คลังความรู้บัญชี ภาษี และโปรแกรมบัญชีออนไลน์

ติดตามข้อมูลข่าวสาร บทความน่ารู้ด้านบัญชี ภาษี การเงิน และธุรกิจที่เป็นประโยชน์ สำหรับผู้ประกอบการและนักบัญชี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

ล่าสุด

11 Dec 2024

PEAK Account

7 min

Update Function 11/12/2024

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ✨ 1. Developed the bank reconciliation function to enhance work efficiency and convenience. 1.1 Improved the display of information on the reconciliation page for better readability. 📢 For businesses using the bank reconciliation function, the system has been updated to enhance the display on the reconciliation page, allowing more information to be shown. The updates include: These improvements aim to boost efficiency and make data review more convenient and faster. 1.2 Ability to create new transactions directly from the reconciliation page. 📢 For businesses using the Premium, PRO Plus, and Trial packages, that perform bank reconciliation and need to make transactions, the system now offers additional options to create transactions directly from each deposit/payment entry. Users can click the options button (three dots) or right-click to perform actions immediately through the bank reconciliation page. The available options include: These features are designed to streamline document management and enhance efficiency in bank reconciliation processes. ✨ 2. Added the PEAK Payroll system to streamline payroll processing and reduce manual steps. 2.1 Add new employees directly on the payroll processing page. 📢 The system now includes an “Add New Employee” button on the payroll processing page. Users can conveniently add new employee information directly from the payroll page, streamlining the workflow and improving efficiency. 2.2 Adjust accumulated income calculations to be based on a cash basis. 📢 The system now adjusts the calculation of accumulated income displayed on payroll slips. It will calculate based only on payroll payment documents with a “Paid” status. Additionally, a notification has been added to the payroll payment page to inform users about the new calculation criteria. This enhancement ensures that the information is accurate and aligns more closely with the cash-based principle. Example of a Notification Regarding Cumulative Income Calculation. 2.3 Add the option “Income Type 40(2)” on the additional income adjustment page and display it in Form 50 Bis on the payroll summary page. 📢 The system now includes an option for income type 40(2) on the Additional Income page. Users can edit each additional income item by specifying whether it falls under income type 40(1) or 40(2). When generating the year-end payroll summary, the system will automatically pull the data and display income type 40(2) items on the Withholding Tax Certificate (Form 50 Bis) page. This enhancement ensures greater accuracy in managing tax data. Example of Form 50 Bis with income type 40(2). 2.4 Support displaying “Income Type 40(2)” in the tax submission file. (PND.1 Text File) 📢 The system now updates the tax filing Text File for P.N.D. 1 to support income type 40(2) in addition to 40(1). This improvement enables users to file taxes more conveniently and accurately by including both income types in the submission. Example of a Text File with income type 40(2). ✨ 3. Developed the functionality to apply deposit receipts/payments for settling more than one document. 📢 For businesses using deposit receipts/payments, the system now supports applying these documents to offset payment/receipt transactions. Users can choose to apply deposit receipts/payments in two ways: When selecting deposit receipts/payments for offsetting, users can modify the amount and related tax values. On the deposit details page, the system will display the number of deposit documents applied for offsetting, the applied amounts, and the remaining deposit balance for future use. For example, if a deposit receipt is issued and the customer makes partial payments in multiple installments, the system will accurately track these payments.This feature enhances convenience and flexibility in managing deposit receipts and offsetting payments, ensuring efficient financial operations. Example of Deposit Information Display on the Document Page. ✨ 4. Improved the Product/Service Import functionality to simplify data management. 4.1 Add the option “Update Existing Products” to modify current data. 📢 For businesses that need to modify product/service information already in the system, you can now import the “Edit Existing Products” file. This feature allows users to update product/service information efficiently, and the system will automatically update the records. The imported file consists of 3 Sheets: For the products/services you modify, the Product ID must match an existing ID in the system. If a product/service ID does not exist in the system, the file import will fail. This ensures accurate and seamless product/service data management, helping reduce errors and maintain operational efficiency. Example of the “Edit Existing Products” Import File. 4.2 Add new columns in the product/service import file to align with system data requirements. 📢 The system now clarifies the descriptions and required information for importing files, ensuring better accuracy and transparency. Additionally, the product/service import file now includes an SKU column for integration with popular platforms like Shopee, Lazada, and TikTok Shop. If you input an SKU from these platforms—even if it hasn’t yet been configured—the system will automatically activate the SKU upon import. To ensure smooth and efficient data management, the system limits imports to 1,000 items per batch. This helps prevent errors and ensures reliable handling of large datasets. ✨ 5. Improved the Contact Import functionality to make data management more convenient. 5.1 Add the option “Update Existing Contacts” to modify current data. 📢 For businesses that need to modify contact information already in the system, you can now use the “Edit Existing Contacts” import file. This allows users to efficiently update contact details, and the system will automatically refresh the contact information. The imported file is divided into 3 sheets: Contact ID: Must match an existing ID in the system for updates to work correctly. If the contact ID does not exist, the system will reject the file import. By requiring matching IDs, this ensures accurate and seamless management of contact information while minimizing errors. Example of the “Edit Existing Contacts” Import File. 5.2 Add new columns in the contact import file to align with system data requirements. 📢 The system now clarifies descriptions and specifies the required information for importing files to ensure better accuracy. Additionally, the import file for contacts now includes new columns for Contact […]

11 Dec 2024

PEAK Account

14 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 11/12/2024

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ✨ 1. พัฒนาฟังก์ชันการกระทบยอดธนาคาร เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงาน 1.1 ปรับการแสดงข้อมูลที่หน้ากระทบยอดให้อ่านง่ายมากขึ้น 📢สำหรับกิจการที่ใช้ฟังก์ชันกระทบยอดธนาคาร ระบบมีการปรับปรุงการแสดงข้อมูลหน้ากระทบยอดใหม่ให้แสดงข้อมูลได้มากขึ้น โดยระบบมีการปรับการแสดงข้อมูล ดังนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและช่วยให้การตรวจสอบข้อมูลสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น 1.2 สร้างรายการใหม่ได้จากหน้ากระทบยอดธนาคาร 📢สำหรับกิจการแพ็กเกจ Premium, PRO Plus และ Trial ที่กระทบยอดธนาคารและต้องการทำรายการต่างๆ ระบบเพิ่มตัวเลือกการสร้างรายการในแต่ละรายการเงินเข้า-เงินออก กดปุ่มตัวเลือก (จุด 3 จุด) หรือคลิกเมาส์ขวาเพื่อทำรายการได้ทันทีผ่านหน้ากระทบยอดธนาคาร โดยมีรายการที่สามารถทำได้ ดังนี้ เพื่อช่วยลดขั้นตอนในการจัดการเอกสารและเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการกระทบยอดธนาคาร ✨ 2. เพิ่มฟังก์ชันระบบเงินเดือน PEAK Payroll ช่วยลดขั้นตอนในการทำข้อมูลเงินเดือน 2.1 เพิ่มปุ่ม “พนักงานใหม่” ได้ที่หน้าทำจ่ายเงินเดือน 📢ระบบเพิ่มปุ่ม “เพิ่มพนักงานใหม่” หน้าการทำจ่ายเงินเดือน ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มข้อมูลพนักงานใหม่ได้ทันทีจากหน้าทำจ่ายเงินเดือน ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน 2.2 ปรับการคำนวณเงินได้สะสมในสลิปเงินเดือนให้อิงตามเกณฑ์เงินสด 📢ระบบปรับการคำนวณเงินได้สะสมที่แสดงในสลิปเงินเดือน โดยจะคำนวณจากเอกสารทำจ่ายเงินเดือนที่มีสถานะ “ชำระเงิน” แล้วเท่านั้น โดยที่หน้าทำจ่ายเงินเดือนระบบจะเพิ่มข้อความแจ้งเตือนเกี่ยวกับการคำนวณเงินได้สะสมตามหลักเกณฑ์ใหม่ เพื่อช่วยให้ข้อมูลมีความถูกต้องและสอดคล้องกับเกณฑ์เงินสดมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างข้อความแจ้งเตือนเกี่ยวกับการคำนวณเงินได้สะสม 2.3 เพิ่มตัวเลือก “ประเภทเงินได้ 40(2)” หน้าการแก้ไขเงินเพิ่มและแสดงประเภทเงินได้ 40(2) ในเอกสารใบ 50 ทวิหน้าสรุปจ่ายเงินเดือน 📢ระบบเพิ่มตัวเลือกประเภทเงินได้ 40(2) ที่หน้าเงินเพิ่ม ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขได้ที่เงินเพิ่มในแต่ละรายการ โดยระบุว่าเงินเพิ่มนั้นต้องการเป็นเงินได้ประเภท 40(1) หรือ 40(2) เมื่อทำสรุปจ่ายเงินเดือนสิ้นปี ระบบจะดึงข้อมูลและแสดงรายการประเภทเงินได้ 40(2) ที่หน้าหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ให้อัตโนมัติ ช่วยให้การจัดการข้อมูลภาษีมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างใบ 50 ทวิ กรณีมีประเภทเงินได้ 40(2) 2.4 เพิ่มการรองรับการแสดงประเภทเงินได้ 40(2) ในไฟล์ยื่นภาษี ภ.ง.ด.1 (Text File) 📢ระบบปรับให้ Text File ยื่นภาษีของ ภ.ง.ด.1 รองรับการแสดงยอดเงินได้จากประเภท 40(2) เพิ่มเติมจาก 40(1) ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถยื่นภาษีได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ตัวอย่าง Text File ที่มีประเภทเงินได้ 40(2) ✨ 3. พัฒนาฟังก์ชันการนำใบรับเงินมัดจำ/ใบจ่ายเงินมัดจำไปตัดรับ/จ่ายชำระหน้าเอกสารได้มากกว่า 1 เอกสาร 📢สำหรับกิจการที่ใช้ใบรับมัดจำ/ใบจ่ายมัดจำ ระบบเพิ่มฟังก์ชันการนำใบรับมัดจำ/ใบจ่ายมัดจำไปตัดรับ/จ่ายชำระเอกสาร โดยการเลือกนำใบรับมัดจำ/ใบจ่ายมัดจำไปตัดรับ/จ่ายชำระ สามารถทำได้ 2 แบบ ในการเลือกเอกสารใบรับมัดจำ/ใบจ่ายมัดจำมาตัดรับ/จ่ายชำระ ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขยอดเงิน รวมถึงมูลค่าภาษีที่เกี่ยวข้องได้ โดยที่หน้าข้อมูลใบมัดจำ ระบบจะแสดงจำนวนเอกสารใบมัดจำที่นำมาตัดชำระเงิน พร้อมทั้งแสดงข้อมูลการนำใบมัดจำไปรับ/จ่ายชำระ ครั้งละกี่บาท และแสดงยอดมูลค่าคงเหลือของเงินมัดจำค้างตัด เช่น กรณีออกใบรับเงินมัด 1 ฉบับ และลูกค้าได้มีการแบ่งจ่ายชำระเงินมัดจำหลายๆงวด เป็นต้น ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการใบมัดจำและการตัดชำระได้สะดวกและยืดหยุ่นมากขึ้น  ตัวอย่างการแสดงข้อมูลเงินมัดจำหน้าเอกสาร ✨ 4. เพิ่มฟังก์ชันการนำเข้าสินค้า/บริการ (Import Product/Service) 4.1 เพิ่มตัวเลือก “แก้ไขสินค้าเดิม” สำหรับอัปเดตข้อมูลที่มีอยู่ 📢สำหรับกิจการที่ต้องการแก้ไขข้อมูลสินค้า/บริการที่มีอยู่ในระบบ สามารถนำเข้าไฟล์ “แก้ไขสินค้าเดิม” โดยผู้ใช้งานสามารถแก้ไขหรืออัปเดตข้อมูลสินค้า/บริการได้จากไฟล์ “แก้ไขสินค้าเดิม” และนำเข้าไฟล์ ระบบจะอัปเดตข้อมูลสินค้าให้อัตโนมัติ ซึ่งในไฟล์นำเข้าจะแบ่งออกเป็น 3 Sheet ดังนี้ โดยข้อมูลสินค้า/บริการที่แก้ไขนั้น รหัสสินค้าจะต้องเป็นรหัสที่มีอยู่ในระบบเท่านั้น หากไม่มีข้อมูลดังกล่าว จะไม่สามารถนำเข้าไฟล์ได้ ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดและเพิ่มความมั่นใจในการจัดการข้อมูลสินค้าเดิมได้อย่างราบรื่นและแม่นยำ ตัวอย่างไฟล์การแก้ไขสินค้าเดิม 4.2 เพิ่มคอลัมน์ในไฟล์นำเข้าสินค้า/บริการ เพื่อให้ครอบคลุมข้อมูลในระบบ 📢ระบบปรับคำอธิบายและระบุข้อมูลที่จำเป็นในการนำเข้าไฟล์ให้มีความชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ในไฟล์นำเข้าสินค้า/บริการ ระบบได้มีการเพิ่มคอลัมน์หมายเลข SKU จากแพลตฟอร์ม Shopee, Lazada, และ TikTok Shop หากมีการใส่ข้อมูล SKU เข้าไปแม้ว่ายังไม่ได้ตั้งค่าเปิดใช้งาน เมื่อนำเข้าระบบ ระบบจะเปิดการใช้งาน SKU ให้อัตโนมัติ โดยในการนำเข้าสินค้า/บริการ ระบบจำกัดรายการนำเข้า 1,000 รายการต่อครั้ง เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดและรองรับการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่  ✨ 5. เพิ่มฟังก์ชันการนำเข้าผู้ติดต่อไฟล์ (Import Contact) 5.1 เพิ่มตัวเลือก “แก้ไขผู้ติดต่อเดิม” สำหรับอัปเดตข้อมูลที่มีอยู่ 📢สำหรับกิจการที่ต้องการแก้ไขข้อมูลผู้ติดต่อที่มีอยู่ในระบบ สามารถนำเข้าไฟล์ “แก้ไขผู้ติดต่อเดิม” โดยผู้ใช้งานสามารถแก้ไขหรืออัปเดตข้อมูลผู้ติดต่อได้จากไฟล์ “แก้ไขผู้ติดต่อเดิม” และนำเข้าไฟล์ ระบบจะอัปเดตข้อมูลผู้ติดต่อให้อัตโนมัติ ซึ่งในไฟล์นำเข้าจะแบ่งออกเป็น 3 Sheet ดังนี้ โดยข้อมูลผู้ติดต่อที่แก้ไขนั้น รหัสผู้ติดต่อจะต้องเป็นรหัสที่มีอยู่ในระบบเท่านั้น หากไม่มีข้อมูลดังกล่าว จะไม่สามารถนำเข้าไฟล์ได้ ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดและเพิ่มความมั่นใจในการจัดการข้อมูลผู้ติดต่อเดิมได้อย่างราบรื่นและแม่นยำ ตัวอย่างไฟล์การแก้ไขผู้ติดต่อเดิม 5.2 เพิ่มคอลัมน์ในไฟล์นำเข้าผู้ติดต่อ เพื่อให้ครอบคลุมข้อมูลในระบบ 📢ระบบปรับคำอธิบายและระบุข้อมูลที่จำเป็นในการนำเข้าไฟล์ให้มีความชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ในไฟล์นำเข้าผู้ติดต่อ ระบบได้มีการเพิ่มคอลัมน์ให้ระบุประเภทผู้ติดต่อ, สัญชาติ, ข้อมูลที่อยู่จัดส่งเอกสาร, ครบกำหนดชำระ, บุคคลที่ติดต่อได้หลายคน และเพิ่มกลุ่มผู้ติดต่อได้ หากนำเข้าผู้ติดต่อเกิดข้อผิดพลาด กรณีรายชื่อซ้ำ ระบบจะทำการแจ้งเตือนให้ทันที ในการนำเข้าผู้ติดต่อ ระบบจำกัดรายการนำเข้า 1,000 รายการต่อครั้ง ช่วยลดข้อจำกัดและเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ✨ 6. เพิ่มความยืดหยุ่นในการตั้งราคาโดยกำหนดราคาสินค้า/บริการได้สูงสุด 10 ราคา 📢สำหรับธุรกิจ E-commerce ที่ต้องการจัดการราคาซื้อ-ขายหลายรายการ ระบบเพิ่มการรองรับระบุราคาซื้อ-ขายได้มากขึ้นในหน้าแต่ละสินค้า/บริการ โดยรองรับการเพิ่มรายการได้สูงสุด 10 ราคา ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานในการจัดราคาและทำงานได้สะดวกมากขึ้น ✨ 7. รองรับการชำระเงินผ่าน xplORe Wallet เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับชำระเงิน 📢 สำหรับทุกกิจการ ระบบเพิ่มการรองรับช่องทางการเงิน xplORe Wallet เพื่อรองรับช่องทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น ขอขอบคุณข้อเสนอแนะ จากคุณPrapatsara, บริษัท คงคาแมนูแฟคเจอร์เรอร์ จำกัด

29 Nov 2024

จักรพงษ์

9 min

3 ขั้นตอนพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ

คุณเคยทำธุรกิจไปอย่างไรเป้าหมายไหม? ทำไปเรื่อยๆ รายได้เติบโตขึ้นก็ดีใจ รายได้ลดลงก็เสียใจแต่ธุรกิจก็ยังไปต่อได้ คำถาม คือ ธุรกิจโตแค่ไหนที่เราจะถือว่าปีนั้นประสบความสำเร็จหรือทำได้ตามเป้าหมาย หรือรายได้ลดลงแค่ไหนที่ถือว่าธุรกิจอยู่ในภาวะเสี่ยง คำถามเหล่านี้สามารถตอบได้ด้วยการกำหนดตัวเลขหนึ่งขึ้นมาเพื่อเป็นเป้าหมายที่จะต้องบรรลุให้ได้ในปีนั้น เช่น รายได้ปีนี้ต้องมากกว่าปีที่แล้ว 200% ถ้าเราทำได้ก็ถือว่าบรรลุเป้าหมายขององค์กรและยังสามารถใช้เป็น KPI ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้ได้ เช่น แผนกขาย แผนกหาลูกค้า เป็นต้น ที่เราพูดกันไปข้างต้นไม่ได้มีแค่มิติในมุมของรายได้ แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้กับรายจ่ายได้เช่นกัน รายจ่ายปีนี้ต้องน้อยกว่าปีที่แล้ว หรือให้เพิ่มขึ้นได้ตามสัดส่วนของยอดขาย ถ้ารายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ถือว่าแผนกที่เกี่ยวข้องไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านรายจ่ายนั้นๆ ได้ เช่น แผนกการตลาด แผนกผลิต เป็นต้น สิ่งที่พูดมาข้างต้นคือส่วนหนึ่งของการทำงบประมาณ หรือที่เราเรียกว่าการทำ Budgeting นั่นเอง เชื่อว่าพอเฉลยมาถึงจุดนี้ทุกคนก็น่าจะร้อง อ๋อ มากขึ้น การจัดทำงบประมาณ (Budgeting) คืออะไร? การจัดทำงบประมาณ (ฺBudgeting) คือ การวางแผนรายได้-รายจ่ายล่วงหน้าเป็นตัวเลข ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของตัวเงินหรือปริมาณ เช่น กำหนดเป็นจำนวนเงินบาท ปริมาณชิ้นที่ขายได้ หรือจำนวนครั้งที่ใช้ เป็นต้น ซึ่งตัวเลขจะถูกกำหนดตามรอบที่ใช้วัดผล เช่น เป็นรายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งหรือ หรือรายปีก็ได้ ไม่ว่าจะวัดผลเป็นรายใดก็ตาม เมื่อครบกำหนดรอบการวัดผล ผู้บริหารจะต้องนำตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงมาเทียบกับงบประมาณที่วางแผนไว้ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะดีหรือแย่กว่าที่ประมาณการไว้ก็ได้ แต่ตัวเลขที่แตกต่างจากผลที่วางไว้ จะต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าเกิดจากปัจจัยใดเพื่อวิเคราะห์สาเหตุและใช้ช่วยวางแผนในการจัดทำงบประมาณในครั้งถัดไปได้ 3 ขั้นตอนพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ 1. กำหนดตัวเลขที่อยากได้และเป็นไปได้ เริ่มจากกำหนดเป้าหมาย และกลยุทธ์ของกิจการก่อนว่าอยากไปไกลแค่ไหน เร็วแค่ไหน ด้วยวิธีอะไร เช่น ฝั่งรายได้ ถ้าอยากเติบโตเร็ว ต้องกำหนดเป้าที่ท้าทาย เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้น 200-300% พร้อมกำหนดวิธีการที่จะทำให้ยอดขายเป็นไปตามที่กำหนดได้จริง 2. รู้ว่าอะไรที่ขับเคลื่อน (Driver) รายได้และรายจ่าย เช่น ยอดขายอาจถูกขับเคลื่อนด้วยจำนวนชิ้นของสินค้าที่ขายได้ หรือจำนวนตัวแทนจำหน่ายที่หาได้ในแต่ละปี ส่วนค่าใช้จ่ายอาจกำหนดจากจำนวนวัตถุดิบที่ควรใช้ในการผลิตสินค้า 1 ชิ้น หรือจำนวนต้นทุนค่ายิงโฆษณาต่อลูกค้า 1 คนที่หาได้ เป็นต้น สิ่งที่ควรรู้ คือ ตัวขับเคลื่อน(driver)รายได้และรายจ่ายของแต่ละประเภทธุรกิจมีไม่เหมือนกัน ไม่สามารถเลียนแบบของคนอื่นได้ แต่โดยทั่วไปในอุตสาหกรรมเดียวกันจะใช้ตัวขับเคลื่อนคล้ายๆ กัน เช่น ธุรกิจโรงแรมตัวขับเคลื่อนรายได้ คือ จำนวนห้องที่ลูกค้าใช้บริการ แต่ในธุรกิจขายสินค้า จะใช้จำนวนสินค้าที่ขายได้ เป็นต้น 3. ทบทวนภาพรวม เมื่อกำหนดตัวเลขประมาณการของรายได้และรายจ่ายเสร็จแล้ว ให้ทำการทบทวนว่ารายได้ที่กำหนดสอดคล้องกับรายจ่ายที่กำหนดหรือไม่ บางครั้งอาจพบว่าตั้งเป้ายอดขายจากจำนวนชิ้นที่ขายได้สูงขึ้นมาก แต่รายจ่ายด้านการขายและการตลาดเท่าเดิมหรือลดลง ทำให้เราอาจพบความไม่สอดคล้องระหว่างรายได้และรายจ่ายในบางกรณีได้ จริงๆ แล้วขั้นตอนการจัดทำงบประมาณแบบสมบูรณ์มีรายละเอียดที่เยอะกว่านี้มาก แต่ในซีรีย์บทความนี้เราเน้นเรื่องที่เป็นพื้นฐานสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ให้สามารถนำไปใช้ได้โดยง่ายและเข้าใจเร็วที่สุด จึงไม่ได้อธิบายขั้นตอนการจัดทำแบบละเอียดนั่นเอง ตัวอย่างงบประมาณการในระยะเวลา 1 ปี ในฝั่งรายได้ อาจจะไม่ค่อยมีความซับซ้อน เพราะมักมีรายได้หลักของกิจการประเภทเดียว ทำให้การประมาณการจะง่าย เช่น กำหนดเป็นยอดรายได้ที่ต้องการ หรือ% ที่เพิ่มขึ้นของแต่ละไตรมาส เป็นต้น สำหรับส่วนของรายจ่าย มักจะไม่สามารถกำหนดยอดประมาณการเป็นก้อนเดียวได้ เพราะรายจ่ายมีหลายประเภท และแต่ละประเภทจะมีตัวขับเคลื่อน(driver) ที่แตกต่างกัน การจัดทำงบประมาณ (ฺBudgeting) คือ การวางแผนรายได้-รายจ่ายล่วงหน้าเป็นตัวเลขสำหรับรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ตัวเลขสำหรับรายได้ รายจ่ายที่ต้องทำได้ภายใน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน การวางแผนตัวเลขล่วงหน้า จะช่วยให้การทำธุรกิจสนุก เพราะมีเป้าหมาย และจะหาวิธีเพื่อทำให้เป้าหมายนั้นบรรลุให้ได้ สุดท้ายเมื่อครบกำหนดรอบการวัดผล ผู้บริหารจะต้องนำตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงมาเทียบกับตัวเลขที่วางแผนว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ พร้อมหาสาเหตุว่าอะไรเป็นปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบของตัวเลขเหล่านั้น เพื่อใช้ในการวางแผนงบประมาณในครั้งถัดไป สำหรับในตอนถัดไป เราจะคุยกันในเรื่องการใช้เงินให้ถูกประเภท เช่น เงินกู้ที่มาระยะสั้นเพียง 3 เดือน แต่บริษัทนำไปลงทุนก่อสร้างสินทรัพย์ที่ใช้เวลานาน 1 ปี หรือเงินที่กู้มาระยะยาวแต่ใช้สำหรับใช้จ่ายในระยะสั้น ดีหรือไม่ดี และจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจอย่างไรบ้าง เราจะมาไขคำตอบกันในตอนหน้า โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

บัญชี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับบัญชี

อ่านบทความเพิ่มเติม

29 Nov 2024

จักรพงษ์

9 min

3 ขั้นตอนพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ

คุณเคยทำธุรกิจไปอย่างไรเป้าหมายไหม? ทำไปเรื่อยๆ รายได้เติบโตขึ้นก็ดีใจ รายได้ลดลงก็เสียใจแต่ธุรกิจก็ยังไปต่อได้ คำถาม คือ ธุรกิจโตแค่ไหนที่เราจะถือว่าปีนั้นประสบความสำเร็จหรือทำได้ตามเป้าหมาย หรือรายได้ลดลงแค่ไหนที่ถือว่าธุรกิจอยู่ในภาวะเสี่ยง คำถามเหล่านี้สามารถตอบได้ด้วยการกำหนดตัวเลขหนึ่งขึ้นมาเพื่อเป็นเป้าหมายที่จะต้องบรรลุให้ได้ในปีนั้น เช่น รายได้ปีนี้ต้องมากกว่าปีที่แล้ว 200% ถ้าเราทำได้ก็ถือว่าบรรลุเป้าหมายขององค์กรและยังสามารถใช้เป็น KPI ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้ได้ เช่น แผนกขาย แผนกหาลูกค้า เป็นต้น ที่เราพูดกันไปข้างต้นไม่ได้มีแค่มิติในมุมของรายได้ แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้กับรายจ่ายได้เช่นกัน รายจ่ายปีนี้ต้องน้อยกว่าปีที่แล้ว หรือให้เพิ่มขึ้นได้ตามสัดส่วนของยอดขาย ถ้ารายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ถือว่าแผนกที่เกี่ยวข้องไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านรายจ่ายนั้นๆ ได้ เช่น แผนกการตลาด แผนกผลิต เป็นต้น สิ่งที่พูดมาข้างต้นคือส่วนหนึ่งของการทำงบประมาณ หรือที่เราเรียกว่าการทำ Budgeting นั่นเอง เชื่อว่าพอเฉลยมาถึงจุดนี้ทุกคนก็น่าจะร้อง อ๋อ มากขึ้น การจัดทำงบประมาณ (Budgeting) คืออะไร? การจัดทำงบประมาณ (ฺBudgeting) คือ การวางแผนรายได้-รายจ่ายล่วงหน้าเป็นตัวเลข ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของตัวเงินหรือปริมาณ เช่น กำหนดเป็นจำนวนเงินบาท ปริมาณชิ้นที่ขายได้ หรือจำนวนครั้งที่ใช้ เป็นต้น ซึ่งตัวเลขจะถูกกำหนดตามรอบที่ใช้วัดผล เช่น เป็นรายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งหรือ หรือรายปีก็ได้ ไม่ว่าจะวัดผลเป็นรายใดก็ตาม เมื่อครบกำหนดรอบการวัดผล ผู้บริหารจะต้องนำตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงมาเทียบกับงบประมาณที่วางแผนไว้ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะดีหรือแย่กว่าที่ประมาณการไว้ก็ได้ แต่ตัวเลขที่แตกต่างจากผลที่วางไว้ จะต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าเกิดจากปัจจัยใดเพื่อวิเคราะห์สาเหตุและใช้ช่วยวางแผนในการจัดทำงบประมาณในครั้งถัดไปได้ 3 ขั้นตอนพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ 1. กำหนดตัวเลขที่อยากได้และเป็นไปได้ เริ่มจากกำหนดเป้าหมาย และกลยุทธ์ของกิจการก่อนว่าอยากไปไกลแค่ไหน เร็วแค่ไหน ด้วยวิธีอะไร เช่น ฝั่งรายได้ ถ้าอยากเติบโตเร็ว ต้องกำหนดเป้าที่ท้าทาย เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้น 200-300% พร้อมกำหนดวิธีการที่จะทำให้ยอดขายเป็นไปตามที่กำหนดได้จริง 2. รู้ว่าอะไรที่ขับเคลื่อน (Driver) รายได้และรายจ่าย เช่น ยอดขายอาจถูกขับเคลื่อนด้วยจำนวนชิ้นของสินค้าที่ขายได้ หรือจำนวนตัวแทนจำหน่ายที่หาได้ในแต่ละปี ส่วนค่าใช้จ่ายอาจกำหนดจากจำนวนวัตถุดิบที่ควรใช้ในการผลิตสินค้า 1 ชิ้น หรือจำนวนต้นทุนค่ายิงโฆษณาต่อลูกค้า 1 คนที่หาได้ เป็นต้น สิ่งที่ควรรู้ คือ ตัวขับเคลื่อน(driver)รายได้และรายจ่ายของแต่ละประเภทธุรกิจมีไม่เหมือนกัน ไม่สามารถเลียนแบบของคนอื่นได้ แต่โดยทั่วไปในอุตสาหกรรมเดียวกันจะใช้ตัวขับเคลื่อนคล้ายๆ กัน เช่น ธุรกิจโรงแรมตัวขับเคลื่อนรายได้ คือ จำนวนห้องที่ลูกค้าใช้บริการ แต่ในธุรกิจขายสินค้า จะใช้จำนวนสินค้าที่ขายได้ เป็นต้น 3. ทบทวนภาพรวม เมื่อกำหนดตัวเลขประมาณการของรายได้และรายจ่ายเสร็จแล้ว ให้ทำการทบทวนว่ารายได้ที่กำหนดสอดคล้องกับรายจ่ายที่กำหนดหรือไม่ บางครั้งอาจพบว่าตั้งเป้ายอดขายจากจำนวนชิ้นที่ขายได้สูงขึ้นมาก แต่รายจ่ายด้านการขายและการตลาดเท่าเดิมหรือลดลง ทำให้เราอาจพบความไม่สอดคล้องระหว่างรายได้และรายจ่ายในบางกรณีได้ จริงๆ แล้วขั้นตอนการจัดทำงบประมาณแบบสมบูรณ์มีรายละเอียดที่เยอะกว่านี้มาก แต่ในซีรีย์บทความนี้เราเน้นเรื่องที่เป็นพื้นฐานสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ให้สามารถนำไปใช้ได้โดยง่ายและเข้าใจเร็วที่สุด จึงไม่ได้อธิบายขั้นตอนการจัดทำแบบละเอียดนั่นเอง ตัวอย่างงบประมาณการในระยะเวลา 1 ปี ในฝั่งรายได้ อาจจะไม่ค่อยมีความซับซ้อน เพราะมักมีรายได้หลักของกิจการประเภทเดียว ทำให้การประมาณการจะง่าย เช่น กำหนดเป็นยอดรายได้ที่ต้องการ หรือ% ที่เพิ่มขึ้นของแต่ละไตรมาส เป็นต้น สำหรับส่วนของรายจ่าย มักจะไม่สามารถกำหนดยอดประมาณการเป็นก้อนเดียวได้ เพราะรายจ่ายมีหลายประเภท และแต่ละประเภทจะมีตัวขับเคลื่อน(driver) ที่แตกต่างกัน การจัดทำงบประมาณ (ฺBudgeting) คือ การวางแผนรายได้-รายจ่ายล่วงหน้าเป็นตัวเลขสำหรับรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ตัวเลขสำหรับรายได้ รายจ่ายที่ต้องทำได้ภายใน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน การวางแผนตัวเลขล่วงหน้า จะช่วยให้การทำธุรกิจสนุก เพราะมีเป้าหมาย และจะหาวิธีเพื่อทำให้เป้าหมายนั้นบรรลุให้ได้ สุดท้ายเมื่อครบกำหนดรอบการวัดผล ผู้บริหารจะต้องนำตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงมาเทียบกับตัวเลขที่วางแผนว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ พร้อมหาสาเหตุว่าอะไรเป็นปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบของตัวเลขเหล่านั้น เพื่อใช้ในการวางแผนงบประมาณในครั้งถัดไป สำหรับในตอนถัดไป เราจะคุยกันในเรื่องการใช้เงินให้ถูกประเภท เช่น เงินกู้ที่มาระยะสั้นเพียง 3 เดือน แต่บริษัทนำไปลงทุนก่อสร้างสินทรัพย์ที่ใช้เวลานาน 1 ปี หรือเงินที่กู้มาระยะยาวแต่ใช้สำหรับใช้จ่ายในระยะสั้น ดีหรือไม่ดี และจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจอย่างไรบ้าง เราจะมาไขคำตอบกันในตอนหน้า โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

23 Aug 2024

จักรพงษ์

6 min

เอกสารบัญชีและภาษี ต้องเก็บไว้กี่ปีถึงจะทำลายทิ้งได้

การจัดการเอกสารบัญชีและภาษีอย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ การเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเงินและภาษีไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่ยังเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่สำคัญด้วย เอกสารบัญชีและภาษี ต้องเก็บไว้กี่ปี สิ่งที่นักบัญชีหรือผู้ประกอบการต้องสงสัยเป็นแน่ว่าเหล่าเอกสารบัญชีต่างๆ ที่ได้รับมา หรือที่จัดทำระหว่างปี พอเราปิดงบการเงินเสร็จแล้ว จะทิ้งได้เลยไหม? หรือต้องเก็บต่อไปอีกกี่ปี? จะได้ไม่มีปัญหากับสรรพากร หน่วยงานอื่นๆ ในภายหลัง วันนี้ผมจะพาทุกคนมาดูกันว่าในประเทศเรามีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดเก็บเอกสารไว้อย่างไรครับ ก่อนที่เราจะไปอ้างอิงตัวกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผมอยากขออธิบายเป็นภาษาที่ง่ายๆ คือ เราต้องเก็บเอกสารทางบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่บางหน่วยงานก็มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาในการจัดเก็บเอกสารได้ ทำให้เรามีหน้าที่ในการจัดเก็บเอกสารที่นานขึ้น ตัวกฎหมายที่ให้อำนาจนั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันต่อครับ เริ่มแรกจากพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 14 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องเก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชี แต่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าสามารถสั่งขยายระยะเวลาให้เกิน 5 ปีแต่ต้องไม่เกิน 7 ปีได้ ตัวถัดมาคือการเก็บเอกสารภาษี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87/3 ที่กำหนดเอกสาร 5 ประเภท ได้แก่  1.ต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ 2.สำเนาใบกำกับภาษีขาย 3.รายงานภาษีซื้อ 4.รายงานภาษีขาย5.รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันทำรายงานแล้วแต่กรณี แต่อธิบดีกรมสรรพากรสามารถสั่งขยายระยะเวลาให้เกิน 5 ปีแต่ต้องไม่เกิน 7 ปีได้ PEAK ขอเล่า : และตัวสุดท้าย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30-31 จะถูกนำมาใช้เมื่อกฎหมายใดๆ ให้สิทธิเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเรียกตรวจเอกสาร แต่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ จะให้มีอายุความสูงถึง 10 ปี เท่ากับว่าผู้ประกอบการมีสิทธิโดนเรียกตรวจเอกสารย้อนหลังได้สูงถึง 10 ปีเลยครับ ตัวอย่างเช่น อายุความการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลรัษฎากร หรือกรณีที่บุคคลธรรมดามีเงินได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีแต่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลา เจ้าพนักงานจึงออกหมายเรียกแต่ก็ไม่ได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลรัษฎากรเช่นกัน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีได้ภายในอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 สรุปแล้ว ทั้งกฎหมายบัญชีและภาษีพูดตรงกันคือให้ผู้ประกอบการจัดเก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีและภาษีไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ก็สามารถขยายระยะเวลาเป็น 7 ปีได้ แต่ถ้ากฎหมายใดไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาจัดเก็บเอกสารหรืออายุความการประเมินภาษีไว้ ก็ยังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดอายุความสูงถึง 10 ปี ดังนั้นการเก็บเอกสารทางบัญชีและภาษีแบบระมัดระวังที่สุดก็ควรจัดเก็บที่ 10 ปีครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว หากคุณต้องการสอบถามเพิ่มเติม หรืออยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาในเรื่องการจัดเก็บเอกสาร ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

ภาษี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับภาษี

อ่านบทความเพิ่มเติม

28 Nov 2024

PEAK Account

12 min

ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าและบริการ ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง?

การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าและบริการ ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีโอกาสสร้างรายได้สูง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนในด้านภาษี เพื่อป้องกันความผิดพลาดและลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีที่ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกควรทราบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย ทำความรู้จักการนำเข้าสินค้าและภาษีนำเข้า การนำเข้า คือ การนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย โดยต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและเสียภาษีที่ด่านศุลกากร สินค้าที่นำเข้ามักถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทสินค้า เช่น ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยอัตราภาษีที่ต้องจ่ายจะขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า เช่น รถยนต์หรูหราหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มักถูกเก็บภาษีสูง เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศและสร้างรายได้ให้รัฐบาล ทำความรู้จักการส่งออกสินค้าและภาษีส่งออก การส่งออก คือ การส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ เช่นเดียวกับการนำเข้า สินค้าส่งออกต้องผ่านการตรวจสอบที่ด่านศุลกากร สินค้าบางประเภท เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ อาจถูกเรียกเก็บภาษีเพื่อควบคุมการส่งออก ภาษีส่งออก คือ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อมีการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีปริมาณจำกัดหรือเป็นทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบ ประเทศผู้ส่งออกจะเก็บภาษีเพื่อควบคุมปริมาณการส่งออกและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า 1. อากรขาเข้า (Import Duties) อากรขาเข้า เป็นภาษีที่เรียกเก็บเมื่อสินค้ามีมูลค่าเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยจะคำนวณภาษีจากมูลค่าของสินค้า บวกด้วยค่าขนส่งและค่าประกันภัย (CIF – Cost, Insurance, Freight) หากสินค้าเข้าข่ายที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียอากรขาเข้า อัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทสินค้า โดยระบุไว้ใน พิกัดศุลกากร (HS Code – Harmonized System Code) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลในการจัดประเภทสินค้าตัวอย่างเช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีการกำหนดอัตราภาษีตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมจากสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา ยาสูบ เป็นต้นอัตราภาษีสรรพสามิตคำนวณจาก  ภาษีสรรพสามิต=(มูลค่าศุลกากร + อากรนำเข้า)×อัตราภาษีสรรพสามิต 3. ภาษีเพื่อมหาดไทย (Interior Tax) ภาษีเพื่อมหาดไทย เป็นการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมจาก ภาษีสรรพสามิต โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดสรรรายได้ให้แก่กรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรเงินภาษีสุรา โดยคำนวณจากมูลค่าภาษีสรรพสามิตที่กำหนดไว้ ด้วยอัตรา 10% ดังนี้ ภาษีเพื่อมหาดไทย=ภาษีสรรพสามิต×10% 4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกเก็บจากมูลค่าของสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นในทุกขั้นตอนการผลิตและการค้า ผู้นำเข้าจะต้องเสีย VAT จากมูลค่าสินค้า พร้อมกับอากรขาเข้าและภาษีสรรพสามิต (ถ้ามี) โดยทั่วไปอัตรา VAT คือ 7% ภาษีมูลค่าเพิ่มจะถูกคำนวณจากฐานภาษีซึ่งประกอบด้วย VAT สามารถขอคืนได้ในฐานะ “ภาษีซื้อ” ภายใน 6 เดือน อย่างไรก็ตาม อากรขาเข้าไม่สามารถขอคืนได้ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้า 1. อากรขาออก (Export Duties) อากรขาออกเป็นภาษีที่เรียกเก็บสำหรับการส่งออกสินค้าบางประเภทเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น โดยจะคำนวณจากมูลค่าของสินค้า บวกด้วยค่าขนส่งและค่าประกันภัย (CIF – Cost, Insurance, Freight) หากสินค้าเข้าข่ายที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียอากรขาเข้าอัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทสินค้า โดยระบุไว้ใน พิกัดศุลกากร (HS Code – Harmonized System Code) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลในการจัดประเภทสินค้า อัตราภาษีขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า โดยระบุไว้ใน ประกาศกรมศุลกากร ซึ่งเป็นเอกสารที่กำหนดประเภทสินค้าและอัตราภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น ประกาศกรมศุลกากรที่ 103/2561ตัวอย่างเช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีการกำหนดอัตราภาษีตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) การส่งออกสินค้าจากประเทศไทยได้รับการ ยกเว้น VAT หรือเรียกว่าอัตรา 0% (Zero Rate) เนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้จากต่างประเทศ แต่ผู้ส่งออกต้องจัดทำใบกำกับภาษีเพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าและจำนวนภาษีที่เกี่ยวข้องและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการส่งออกสินค้า และต้องมีหลักฐานยืนยันการส่งออก เช่น ใบขนสินค้าขาออก (Export Declaration) และใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading) อย่างไรก็ตาม หากผู้ส่งออกไม่มีเอกสารหลักฐานครบถ้วน เช่น ไม่มีใบขนสินค้าขาออกที่สมบูรณ์ทไม่มีหลักฐานการรับชำระเงินจากต่างประเทศ สินค้านั้นอาจไม่ได้รับสิทธิยกเว้น VAT เคล็ดลับในการดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออก การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเป็นโอกาสที่ดีในการขยายตลาดและสร้างรายได้ กาศึกษารายละเอียดภาษีอย่างครบถ้วน จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสความสำเร็จในระยะยาว นอกจากนี้การออกเอกสารภาษีอย่างถูกต้องก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อป้องกันปัญหาและความล่าช้าในกระบวนการดำเนินธุรกิจ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สามารถเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ด้วยฟีเจอร์ที่ช่วยจัดการงานด้านบัญชีและภาษีอย่างครบวงจร เช่น การออกใบกำกับภาษี การจัดเก็บเอกสารบัญชีอย่างเป็นระบบ ช่วยให้ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายและรายงานการเงินที่ครบถ้วนและทันสมัย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างมั่นใจ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

11 Sep 2024

จักรพงษ์

16 min

ขายอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง

ใครที่กำลังจะขายที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ต้องสงสัยแน่ๆ ว่าเราต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรที่เกี่ยวข้องในทางภาษีบ้าง เพื่อเตรียมตัวและเตรียมเงินก่อนตกลงทำสัญญาซื้อขายและวางแผนทางการเงิน เช่น เราจะให้ผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดค่าธรรมการโอน หรือภาษีอะไรบ้าง เป็นต้น วันนี้ผมจะพาทุกคนมารู้จักภาษีและวิธีคำนวณภาษีการขายอสังหาริมทรัพย์กันครับ ทำความรู้จักก่อนว่า อสังหาริมทรัพย์คืออะไร ? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 139 บัญญัติ กล่าวว่า อสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดินกับทรัพย์อันติดกับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพย์สินอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย”  จากความหมายข้างต้นสามารถสรุปให้ง่ายๆ ก็คือ อสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เช่น อาคาร บ้านเรือน สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงสิ่งอื่นใดที่อยู่ติดกับที่ดินซึ่งเคลื่อนที่ไม่ได้ นอกจากนี้ทรัพย์ตามธรรมชาติที่ประกอบเป็นอันเดียวกับดิน เช่น แม่น้ำ บึง แร่ กรวด ทราย ที่อยู่ในอาณาบริเวณที่ดินนั้นก็จัดว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย ในทางภาษี เราต้องทราบว่าได้อสังหาริมทรัพย์มาได้อย่างไร? กรมสรรพากร แบ่งการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ออกเป็น 2 กรณี คือ1. การได้รับอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งค้าหรือหากำไรเช่น เราซื้อที่ดินมาเพื่อเก็งกำไรและขาย หรือซื้อที่ดินเพื่อจัดสรร ปลูกสร้างอาคาร คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ อาคารโรงงานเพื่อจำหน่าย เป็นต้น2. การได้รับอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มุ่งค้าหรือหากำไร แบ่งออกเป็น2.1 อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาโดยทางมรดก หรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา(ได้มาฟรี มีคนยกให้)2.2 อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่มุ่งค้าหรือหากำไร เช่น ซื้อที่ดินมาเพื่อทำการเกษตรกรรม ซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างมาเพื่ออยู่อาศัย เป็นต้น ภาระภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง? ไม่ว่าผู้ขายอสังหาริมทรัพย์จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล จะมี 4 ภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อขาย ได้แก่  1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย(Withholding Tax :WHT)2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ(Specific Business Tax :SBT)3. อากรแสตมป์(Stamp Duty) 4. ค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ สำหรับฐานภาษีอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้คำนวณจะมี 2 ฐาน คือ ราคาซื้อขายจริง และราคาประเมินทุนทรัพย์จากกรมธนารักษ์ที่จะมีประเมินใหม่ทุกๆ 4 ปี สำหรับราคาประเมินที่ดินรอบปัจจุบันใช้สำหรับรอบบัญชีปี 2566 – 2569 (เริ่ม 1 มกราคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2569) เบื้องต้นสามารถตรวจสอบราคาประเมินด้วยตนเองได้ที่ 1. เว็บไซต์กรมธนารักษ์ . แอปพลิเคชันของกรมธนารักษ์  TRD Property Valuation3. Call Center กรมธนารักษ์ โทร 0-2270-0360-63 และ 0-2059-4999 PEAK ขอเล่า : การคำนวณภาษีเงินได้อสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมดา อย่างแรกเราต้องเข้าใจว่า “บุคคลธรรมดา” ในทางภาษีไม่ได้หมายถึงเพียงแค่บุคคลที่มีชีวิตจริง แต่รวมถึงบุคคลธรรมดา ผู้ถึงแก่ความตาย กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลด้วย  สำหรับหลักการคำนวณภาษีอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมดามีดังนี้ 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้า เพราะถือว่ามีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการคำนวณจะผันแปรไปตามวิธีการได้มาของอสังหาริมทรัพย์นั้นว่าได้รับมาจากมรดก/เสน่หา ได้มาเพื่อจะนำมาค้าหากำไรหรือได้มาเพื่อใช้ไม่ได้มุ่งค้าหากำไร ถ้าได้มาเพื่อค้าหากำไรจะไม่สามารถเลือกใช้สิทธิ์ “ภาษีสุดท้าย Final Tax” ได้ ทำให้เมื่อบุคคลต้องนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพยไปยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เคยถูกหักไว้ สามารถนำใช้เป็นเครดิตภาษีเพื่อลดยอดภาษีสิ้นปีที่ต้องชำระได้  2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องเสียในอัตรา 3.3% กรณีผู้ขายเป็นผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์ หรือบุคคลธรรมดาที่ขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี (นับวันชนวัน) นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังที่ขายเป็นเวลาน้อยกว่า 1 ปี (นับวันชนวัน) ถ้าเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะไม่ต้องเสียอากรแสตมป์อีก 3. อากรแสตมป์ ต้องเสียในอัตรา 0.5% กรณีผู้ขายมิได้มุ่งค้าหากำไร เช่น บุคคลธรรมดาที่ขายอสังหาริมทรัพย์เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังที่ขายเกินกว่า 1 ปี ถ้าเสียอากรแสตมป์แล้ว จะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก เมื่อโอนกรรมสิทธิ์และชำระค่าภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ครบถ้วนแล้ว จะได้รับใบสีฟ้า เรียกว่า “ใบเสร็จรับเงินในราชการกรมที่ดิน” จะแสดงรายละเอียดค่าภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นจะมีรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งใครที่เลือกนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปคำนวณภาษีสิ้นปีอีกครั้ง สามารถใช้ใบเสร็จดังกล่าวเป็นหลักฐานเพื่อใช้เครดิตภาษีได้ แต่คำแนะนำเบื้องต้น คือ ถ้าผู้ขายมีรายได้จากทางอื่นๆ ด้วย การนำรายได้จากการขายอสังริมทรัพย์มารวมด้วยมักจะทำให้ฐานภาษีสูงขึ้น และต้องจ่ายภาษีมากขึ้น จึงไม่ควรเลือกนำมารวมกับภาษีสิ้นปีครับ วิธีการความคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขั้นตอนที่ 1 คำนวณเงินได้สุทธิเฉลี่ยต่อปี ขั้นตอนที่ 2 นำเงินได้สุทธิมาคำนวณภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี ช่วงเงินได้สุทธิ อัตราภาษีเงินได้(ขั้นที่ 1) 1 – 300,000 บาท 5% (ขั้นที่ 2) 300,001 – 500,000 บาท 10%(ขั้นที่ 3) 500,001 – 750,000 บาท 15%(ขั้นที่ 4) 750,001 – 1,000,000 บาท 20% (ขั้นที่ 5) 1,000,001 – 2,000,000 บาท 25% (ขั้นที่ 6) 2,000,001 – 4,000,000 บาท 30% (ขั้นที่ 7) 4,000,001 บาท ขึ้นไป 40% ขั้นตอนที่ 3 คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา= ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี x จำนวนปีถือครอง ตัวอย่าง การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา นาย ก ได้รับที่ดินจากมรดก เมื่อ พ.ศ.2562 และได้จดทะเบียนขายที่ดิน เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566 ถือครองมา 5 ปี (ปี2562-2566) ตกลงโอนในราคา 3,000,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเงิน 2,000,000 บาท ตัวอย่าง การขายอสังหาริมทรัพย์โดยการมุ่งการค้าหรือหากำไร นาย ข ซื้อที่ดินเพื่อค้าขาย เมื่อ พ.ศ.2562 และได้จดทะเบียนขายที่ดิน เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566 ถือครองมา 5 ปี (ปี2562-2566) ตกลงโอนในราคา 3,000,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเงิน 2,000,000 บาท การคำนวณภาษีเงินได้ภาษีอสังหาริมทรัพย์ของนิติบุคคล สำหรับหลักการคำนวณภาษีอสังหาริมทรัพย์ของนิติบุคคลมีดังนี้ 1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้องเสียในอัตรา 1%  เพราะถือว่ามีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้นิติบุคคลต้องนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพยไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี ภ.ง.ด.50 อีกครั้ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เคยถูกหักไว้ สามารถนำใช้เป็นเครดิตภาษีเพื่อลดยอดภาษีสิ้นปีที่ต้องชำระได้  2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องเสียในอัตรา 3.3% กรณีผู้ขายเป็นผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์ หรือเข้าเงื่อนไขมุ่งค้าหากำไร ซึ่งปกตินิติบุคคลจะเข้าเงื่อนไขมุ่งค้าหากำไร เพราะกรมสรรพากรกำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่นิติบุคคลมีไว้ในการประกอบกิจการต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ทั้งนี้ถ้าเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะไม่ต้องเสียอากรแสตมป์อีก 3. อากรแสตมป์ ต้องเสียในอัตรา 0.5% ซึ่งในทางปฏิบัติค่อนข้างยากที่นิติบุคคลจะเข้ากรณีที่ต้องเสียอากรแสตมป์ เพราะปกติจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมาก่อนอย่างที่อธิบายข้างต้น ทั้งนี้ถ้าเสียอากรแสตมป์แล้ว จะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก ตัวอย่าง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ค จำกัด ซื้อที่ดินมาเมื่อปี พ.ศ. 2562 นำขายไป 3,000,000 บาท โดยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และนิติกรรมใน พ.ศ. 2567 และราคาประเมินที่ 2,000,000 บาท อย่างไรก็ตาม ใครที่กังวลว่าการคำนวณดูยาก ซับซ้อน สบายใจได้เลยครับ เพราะภาษีทั้งหมดข้างต้นเมื่อเรามีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน เจ้าหน้าที่กรมที่ดินจะเป็นคนคำนวณแทนเราเองครับ แต่ถ้าเราเข้าใจการคำนวณก็สามารถคำนวณตัวเลขเบื้องต้นเพื่อประมาณค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ข่าวดีคือไม่ว่าผู้ขายจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลก็สามารถใช้โปรแกรมคำนวณภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ของกรมที่ดิน เพียงแค่กรอกข้อมูลที่จำเป็น ระบบก็จะคำนวณตัวเลขทั้งหมดให้อัตโนมัติครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว หากคุณยังต้องการสอบถามเพิ่มเติม หรืออยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาในเรื่องภาษีอสังหาริมทรัพย์ ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

ธุรกิจ

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจ

อ่านบทความเพิ่มเติม

20 Nov 2024

จักรพงษ์

7 min

ธุรกิจควรมีเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน ถึงจะเรียกว่าปลอดภัย

เคยสงสัยกันไหมว่า ธุรกิจควรมีเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยกี่บาท จึงจะปลอดภัย? คำว่า ‘ปลอดภัย’ ในที่นี้ หมายถึง มีเงินเพียงต่อการซื้อของมาสต๊อกเพื่อขาย เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายดำเนินงาน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า รวมถึง เงินเดือนพนักงานที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน ถ้าเรามีเงินเยอะมากๆ เราจะไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องว่าธุรกิจจะขาดสภาพคล่องไหม จะมีเงินจ่ายเจ้าหนี้ไหม แต่ในความเป็นจริงธุรกิจส่วนใหญ่หาเงินมาหมุนในธุรกิจได้ยากและไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราควรรู้ว่าควรมีเงินหมุนเวียนอยู่ในธุรกิจขั้นต่ำกี่เดือนจึงจะปลอดภัย ธุรกิจควรถือเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน นักธุรกิจหลายๆคน เชื่อกันว่าธุรกิจควรมีเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือน การมีเงินสำรองอย่างน้อย 3-6 เดือนจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อได้ในกรณีที่มีปัญหาขาดรายได้ รายได้เข้ามาน้อยลงหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอื่น ๆ หลายคนอาจสงสัยต่อว่า ควรสำรองเงินไว้ 3 เดือน 4 เดือน 5 เดือน หรือ 6 เดือนกันแน่ ทำไมไม่บอกให้ชัดๆ ไปเลย นั่นก็เพราะแต่ละธุรกิจมีเป้าหมายและความเสี่ยงไม่เหมือนกัน เงินสดสำรองที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย การคำนวณเงินสดสำรองขั้นต่ำ ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่าธุรกิจควรมีเงินสดสำรองขั้นต่ำอย่างน้อย 3-6 เดือน แต่คำถามถัดไปคือ แล้วต้องคำนวณอย่างไร? คิดเป็นมูลค่าตัวเงินคือกี่บาท? มาหาคำตอบกันต่อได้เลย เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ขอกำหนดว่าธุรกิจที่จะนำมาเป็นตัวอย่างนี้มีความเสี่ยงต่ำจึงสำรองเงินขั้นต่ำที่ 3 เดือน หรือ 90 วันเท่านั้น วิธีคิดก็คือ ต้องหาว่าในแต่ละวันเรามีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยวันละกี่บาท โดยใช้สูตร (ค่าใช้จ่ายทั้งเดือน/30วัน)จากนั้น จากนั้นให้นำค่าใช้จ่ายต่อวันคูณด้วย 90 วัน (3เดือน) ก็จะได้จำนวนที่ควรสำรองขั้นต่ำ 3 เดือนทันที จำนวนที่ควรสำรอง 3 เดือน = (ค่าใช้จ่ายต่อเดือน) x 3 เดือ ตัวอย่างการคำนวณเงินสดสำรองขั้นต่ำ บริษัท A มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ 30,000 บาท ต้องการมีสำรองเงินสดอย่างน้อย 3 เดือน บริษัท A ควรมีเงินสดสำรองกี่บาท(1) เริ่มจากหาค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวัน ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวัน = 30,000 /30 วัน จะได้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันที่ 1,000 บาท (2) คำนวณเงินสดสำรอง 3 เดือน หรือ 90 วัน จำนวนที่ควรสำรอง 3 เดือน = 1,000 x 90 วัน                                      = 90,000 บาทดังนั้นจึงสรุปได้ว่าบริษัท A ควรมีเงินสดสำรองใน 3 เดือน 90,000 บาท ธุรกิจควรสำรองเงินขั้นต่ำอย่างน้อย 3-6 เดือน ซึ่งคำนวณง่ายๆ โดยนำค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่จ่ายต่อวันคูณด้วย 90 วัน (3 เดือน) ซึ่งถ้าใครอยากปลอดภัยมากกว่าก็เปลี่ยนจำนวนวันที่สำรองจาก 90 วัน ไปเป็น 180 วันหรือมากกว่านั้นก็ได้ อย่างไรก็ตามการสำรองเงินที่เหมาะสมควรพิจารณาตามลักษณะและความเสี่ยงของแต่ละธุรกิจและควรวางแผนการบริหารจัดการเงินทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมายของธุรกิจนั้นๆ ดังนั้นการมีเครื่องมือจัดการข้อมูลบัญชีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจรับรู้ค่าใช้จ่ายได้อย่างครบถ้วน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จะช่วยให้การจัดการบัญชีของคุณง่ายขึ้น ด้วยระบบบัญชีที่ครบครันและตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจ ตั้งแต่การบันทึกบัญชี การออกเอกสาร ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนการเติบโตและเพิ่มโอกาสสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

19 Nov 2024

PEAK Account

9 min

ขายออนไลน์แบบไหนต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง

การขายออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุคดิจิทัล ธุรกิจหลายประเภทสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่างไรก็ตามหากการดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับ “การตลาดแบบตรง” (Direct Marketing) กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ประกอบการบางรายต้องดำเนินการจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อป้องกันความเสียหายต่อผู้บริโภคและส่งเสริมความโปร่งใสในธุรกิจ การตลาดแบบตรงคืออะไร “ตลาดแบบตรง” หมายความว่า การทําตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูล เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละราย ตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้นที่มา: พูดง่ายๆก็คือ การเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์, อีเมล, ข้อความ SMS, หรือการโฆษณาทางสื่อออนไลน์ที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคตอบสนองทันที โดยไม่ผ่านหน้าร้านค้าหรือช่องทางตัวแทนจำหน่าย ขายออนไลน์แบบไหนต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง วิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนการตลาดแบบตรงกับ สคบ. ธุรกิจที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่ สคบ. กำหนดนั้น ต้องทำการยื่นคำขอจดทะเบียนการตลาดแบบตรง โดยมีข้อกำหนดดังนี้ อย่างไรก็ตาม บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จะทำการตลาดแบบตรง จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มิฉะนั้น จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ที่มา : ? ธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นการขึ้นทะเบียนการตลาดแบบตรง การจดทะเบียนการตลาดแบบตรงกับ สคบ. ไม่เพียงแต่เป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย แต่ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจในสายตาผู้บริโภคอีกด้วย  การขายออนไลน์ในรูปแบบการตลาดแบบตรงมีโอกาสสูงในการสร้างรายได้ แต่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงหากร้านค้าออนไลน์ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน การทำบัญชีที่ถูกต้องและเป็นระบบคือกุญแจสำคัญในการบริหารร้านค้าออนไลน์ การเลือกใช้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถจัดการบัญชีได้ง่ายดายเพียงแค่การเชื่อมต่อ API ให้บันทึกข้อมูลบัญชี สร้างเอกสารอัตโนมัติ ครบถ้วนทุกรายการขาย เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดขั้นตอนและลดต้นทุนในการทำงาน  เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่นและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

การใช้โปรแกรม

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน PEAK

อ่านบทความเพิ่มเติม

11 Dec 2024

PEAK Account

7 min

Update Function 11/12/2024

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ✨ 1. Developed the bank reconciliation function to enhance work efficiency and convenience. 1.1 Improved the display of information on the reconciliation page for better readability. 📢 For businesses using the bank reconciliation function, the system has been updated to enhance the display on the reconciliation page, allowing more information to be shown. The updates include: These improvements aim to boost efficiency and make data review more convenient and faster. 1.2 Ability to create new transactions directly from the reconciliation page. 📢 For businesses using the Premium, PRO Plus, and Trial packages, that perform bank reconciliation and need to make transactions, the system now offers additional options to create transactions directly from each deposit/payment entry. Users can click the options button (three dots) or right-click to perform actions immediately through the bank reconciliation page. The available options include: These features are designed to streamline document management and enhance efficiency in bank reconciliation processes. ✨ 2. Added the PEAK Payroll system to streamline payroll processing and reduce manual steps. 2.1 Add new employees directly on the payroll processing page. 📢 The system now includes an “Add New Employee” button on the payroll processing page. Users can conveniently add new employee information directly from the payroll page, streamlining the workflow and improving efficiency. 2.2 Adjust accumulated income calculations to be based on a cash basis. 📢 The system now adjusts the calculation of accumulated income displayed on payroll slips. It will calculate based only on payroll payment documents with a “Paid” status. Additionally, a notification has been added to the payroll payment page to inform users about the new calculation criteria. This enhancement ensures that the information is accurate and aligns more closely with the cash-based principle. Example of a Notification Regarding Cumulative Income Calculation. 2.3 Add the option “Income Type 40(2)” on the additional income adjustment page and display it in Form 50 Bis on the payroll summary page. 📢 The system now includes an option for income type 40(2) on the Additional Income page. Users can edit each additional income item by specifying whether it falls under income type 40(1) or 40(2). When generating the year-end payroll summary, the system will automatically pull the data and display income type 40(2) items on the Withholding Tax Certificate (Form 50 Bis) page. This enhancement ensures greater accuracy in managing tax data. Example of Form 50 Bis with income type 40(2). 2.4 Support displaying “Income Type 40(2)” in the tax submission file. (PND.1 Text File) 📢 The system now updates the tax filing Text File for P.N.D. 1 to support income type 40(2) in addition to 40(1). This improvement enables users to file taxes more conveniently and accurately by including both income types in the submission. Example of a Text File with income type 40(2). ✨ 3. Developed the functionality to apply deposit receipts/payments for settling more than one document. 📢 For businesses using deposit receipts/payments, the system now supports applying these documents to offset payment/receipt transactions. Users can choose to apply deposit receipts/payments in two ways: When selecting deposit receipts/payments for offsetting, users can modify the amount and related tax values. On the deposit details page, the system will display the number of deposit documents applied for offsetting, the applied amounts, and the remaining deposit balance for future use. For example, if a deposit receipt is issued and the customer makes partial payments in multiple installments, the system will accurately track these payments.This feature enhances convenience and flexibility in managing deposit receipts and offsetting payments, ensuring efficient financial operations. Example of Deposit Information Display on the Document Page. ✨ 4. Improved the Product/Service Import functionality to simplify data management. 4.1 Add the option “Update Existing Products” to modify current data. 📢 For businesses that need to modify product/service information already in the system, you can now import the “Edit Existing Products” file. This feature allows users to update product/service information efficiently, and the system will automatically update the records. The imported file consists of 3 Sheets: For the products/services you modify, the Product ID must match an existing ID in the system. If a product/service ID does not exist in the system, the file import will fail. This ensures accurate and seamless product/service data management, helping reduce errors and maintain operational efficiency. Example of the “Edit Existing Products” Import File. 4.2 Add new columns in the product/service import file to align with system data requirements. 📢 The system now clarifies the descriptions and required information for importing files, ensuring better accuracy and transparency. Additionally, the product/service import file now includes an SKU column for integration with popular platforms like Shopee, Lazada, and TikTok Shop. If you input an SKU from these platforms—even if it hasn’t yet been configured—the system will automatically activate the SKU upon import. To ensure smooth and efficient data management, the system limits imports to 1,000 items per batch. This helps prevent errors and ensures reliable handling of large datasets. ✨ 5. Improved the Contact Import functionality to make data management more convenient. 5.1 Add the option “Update Existing Contacts” to modify current data. 📢 For businesses that need to modify contact information already in the system, you can now use the “Edit Existing Contacts” import file. This allows users to efficiently update contact details, and the system will automatically refresh the contact information. The imported file is divided into 3 sheets: Contact ID: Must match an existing ID in the system for updates to work correctly. If the contact ID does not exist, the system will reject the file import. By requiring matching IDs, this ensures accurate and seamless management of contact information while minimizing errors. Example of the “Edit Existing Contacts” Import File. 5.2 Add new columns in the contact import file to align with system data requirements. 📢 The system now clarifies descriptions and specifies the required information for importing files to ensure better accuracy. Additionally, the import file for contacts now includes new columns for Contact […]

11 Dec 2024

PEAK Account

14 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 11/12/2024

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ✨ 1. พัฒนาฟังก์ชันการกระทบยอดธนาคาร เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงาน 1.1 ปรับการแสดงข้อมูลที่หน้ากระทบยอดให้อ่านง่ายมากขึ้น 📢สำหรับกิจการที่ใช้ฟังก์ชันกระทบยอดธนาคาร ระบบมีการปรับปรุงการแสดงข้อมูลหน้ากระทบยอดใหม่ให้แสดงข้อมูลได้มากขึ้น โดยระบบมีการปรับการแสดงข้อมูล ดังนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและช่วยให้การตรวจสอบข้อมูลสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น 1.2 สร้างรายการใหม่ได้จากหน้ากระทบยอดธนาคาร 📢สำหรับกิจการแพ็กเกจ Premium, PRO Plus และ Trial ที่กระทบยอดธนาคารและต้องการทำรายการต่างๆ ระบบเพิ่มตัวเลือกการสร้างรายการในแต่ละรายการเงินเข้า-เงินออก กดปุ่มตัวเลือก (จุด 3 จุด) หรือคลิกเมาส์ขวาเพื่อทำรายการได้ทันทีผ่านหน้ากระทบยอดธนาคาร โดยมีรายการที่สามารถทำได้ ดังนี้ เพื่อช่วยลดขั้นตอนในการจัดการเอกสารและเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการกระทบยอดธนาคาร ✨ 2. เพิ่มฟังก์ชันระบบเงินเดือน PEAK Payroll ช่วยลดขั้นตอนในการทำข้อมูลเงินเดือน 2.1 เพิ่มปุ่ม “พนักงานใหม่” ได้ที่หน้าทำจ่ายเงินเดือน 📢ระบบเพิ่มปุ่ม “เพิ่มพนักงานใหม่” หน้าการทำจ่ายเงินเดือน ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มข้อมูลพนักงานใหม่ได้ทันทีจากหน้าทำจ่ายเงินเดือน ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน 2.2 ปรับการคำนวณเงินได้สะสมในสลิปเงินเดือนให้อิงตามเกณฑ์เงินสด 📢ระบบปรับการคำนวณเงินได้สะสมที่แสดงในสลิปเงินเดือน โดยจะคำนวณจากเอกสารทำจ่ายเงินเดือนที่มีสถานะ “ชำระเงิน” แล้วเท่านั้น โดยที่หน้าทำจ่ายเงินเดือนระบบจะเพิ่มข้อความแจ้งเตือนเกี่ยวกับการคำนวณเงินได้สะสมตามหลักเกณฑ์ใหม่ เพื่อช่วยให้ข้อมูลมีความถูกต้องและสอดคล้องกับเกณฑ์เงินสดมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างข้อความแจ้งเตือนเกี่ยวกับการคำนวณเงินได้สะสม 2.3 เพิ่มตัวเลือก “ประเภทเงินได้ 40(2)” หน้าการแก้ไขเงินเพิ่มและแสดงประเภทเงินได้ 40(2) ในเอกสารใบ 50 ทวิหน้าสรุปจ่ายเงินเดือน 📢ระบบเพิ่มตัวเลือกประเภทเงินได้ 40(2) ที่หน้าเงินเพิ่ม ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขได้ที่เงินเพิ่มในแต่ละรายการ โดยระบุว่าเงินเพิ่มนั้นต้องการเป็นเงินได้ประเภท 40(1) หรือ 40(2) เมื่อทำสรุปจ่ายเงินเดือนสิ้นปี ระบบจะดึงข้อมูลและแสดงรายการประเภทเงินได้ 40(2) ที่หน้าหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ให้อัตโนมัติ ช่วยให้การจัดการข้อมูลภาษีมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างใบ 50 ทวิ กรณีมีประเภทเงินได้ 40(2) 2.4 เพิ่มการรองรับการแสดงประเภทเงินได้ 40(2) ในไฟล์ยื่นภาษี ภ.ง.ด.1 (Text File) 📢ระบบปรับให้ Text File ยื่นภาษีของ ภ.ง.ด.1 รองรับการแสดงยอดเงินได้จากประเภท 40(2) เพิ่มเติมจาก 40(1) ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถยื่นภาษีได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ตัวอย่าง Text File ที่มีประเภทเงินได้ 40(2) ✨ 3. พัฒนาฟังก์ชันการนำใบรับเงินมัดจำ/ใบจ่ายเงินมัดจำไปตัดรับ/จ่ายชำระหน้าเอกสารได้มากกว่า 1 เอกสาร 📢สำหรับกิจการที่ใช้ใบรับมัดจำ/ใบจ่ายมัดจำ ระบบเพิ่มฟังก์ชันการนำใบรับมัดจำ/ใบจ่ายมัดจำไปตัดรับ/จ่ายชำระเอกสาร โดยการเลือกนำใบรับมัดจำ/ใบจ่ายมัดจำไปตัดรับ/จ่ายชำระ สามารถทำได้ 2 แบบ ในการเลือกเอกสารใบรับมัดจำ/ใบจ่ายมัดจำมาตัดรับ/จ่ายชำระ ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขยอดเงิน รวมถึงมูลค่าภาษีที่เกี่ยวข้องได้ โดยที่หน้าข้อมูลใบมัดจำ ระบบจะแสดงจำนวนเอกสารใบมัดจำที่นำมาตัดชำระเงิน พร้อมทั้งแสดงข้อมูลการนำใบมัดจำไปรับ/จ่ายชำระ ครั้งละกี่บาท และแสดงยอดมูลค่าคงเหลือของเงินมัดจำค้างตัด เช่น กรณีออกใบรับเงินมัด 1 ฉบับ และลูกค้าได้มีการแบ่งจ่ายชำระเงินมัดจำหลายๆงวด เป็นต้น ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการใบมัดจำและการตัดชำระได้สะดวกและยืดหยุ่นมากขึ้น  ตัวอย่างการแสดงข้อมูลเงินมัดจำหน้าเอกสาร ✨ 4. เพิ่มฟังก์ชันการนำเข้าสินค้า/บริการ (Import Product/Service) 4.1 เพิ่มตัวเลือก “แก้ไขสินค้าเดิม” สำหรับอัปเดตข้อมูลที่มีอยู่ 📢สำหรับกิจการที่ต้องการแก้ไขข้อมูลสินค้า/บริการที่มีอยู่ในระบบ สามารถนำเข้าไฟล์ “แก้ไขสินค้าเดิม” โดยผู้ใช้งานสามารถแก้ไขหรืออัปเดตข้อมูลสินค้า/บริการได้จากไฟล์ “แก้ไขสินค้าเดิม” และนำเข้าไฟล์ ระบบจะอัปเดตข้อมูลสินค้าให้อัตโนมัติ ซึ่งในไฟล์นำเข้าจะแบ่งออกเป็น 3 Sheet ดังนี้ โดยข้อมูลสินค้า/บริการที่แก้ไขนั้น รหัสสินค้าจะต้องเป็นรหัสที่มีอยู่ในระบบเท่านั้น หากไม่มีข้อมูลดังกล่าว จะไม่สามารถนำเข้าไฟล์ได้ ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดและเพิ่มความมั่นใจในการจัดการข้อมูลสินค้าเดิมได้อย่างราบรื่นและแม่นยำ ตัวอย่างไฟล์การแก้ไขสินค้าเดิม 4.2 เพิ่มคอลัมน์ในไฟล์นำเข้าสินค้า/บริการ เพื่อให้ครอบคลุมข้อมูลในระบบ 📢ระบบปรับคำอธิบายและระบุข้อมูลที่จำเป็นในการนำเข้าไฟล์ให้มีความชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ในไฟล์นำเข้าสินค้า/บริการ ระบบได้มีการเพิ่มคอลัมน์หมายเลข SKU จากแพลตฟอร์ม Shopee, Lazada, และ TikTok Shop หากมีการใส่ข้อมูล SKU เข้าไปแม้ว่ายังไม่ได้ตั้งค่าเปิดใช้งาน เมื่อนำเข้าระบบ ระบบจะเปิดการใช้งาน SKU ให้อัตโนมัติ โดยในการนำเข้าสินค้า/บริการ ระบบจำกัดรายการนำเข้า 1,000 รายการต่อครั้ง เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดและรองรับการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่  ✨ 5. เพิ่มฟังก์ชันการนำเข้าผู้ติดต่อไฟล์ (Import Contact) 5.1 เพิ่มตัวเลือก “แก้ไขผู้ติดต่อเดิม” สำหรับอัปเดตข้อมูลที่มีอยู่ 📢สำหรับกิจการที่ต้องการแก้ไขข้อมูลผู้ติดต่อที่มีอยู่ในระบบ สามารถนำเข้าไฟล์ “แก้ไขผู้ติดต่อเดิม” โดยผู้ใช้งานสามารถแก้ไขหรืออัปเดตข้อมูลผู้ติดต่อได้จากไฟล์ “แก้ไขผู้ติดต่อเดิม” และนำเข้าไฟล์ ระบบจะอัปเดตข้อมูลผู้ติดต่อให้อัตโนมัติ ซึ่งในไฟล์นำเข้าจะแบ่งออกเป็น 3 Sheet ดังนี้ โดยข้อมูลผู้ติดต่อที่แก้ไขนั้น รหัสผู้ติดต่อจะต้องเป็นรหัสที่มีอยู่ในระบบเท่านั้น หากไม่มีข้อมูลดังกล่าว จะไม่สามารถนำเข้าไฟล์ได้ ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดและเพิ่มความมั่นใจในการจัดการข้อมูลผู้ติดต่อเดิมได้อย่างราบรื่นและแม่นยำ ตัวอย่างไฟล์การแก้ไขผู้ติดต่อเดิม 5.2 เพิ่มคอลัมน์ในไฟล์นำเข้าผู้ติดต่อ เพื่อให้ครอบคลุมข้อมูลในระบบ 📢ระบบปรับคำอธิบายและระบุข้อมูลที่จำเป็นในการนำเข้าไฟล์ให้มีความชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ในไฟล์นำเข้าผู้ติดต่อ ระบบได้มีการเพิ่มคอลัมน์ให้ระบุประเภทผู้ติดต่อ, สัญชาติ, ข้อมูลที่อยู่จัดส่งเอกสาร, ครบกำหนดชำระ, บุคคลที่ติดต่อได้หลายคน และเพิ่มกลุ่มผู้ติดต่อได้ หากนำเข้าผู้ติดต่อเกิดข้อผิดพลาด กรณีรายชื่อซ้ำ ระบบจะทำการแจ้งเตือนให้ทันที ในการนำเข้าผู้ติดต่อ ระบบจำกัดรายการนำเข้า 1,000 รายการต่อครั้ง ช่วยลดข้อจำกัดและเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ✨ 6. เพิ่มความยืดหยุ่นในการตั้งราคาโดยกำหนดราคาสินค้า/บริการได้สูงสุด 10 ราคา 📢สำหรับธุรกิจ E-commerce ที่ต้องการจัดการราคาซื้อ-ขายหลายรายการ ระบบเพิ่มการรองรับระบุราคาซื้อ-ขายได้มากขึ้นในหน้าแต่ละสินค้า/บริการ โดยรองรับการเพิ่มรายการได้สูงสุด 10 ราคา ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานในการจัดราคาและทำงานได้สะดวกมากขึ้น ✨ 7. รองรับการชำระเงินผ่าน xplORe Wallet เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับชำระเงิน 📢 สำหรับทุกกิจการ ระบบเพิ่มการรองรับช่องทางการเงิน xplORe Wallet เพื่อรองรับช่องทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น ขอขอบคุณข้อเสนอแนะ จากคุณPrapatsara, บริษัท คงคาแมนูแฟคเจอร์เรอร์ จำกัด

อ่านบทความเพิ่มเติม

ข่าวสาร

อัปเดตข่าวประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่น และเรื่องต่างๆ ที่น่าสนใจ

อ่านบทความเพิ่มเติม

30 Apr 2024

PEAK Account

14 min

ระเบียบการแข่งขัน PEAK Digital Accounting Championship 2024

ไฟล์ระเบียบการแข่งขัน หมายเหตุ: กำหนดการมีการเปลี่ยนแปลง ปิดรับสมัครในวันที่ 7 มิ.ย. 2567 เวลา 23.59 น. และประกาศผลรอบคัดเลือก 12 มิ.ย. 2567 เวลา 17.00 น. โครงการค้นหา “สุดยอดว่าที่นักบัญชี” แห่งยุคดิจิทัล ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น.ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสร้างเวทีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาได้แสดงความสามารถและทดสอบความรู้การใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์1.2 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ด้านการบัญชี1.3 ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีมและเสริมสร้างความสามัคคีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา1.4 มอบโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนจากสถาบันอื่น 2. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน 2.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับปริญญาตรี โดยต้องมีสถานภาพเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ณ วันสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน2.2 สมาชิกทีมละ 2 คน อายุไม่เกิน 25 ปี และศึกษาอยู่สถาบันเดียวกัน2.3 แต่ละสถาบันสามารถมีอาจารย์ประจำภาควิชาได้ไม่เกิน 2 ท่าน 3. ขอบเขตเนื้อหาการแข่งขัน 3.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบัญชีและภาษี3.2 การใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์3.3 การวิเคราะห์และประยุกต์การใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ตามประเภทของธุรกิจ 4. การรับสมัคร 4.1 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน 2567 4.2 ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ bit.ly/peak-dac-2024 เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับอีเมล์ยืนยันจากระบบ โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเริ่มส่งผลงานได้หลังจากได้รับอีเมลยืนยันการสมัครเท่านั้น 4.3 ปิดรับสมัครการแข่งขันและส่งผลงานวันศุกร์ ที่ 7 มิถุนายน 2567 ภายในเวลา 23.59 น.4.4 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำส่งผลงานรอบคัดเลือกโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 4.4.1 ทำวิดีโอบน TikTok เพื่อแนะนำ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์สำหรับ SMEs ไทย ภายใต้หัวข้อ “PEAK, Friend of Business”4.4.2 ความยาวไม่เกิน 2 นาที4.4.3 รูปแบบวิดีโอเป็นแนวตั้ง (9:16)4.4.4  อัปโหลดบนแอปพลิเคชัน TikTok พร้อมเปิดสาธารณะ4.4.5  Mention @peakaccount และติดแฮชแท็ก จำนวน 3 แฮชแท็ก ดังต่อไปนี้   #PEAKDAC2024 #PEAK #โปรแกรมบัญชีออนไลน์4.4.6 หลังจากวิดีโอถูกเผยแพร่บน TikTok ผู้สมัครต้องคัดลอกลิงก์ของวิดีโอ เพื่อนำ ไปกรอกในฟอร์มตามลิงก์ข้อ 4.24.4.7 แต่ละทีมสามารถส่งผลงานวิดีโอได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น หากมีการส่งผลงานมากกว่า 1 ครั้ง ทางคณะกรรมการจะพิจารณาจากการส่งผลงานครั้งแรกเท่านั้น 4.5  คณะกรรมการจะประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 24 ทีม เพื่อแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ผ่านทางอีเมลผู้เข้าแข่งขัน และเฟสบุ๊คแฟนเพจ PEAK – โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAKaccount.com วันพุธ ที่ 12 มิถุนายน 2567 หมายเหตุ : หากทีมใดไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้น คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด 5. วัน เวลา และสถานที่จัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ทีมที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 24 ทีม ต้องเข้าร่วมแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันศุกร์ ที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมายเหตุ : ไม่มีบริการที่จอดรถ ผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ติดตามสามารถจอดพาหนะได้บริเวณใกล้เคียง ได้แก่ อาคารจามจุรี 9 หรือศูนย์การค้าเเอมพาร์ค หรือศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ โดยอัตราค่าบริการที่จอดรถเป็นไปตามระเบียบของผู้ให้บริการ 6. กำหนดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 08.30 – 09.00 น. พิธีเปิดการแข่งขัน09.00 – 10.00 น. กิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน10.00 – 10.30 น. เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าแข่งขัน10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 15 นาที10.45 – 11.45 น. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่ 1 (ข้อสอบปรนัย)11.45 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน13.00 – 14.30 น. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่ 2-3 (ภาคปฎิบัติและวิเคราะห์)14.30 – 15.30 น. กิจกรรมให้ความรู้จากวิทยากรพิเศษ15.30 – 15.35 น. ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบเพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์15.35 – 16.30 น. การนำเสนอผลการวิเคราะห์16.30 – 17.00 น. ประกาศผลการแข่งขัน พิธีมอบรางวัล และกล่าวปิดงาน หมายเหตุ : ไม่มีบริการอาหารกลางวันให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ติดตาม ผู้เข้าสอบต้องนั่งประจำที่สอบ ก่อนเวลาสอบ อย่างน้อย 10 นาที 7. รูปแบบและเกณฑ์การพิจารณาในการตัดสินผลการแข่งขัน การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่รอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ โดยแต่ละรอบมีเกณฑ์และรายละเอียด ดังนี้ 7.1  รอบคัดเลือก คณะกรรมการตัดสินจะพิจารณาจากผลงานคลิปวิดีโอของผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด เพื่อคัดเลือกทีมผู้เข้ารอบแข่งขันชิงชนะเลิศ จำนวน 24 ทีม ได้แก่ โดยมีเกณฑ์การพิจารณารอบคัดเลือก ดังนี้ 7.2  รอบชิงชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศประกอบด้วยการสอบ 3 ส่วน ผลรวม 100 คะแนน โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 การตอบคำถามความรู้ด้านบัญชีและภาษี (30 คะแนน)เป็นการตอบคำถามรูปแบบปรนัยผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 30 ข้อ จำนวน 30 คะแนน โดยใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมงเนื้อหาประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี การบัญชี และ พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนที่ 2 การใช้งานโปรแกรม PEAK บันทึกบัญชี และวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี (50 คะแนน)เป็นการบันทึกบัญชีตามโจทย์ที่กำหนด พร้อมนำข้อมูลทางบัญชีมาวิเคราะห์และตอบคำถาม โดยใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาทีเนื้อหาประกอบด้วย การสมัครและสร้างกิจการ การบันทึกยอดยกมา การบันทึกรายการค้าระหว่างงวดบัญชี การเรียกดูรายงานเอกสาร และงบการเงิน ส่วนที่ 3 การนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี (20 คะแนน)เป็นการนำเสนอการวิเคราะห์ให้แก่คณะกรรมการ โดยนักเรียน นิสิต นักศึกษาต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำข้อสอบส่วนที่ 2 โดยใช้ระยะเวลาการนำเสนอ 3 นาที และถามตอบ 5 นาที รวมเป็น 8 นาที ต่อทีมเนื้อหาประกอบด้วย วิเคราะห์และเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจ ถามตอบจากคณะกรรมการ ทั้งนี้ทางคณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่มีคะแนนสูงสุด 6 อันดับแรกเท่านั้น (ระดับปวส. 3 ทีม และระดับปริญญาตรี 3 ทีม) เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์ในส่วนที่ 3 กับคณะกรรมการ เพื่อให้กรรมการได้ซักถามรายละเอียดเพิ่มเติม และตัดสินอันดับผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 ทั้งนี้ ผลการตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด 8. ข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 8.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องนำโน้ตบุ๊กมาจำนวน 1 เครื่อง ต่อ 1 ทีม โดยทางบริษัทจะจัดเตรียมปลั๊กชาร์จ ไฟสำหรับโน้ตบุ๊ก และ Wifi ให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน8.2 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องแต่งกายด้วยชุดนักเรียน นิสิต นักศึกษาของสถาบัน8.3 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนในทีมต้องรายงานตัวพร้อมกัน และแสดงบัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษาหรือบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ ภายในเวลาลงทะเบียน มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน8.4 ห้ามผู้เข้าแข่งขันนำเครื่องเขียน เครื่องมือสื่อสาร เครื่องคำนวณ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อื่น ๆ รวมถึงนาฬิกา Smart Watch เข้าแข่งขัน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะมีการจัดเตรียมเครื่องเขียน และกระดาษทดให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน8.5 ห้ามผู้เข้าแข่งขันยืมอุปกรณ์ใด ๆ จากผู้เข้าแข่งขันทีมอื่นขณะแข่งขัน8.6 ห้ามผู้เข้าแข่งขันกระทำการใด ๆ ที่ทุจริตหรือส่อเจตนาทุจริต8.7 ผู้เข้าแข่งขันที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก หรือผลการตรวจ ATK เป็นบวก จะไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ สามารถแข่งขันด้วยจำนวนสมาชิกที่เหลือได้ หมายเหตุ : หากฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้ คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด 9. รางวัลการแข่งขัน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 15,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 8,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล ระดับปริญญาตรี รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 15,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 8,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล สมาชิกของทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้ง 24 ทีม จะได้รับเกียรติบัตรโดย PEAK 10. ผู้รับผิดชอบโครงการ บริษัท พี ยู ยู เอ็น อินเทลลิเจนท์ จำกัด

7 Feb 2024

PEAK Account

2 min

BeNeat มอบสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ รับส่วนลดสูงสุด 7%

BeNeat แอปพลิเคชันเรียกคุณแม่บ้านมืออาชีพ สะดวก ใช้งานง่าย เลือกใช้บริการได้ตามความต้องการ บริการทำความสะอาดแบบรายชั่วโมง ให้บ้านน่าอยู่ขึ้นได้ในพริบตา คุณแม่บ้านบีนีทมืออาชีพไปพร้อมอุปกรณ์และน้ำยาทำความสะอาดแบบครบครัน พร้อมทั้งรับประกันความพึงพอใจ พิเศษ! ลูกค้า PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ รับส่วนลดสูงสุด 7% เมื่อจองบริการทำความสะอาดรายชั่วโมงแบบแพ็กเกจ 5 ครั้งขึ้นไป เพียงแจ้งโค้ดส่วนลดรับสิทธิ์ ผ่าน LINE @BeNeat เงื่อนไขในการรับสิทธิ์ – ระยะเวลาโปรโมชั่น วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2567 – จำกัดเพียง 200 แพ็กเกจเท่านั้น ตลอดรายการส่งเสริมการขาย หรือจนกว่าสิทธิ์จะหมด – สามารถจองบริการไว้ล่วงหน้าได้ ไม่มีวันหมดอายุ – รหัสส่วนลดสามารถใช้ได้ 1 ครั้ง/ รหัสผู้ใช้งาน – พื้นที่ให้บริการ : กรุงเทพ ปริมณฑล เชียงใหม่ และชลบุรี – สิทธิพิเศษนี้ไม่สามารถแลกเปลี่ยน/ทอนเป็นเงินสด หรือใช้ร่วมกับส่วนลดอื่นๆ ได้ – เงื่อนไขการให้บริการเพิ่มเติมเป็นไปตามนโยบายทางบริษัทฯ หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0-2113-1138, [email protected] หรือ LINE @BeNeat

อ่านบทความเพิ่มเติม