8 ประเภทมีอะไรบ้าง? เพิ่มเติมครับ มาเริ่มคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากัน? หลังที่เรารู้ว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อะไรบ้างที่ถือเป็นเงินได้และประเภทของเงินได้กันแล้ว ก็ถือเวลาที่เราต้องเข้าใจขั้นตอนถัดมา คือ การคำนวณภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาครับ สิ่งแรกที่เราต้องทำคือรวบรวมเงินได้ที่หามาได้ตลอดทั้งปีภาษีมารวมกันครับ (ยกเว้นเงินได้ที่ยกเว้นภาษีหรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) และนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม 3 ขั้นตอน ดังนี้ครับ ขั้นที่ 1 คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีที่ 1 ก่อน การหักค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคำนวณภาษี ถือเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงาน โดยมีอัตราการหักค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยตามแต่ละประเภทของเงินได้ และบางเงินได้ กรมสรรพากรได้เปิดโอกาสในการเลือกหักค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริงหรือในอัตราเหมาได้ ดังนี้ การหักลดหย่อน ค่าลดหย่อนเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว การหักลดหย่อนกรณีต่างๆ แตกต่างกันออกไป สรุปค่าลดหย่อนพื้นฐานได้ดังนี้ – เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา/กีฬา/พัฒนาสังคม หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน – เงินบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน – เงินบริจาคทั่วไป หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น – เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราภาษีที่ใช้คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีลักษณะเป็นอัตราก้าวหน้าหรือตามขั้นบันไดตั้งแต่อัตราภาษีต่ำสุด 0% จนถึงเพดานสูงสุดที่ 35% พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ ถ้ายิ่งมีฐานเงินได้สูง ระดับอัตราภาษีก็จะสูงขึ้นตาม และภาษีที่ต้องจ่ายก็จะมีจำนวนที่มากขึ้น ดังนี้ ขั้นที่ 2 ดูว่าเข้าเงื่อนไขที่ต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2 หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขให้คำนวณวิธีที่ 2 ถ้าไม่เข้าเงื่อนไข ข้ามไปที่ขั้นตอนที่ 3 ได้เลย กรณีที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ได้แก่ กรณีที่เงินได้ทุกประเภทในปี แต่ไม่รวมเงินได้ประเภทที่ 1 (เงินเดือน) มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ดังนี้ รายได้ทั้งหมด (ยกเว้นรายได้ประเภทที่1) คูณ 0.5% = ภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 2 จากตัวอย่างในวิธีที่ 1 นาย ก มีรายได้ที่มิใช่ประเภทที่ 1 (เงินเดือน) เฉพาะรายได้ค่าเช่ารถยนต์ 1.5 ล้านบาท จะคำนวณภาษีวิธีที่ 2 ได้ดังนี้ 1,500,000 บาท คูณ 0.5% = 7,500 บาท (ภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 2) หมายเหตุ: หากคำนวณตามวิธีที่ 2 แล้วมีภาษีเงินได้ที่ต้องเสียจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท ผู้มีเงินได้ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามวิธีที่ 2 แต่ยังต้องเสียภาษีตามจำนวนที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 1 อยู่ ขั้นที่ 3 สรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ให้คำนวณภาษีที่คำนวณได้ระหว่างวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 มาเปรียบเทียบกัน โดยต้องเสียภาษีจากภาษีที่คำนวณแล้วเสียสูงกว่า จากนั้นดูต่อว่าระหว่างปีมีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ภาษีที่ชำระตอนครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ภาษีที่ได้ชำระล่วงหน้า หรือเครดิตภาษีเงินปันผล เพราะภาษีเหล่านี้เหมือนเราได้ชำระไปแล้วล่วงหน้า จึงต้องนำมาหักให้เหลือเพียงภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเท่านั้น ในบางกรณีภาษีที่ชำระล่วงหน้าอาจสูงกว่าภาษีที่คำนวณได้ ผู้เสียภาษีสามารถทำเรื่องขอคืนภาษีส่วนเกินนั้นได้ สรุปก็คือ นาย ก จริงๆ ต้องมีภาษีที่ต้องเสียให้กรมสรรพากรรวม 212,500 บาท แต่เนื่องจากระหว่างปีมีการถูกหัก ณ ที่จ่ายภาษีไปบางส่วนแล้ว รวมถึงมีการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ด้วย ทำให้เหลือภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมอีกเพียง 57,500 บาทครับ คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ต้องยื่นภาษีเมื่อไหร่ อย่างไร? เมื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเสร็จแล้ว ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีและเงินภาษีให้กรมสรรพากรภายในเวลาที่กำหนด แต่แบบภาษีที่ใช้ต้องสอดคล้องกับประเภทเงินได้ที่มีในปีนั้น โดยมีแบบภาษีที่เกี่ยวข้อง 3 แบบ ดังนี้ 1. ภ.ง.ด.91 : แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทที่ 1 ประเภทเดียว ต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป 2. ภ.ง.ด.90 : แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5-8 ต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป 3. ภ.ง.ด.94 : แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งปี สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5-8 ต้องยื่นภายในเดือนกันยายนของทุกปี โดยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้พร้อมเงินภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือกรณียื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตจะขยายเวลาออกไปอีก 8 วัน ผ่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้หรือไม่? เมื่อคำนวณแล้วมีภาษีที่ต้องเสีย กรมสรรพากรเปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดาสามารถผ่อนชำระได้ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปีสามารถขอผ่อนชำระได้ 3 งวดเท่าๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกัน โดย ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เสียภาษีหมดสิทธิ์ที่จะชำระภาษีเป็นรายงวด และต้องชำระคืนภาษีที่เหลือทั้งหมดพร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ ถ้าไม่ยื่นแบบแสดงรายการ หรือไม่ชำระภาษีจะมีความผิดอะไรบ้าง เมื่อเราไม่ยื่นภาษีภายในเวลาที่กำหนดเท่ากับว่าเราจะไม่ได้ยื่นทั้งแบบภาษีและเงินภาษีให้กรมสรรพากรทำให้เราจะมีโทษที่เกี่ยวข้อง 2 เรื่องหลักๆ ดังนี้ 1. กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท 2. กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี บทความนี้ชวนผู้อ่านทำความเข้าใจตั้งแต่บุคคลธรรมดาคือใคร เงินได้อะไรที่ต้องเสียภาษี เกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายและสิทธิลดหย่อนมีอะไรบ้าง วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จนถึงการผ่อนชำระภาษีและค่าปรับต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หวังว่าท่านผู้อ่านจะสามารถนำวิธีการคำนวณภาษีไปประยุกต์ใช้กับประเภทรายได้ของตนเองได้นะครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก